“Neuroscience” คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทของมนุษย์ ทั้งเรื่องของการทำงานและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของ “Neuromarketing” หรือ “การตลาดประสาทวิทยา” ที่อาศัยเทคนิคของศาสตร์ Neuroscience มาเพื่อตอบทุกความเข้าใจของกลไกสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจของมนุษย์ ทำให้นักการตลาดเข้าใจได้ว่าการวางแผนตลาดแบบใดจะสามารถกระตุ้นความรู้สึกและได้ผลดีต่อลูกค้ากลุ่มใดนั่นเอง
Neuroscience มีหลายเทคนิคที่ถูกนำมาเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น “FACS” (Facial Action Coding System) ที่เข้าใจกลไกตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า, EEG (Electroencephalography) ที่ใช้การวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของสมองเพื่อเข้าใจได้ว่าบริเวณส่วนใดของสมองนั้นมีการทำงานอยู่, fMRI ที่ตรวจสอบการทำงานของสมองในระดับ X-Rays เพื่อหาคำตอบได้ว่าพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นจากส่วนใดในสมอง และ Eye Tracking ที่เข้าใจผ่านการจับสายตาว่ามีความสนใจอย่างไรต่อสิ่งเร้าอย่างไร เป็นต้น
การศึกษาของ Neuro Marketing แสดงให้เห็นแนวคิดการตลาดที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การที่ 95% ของลูกค้าจะใช้อารมณ์และความรู้สึกในการตัดสินใจซื้อสินค้าเป็นหลัก โดยมักใช้เวลาเพียง 0.05 วินาที ในการตัดสินภาพลักษณ์ของแบรนด์ และลูกค้ายังให้ความสนใจกับสิ่งรอบตัวโดยเฉลี่ยเพียง 8 วินาทีเท่านั้น เป็นต้น วันนี้เราจึงจะมาแนะนำ การสร้างคอนเทนต์ด้วยศาสตร์ Neuroscience หรือ “Neuro Content” เพื่อตอบสนองลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
คอนเทนต์ประเภทงานเขียน (Written Content) ‘งานเขียน’ สามารถจุดประกายจินตนาการให้กับผู้อ่านได้ เนื่องจากการอ่านงานเขียนนั้นทำให้สมองมีแนวโน้มที่จะคิดว่าตัวเองกําลังเผชิญกับสิ่งนั้นอยู่จริง ๆ เนื่องจากการทำงานของสมองทั้ง 2 กรณีนั้นเกิดขึ้นในตำแหน่งเดียวกัน
คอนเทนต์ประเภทรูปภาพ (Visual Content) ‘รูปภาพ’ ทำให้ผู้ชมเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อได้ในทันทีโดยไม่จำเป็นต้องจินตนาการตาม เพราะกลไกการทำงานของสมองกว่า 50% สามารถทำความเข้าใจรูปภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ โดยใช้เวลาประมวลผลเพียง 0.1 วินาทีเพื่อเข้าใจว่ารูปภาพที่เห็นนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร
คอนเทนต์ประเภท (Interactive Content) นั้นสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้ดี เช่น แบบสอบถาม วิดีโอ หรือกราฟิก เป็นต้น โดยจะไปกระตุ้นการทำงานของสมองในหลายส่วน ส่งผลให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมและเกิดความรู้สึกที่ดีกับสินค้าหรือบริการได้ง่าย
คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ (Video Content) ข้อดีของวิดีโอ คือ ความเข้าใจง่าย คอนเทนต์ประเภทวิดีโอนี้จึงเหมาะสำหรับเล่าเรื่องราวที่มีรายละเอียดมากเกินกว่าจะนำเสนอเพียงตัวอักษรหรือรูปภาพได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
อ้างอิง https://www.oknetworkshop.com/article/49/neuro-marketing-คืออะไร
** *คลิกLikeเพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"
รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
SMEs manager