สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยสถาบันวิทยาการนวัตกรรม หรือ NIA Academy จัดทำหลักสูตรส่งเสริมความสามารถทางนวัตกรรม กลุ่มผู้นำภาครัฐและเอกชน ปีที่ 2 โดยมุ่งเน้นให้นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบาย แก้ปัญหาสำคัญของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม โดยจัดขึ้นช่วงเดือนก.ค.- ก.ย. นี้
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า NIA เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม ภาครัฐ ภาคการผลิต และภาคสังคมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และสิ่งสำคัญของการสร้างระบบนวัตกรรมแห่งชาติ คือ การพัฒนาให้คนที่อยู่ในระบบนี้ มีศักยภาพพร้อมจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changmaker) ดังนั้น เราจึงพัฒนาหลักสูตร PPCIL สำหรับผู้นำในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือ ภาคการศึกษา ให้พร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรม
ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี จะต้อง 1.ชอบการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก มองภาวะการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องจำเป็น 2. มีองค์ความรู้รอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรม 3.มีความเป็น Networker สร้างเครือข่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี และ 4.เป็นผู้นำที่ดี
"นอกจากจะมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคนให้เป็นผู้นำแล้ว หลักสูตร PPCIL ยังมุ่งหวังให้นำไปสู่การร่วมพัฒนานโยบายเชิงนวัตกรรมที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผล ช่วยแก้ปัญหาสำคัญของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม พร้อมกับสร้างศักยภาพบุคลากร สร้างศักยภาพผู้นำภาครัฐและเอกชนให้มีแนวคิดที่เป็นนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และในหลักสูตรนี้ ได้มุ่งเน้นให้ผู้ร่วมเรียนรู้ในหลักสูตรมีส่วนร่วมทดลองออกแบบโครงการนำร่องและต้นแบบ นำไปสู่การสร้างนโยบายที่ช่วยยกระดับสังคม และสร้างความยั่งยืนได้ในที่สุด"
สำหรับการอบรมในครั้งนี้ มีผู้นำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วม73 คน ส่วนวิทยากรที่มาให้ความรู้ในครั้งนี้ มีถึง 40 คน ซึ่งมาจากทุกภาคส่วน เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนการเมือง ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และยังได้เกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา คุณปริญญ์ พานิชภักดิ์ ที่ประธานคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รศ.ดร.ปิติ แสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถา ในการเปิดอบรมในครั้งนี้ ว่า การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรม หรือ Chagemarker เกิดขึ้นกับประเทศไทยเมื่อหลายปี ก่อนหน้านี้ โดยในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านทรงทำทิ้งเอาไว้ให้ผ่านโครงการทรงงานต่างๆ และหลักปรัญชามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ New normal ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงทำให้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2539 ตอนวิกฤต ต้มยำกุ้ง ส่วนการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง Changemarker ทำได้ 3 อย่าง คือ ปรับตัวเองเพื่ออยู่รอด ปรับให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลง คือ ยอมแพ้ และปรับตัวแบบที่สาม คือ ปรับเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเราจะปรับตัวอย่างไร ก็ต้องดูด้วยว่าช่วงนั้น กระแสเป็นอย่างไร ปรับตัวและคล้อยไปตามสถานการณ์ในช่วงนั้นด้วย
** * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า"SMEsผู้จัดการ"รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!!* * *
SMEs manager