ผู้จัดการออนไลน์- ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ใต้ ระบุ ม.ค.-ธ.ค.50 เกิดเหตุรุนแรงใน 3 จว.ชายแดนใต้ 1,228 ครั้ง บาดเจ็บ 2,362 เสียชีวิต 628 ราย เฉลี่ย 1.7 ราย/วัน พื้นที่เกิดเหตุสูงสุด คือ จ.ยะลา
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) เผยแพร่รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค.2550 ซึ่งจัดทำโดยหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์กรภาคี โดยรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลของรัฐและสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ว่า ในปี 2550 มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด 1,228 ครั้ง เฉลี่ย 3.4 ครั้ง/วัน มีจำนวนผู้บาดเจ็บรวม 2,362 ราย หรือ 6.5 ราย/วัน มากกว่า 1 ใน 4 ของคนเหล่านี้เสียชีวิต (จำนวน 628 ราย)เฉลี่ย 1.7 ราย/วัน ในขณะที่อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 26.6
ส่วนพื้นที่ที่เกิดเหตุสูงสุด คือ อ.เมืองยะลา โดยเหตุการณ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) เกิดขึ้นบนถนน ในช่วง 07.00-09.00 น.และ 20.00-21.00 น.
นอกจากนี้ จากข้อมูลผู้บาดเจ็บ พบว่า 2 ใน 3 มีอายุ 15-44 ปี กว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ชาย อาชีพเกษตรกร ทหาร และกรรมกร ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57) นับถือศาสนาพุทธ ในขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) นับถือศาสนาอิสลาม เกือบครึ่งหนึ่งมีสาเหตุจากอาวุธปืน (ครึ่งหนึ่งเสียชีวิต) มากกว่า 1 ใน 3 มีสาเหตุจากวัตถุระเบิด (เสียชีวิตร้อยละ 7) และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุร้อยละ 18
ในส่วนของการรักษาพยาบาล มีผู้บาดเจ็บเข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 2,475 ครั้ง ส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลอื่น 589 ครั้ง ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 5,254 วัน เสียค่าใช้จ่ายโดยตรงทางการแพทย์กว่า 12.5 ล้านบาท
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) เผยแพร่รายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค.2550 ซึ่งจัดทำโดยหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และองค์กรภาคี โดยรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลของรัฐและสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่
รายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นภาพรวมสถานการณ์ว่า ในปี 2550 มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมด 1,228 ครั้ง เฉลี่ย 3.4 ครั้ง/วัน มีจำนวนผู้บาดเจ็บรวม 2,362 ราย หรือ 6.5 ราย/วัน มากกว่า 1 ใน 4 ของคนเหล่านี้เสียชีวิต (จำนวน 628 ราย)เฉลี่ย 1.7 ราย/วัน ในขณะที่อัตราป่วยตายเท่ากับร้อยละ 26.6
ส่วนพื้นที่ที่เกิดเหตุสูงสุด คือ อ.เมืองยะลา โดยเหตุการณ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60) เกิดขึ้นบนถนน ในช่วง 07.00-09.00 น.และ 20.00-21.00 น.
นอกจากนี้ จากข้อมูลผู้บาดเจ็บ พบว่า 2 ใน 3 มีอายุ 15-44 ปี กว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ชาย อาชีพเกษตรกร ทหาร และกรรมกร ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57) นับถือศาสนาพุทธ ในขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63) นับถือศาสนาอิสลาม เกือบครึ่งหนึ่งมีสาเหตุจากอาวุธปืน (ครึ่งหนึ่งเสียชีวิต) มากกว่า 1 ใน 3 มีสาเหตุจากวัตถุระเบิด (เสียชีวิตร้อยละ 7) และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุร้อยละ 18
ในส่วนของการรักษาพยาบาล มีผู้บาดเจ็บเข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 2,475 ครั้ง ส่งตัวไปรักษาในโรงพยาบาลอื่น 589 ครั้ง ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลรวม 5,254 วัน เสียค่าใช้จ่ายโดยตรงทางการแพทย์กว่า 12.5 ล้านบาท