ผู้จัดการออนไลน์ - กลุ่มปกป้องและทวงคืนที่ดินวะกัฟจากจะนะ พร้อมทั้งนักศึกษากว่า 300 คนบุกยื่นหนังสือที่สำนักจุฬาราชมนตรีเรียกร้องให้เปลี่ยนคำวินิจฉัยกรณีเรื่องที่ดินวะกัฟ ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย หลังยอมรับตรวจสอบพื้นที่ผิด
วันนี้ (18 ม.ค.) เวลา 09.00 น. กลุ่มปกป้องและทวงคืนที่ดินวะกัฟจากอ.จะนะ จ.สงขลาพร้อมทั้งนักศึกษากว่า 300 คนเข้ายื่นหนังสือที่สำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อขอให้เปลี่ยนคำวินิจฉัยกรณีเรื่องที่ดินวะกัฟภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งเคยมีคำวินิจฉัยออกมาว่า
“ทางคณะผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนแสดงว่าทางสาธารณะดังกล่าวได้มาโดยการวะกัฟของชาวมุสลิม” และ “กรณีของเส้นทางตามที่เรียกร้องจะแลกเปลี่ยนได้หรือไม่นั้นเห็นว่า หากการแลกเปลี่ยนไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชนที่ใช้สัญจรและทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นแก่ชุมชนที่ใช้สัญจร อีกทั้งยังเกิดประโยชน์แก่สาธารณะก็สามารถแลกเปลี่ยนได้เช่นเดียวกับกรณีการเปลี่ยนแปลงที่สาธารณประโยชน์หลายกรณีในยุคของท่านคอลีฟะฮอุมัร บิน คอตฎอบ”
ภายหลังจากการจัดเวทีสัมมนาเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ทางอิหม่ามการีม อับดุลเลาะห์ ผู้ช่วยจุฬาราชมนตรี ฝ่ายประสานองค์กรและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรีก็ได้มีการยอมรับต่อชาวบ้านว่าได้ลงไปดูพื้นที่จริง แต่เป็นพื้นที่บริเวณลานหอยเสียบ และหน่วยเฉพาะกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาตั้งค่ายเพื่อคุ้มครองการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ทั้งสอง ไม่ใช่พื้นที่ก่อสร้างโครงการแต่อย่างใด
โดยในขณะนี้ชาวบ้านได้เข้าไปในอาคารสำนักงานของจุฬาราชมนตรี โดยมีตัวแทนสำนักจุฬาราชมนตรีออกมาเจรจา แต่ยังไม่มีการตอบตกลงตามข้อเสนอของชาวบ้านแต่อย่างใด
วันนี้ (18 ม.ค.) เวลา 09.00 น. กลุ่มปกป้องและทวงคืนที่ดินวะกัฟจากอ.จะนะ จ.สงขลาพร้อมทั้งนักศึกษากว่า 300 คนเข้ายื่นหนังสือที่สำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อขอให้เปลี่ยนคำวินิจฉัยกรณีเรื่องที่ดินวะกัฟภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโครงการท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย ซึ่งเคยมีคำวินิจฉัยออกมาว่า
“ทางคณะผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนแสดงว่าทางสาธารณะดังกล่าวได้มาโดยการวะกัฟของชาวมุสลิม” และ “กรณีของเส้นทางตามที่เรียกร้องจะแลกเปลี่ยนได้หรือไม่นั้นเห็นว่า หากการแลกเปลี่ยนไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชนที่ใช้สัญจรและทำให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นแก่ชุมชนที่ใช้สัญจร อีกทั้งยังเกิดประโยชน์แก่สาธารณะก็สามารถแลกเปลี่ยนได้เช่นเดียวกับกรณีการเปลี่ยนแปลงที่สาธารณประโยชน์หลายกรณีในยุคของท่านคอลีฟะฮอุมัร บิน คอตฎอบ”
ภายหลังจากการจัดเวทีสัมมนาเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา ทางอิหม่ามการีม อับดุลเลาะห์ ผู้ช่วยจุฬาราชมนตรี ฝ่ายประสานองค์กรและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาราชมนตรีก็ได้มีการยอมรับต่อชาวบ้านว่าได้ลงไปดูพื้นที่จริง แต่เป็นพื้นที่บริเวณลานหอยเสียบ และหน่วยเฉพาะกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาตั้งค่ายเพื่อคุ้มครองการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ทั้งสอง ไม่ใช่พื้นที่ก่อสร้างโครงการแต่อย่างใด
โดยในขณะนี้ชาวบ้านได้เข้าไปในอาคารสำนักงานของจุฬาราชมนตรี โดยมีตัวแทนสำนักจุฬาราชมนตรีออกมาเจรจา แต่ยังไม่มีการตอบตกลงตามข้อเสนอของชาวบ้านแต่อย่างใด