มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและ บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) สอดรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 รับมอบ “Hapybot” หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์เดินเร็ว เทียบเท่ามนุษย์โดยไม่ต้องมีคนควบคุม
ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มียุทธศาสตร์สาคัญหลายประการที่จะช่วยขับเคลื่อนและร่วมพัฒนาประเทศ พร้อมที่จะนา องค์ความรู้ต่าง ๆ ช่วยเหลือสนับสนุนเมื่อเกิดปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือ Covid-19 รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในการต่อยอดผลงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อ ช่วยบรรเทาปัญหา ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์มีงานล้นมือ ต้องปฏิบัติหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง เทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์มีส่วนช่วยบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมาก จึงถูกนามาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อ ทางานร่วมกับมนุษย์ เพื่อช่วยลดการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ สามารถใช้ในการติดตามคนไข้บนหอผู้ป่วย ใช้ในการดูแลและ การพยาบาล ใช้ขนส่งอาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเวชภัณฑ์ยา สิ่งเหล่านี้ คือ เหตุผลความความสาคัญและความ จาเป็นเร่งด่วนของการที่ต้องนาหุ่นยนต์เข้ามาช่วยงานมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยแบ่งเบาภารกิจของบุคลากร
ทั้งนี้ความสำคัญของเทคโนโลยีการใช้หุ่นยนต์ทางการแพทย์และนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสนับสนุนการใช้ Robot ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในการจัดงาน พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ประธานคณะกรรมการวิชาการและเทคนิคเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดต่อเขื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ กลลดาเรืองไกร ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และ นานพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) โดยได้มีการรับมอบหุ่นยนต์ Hapybot หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัจฉริยะผู้ช่วยแพทย์ จำนวน 3 ตัว เพื่อนำไปใช้งานจริงในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยามหิดล 3 แห่ง ได้แก่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการพัฒนาหุ่นยนต์หลายตัว โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการ ทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพสูง แต่เนื่องจาก มหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลในสังกัดหลายแห่ง การได้รับการสนับสนุนจาก ภาคเอกชน จึงถือเป็นความร่วมมือช่วยเหลือการปฏิบัติงานของทีมบุคลากรทางการแพทย์อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาพยาบาลและสร้างความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ต่อไป
นอกจากนี้หุ่นยนต์ผู้ช่วยแพทย์ดังกล่าวมีคุณสมบัติและความสามารถทั้งหมด 20 ข้อ ดังนี้
1.สามารถขนส่ง นำทางและสื่อสาร เคลื่อนที่อัจฉริยะด้วยตัวเอง สำหรับขนส่ง ยา วัคซีนและเวชภัณฑ์การแพทย์ รวมถึงสิ่งของอื่นๆ
2.มีช่องเก็บแบบเปิด ปิด และล็อคด้วยไฟฟ้า จุ 17 ลิตร รองรับน้ำหนักบรรทุกได้ 10-15 กิโลกรัม
3.ช่องเก็บสามารถใส่ประเภทน้ำได้เป็นช่องหล่อชิ้นเดียว ไม่มีรอยต่อ น้ำไม่รั่วไปยังระบบหุ่นยนต์
4.มีหน้าจอสำหรับพยาบาลเพื่อสื่อสารกับผู้ป่วย สามารถพูดคุย สนทนาแบบเห็นหน้าได้
5.สั่งการผ่านหน้าจอสัมผัสบนตัวหุ่นยนต์และ Computer web base ,Tablet และ Mobile Application หรือ Qr Code ได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบ Network ของโรงพยาบาล
6.จัดส่งยาไปยังที่หมายได้หลายที่ขึ้นอยู่กับคำสั่งการใช้งาน
7.ความเร็ว 2.5 ถึง 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อัตโนมัติ
8.มีระบบตรวจการยกเคลื่อนย้าย แจ้งเป็นเสียงเมื่อมีการกระทำกับตัวหุ่นยนต์ เช่น ยก โยก คว่ำหุ่นยนต์
9.สร้างแผนการเดินทางได้อัตโนมัติ สามารถกำหนดพื้นที่ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเดินได้ ใช้ระบบ AI เข้ามาช่วย ตัดสินใจเส้นทางเมื่อมีอุปสรรค เปลี่ยนเส้นทางอัตโนมัติ
10.ทำงานได้ต่อเนื่องโดยไม่ชาร์จ 210 นาที หรือ 3 ชั่วโมง 30 นาที และกลับแท่นชาร์จอัตโนมัติเมื่อทำงานเสร็จ
11.มีพอร์ตชาร์จไฟฉุกเฉินเมื่อหุ่นยนต์เกิดปัญหาหรือพลังงานหมดกลางทาง
12.มีวิธีปลดล็อคช่องเก็บของฉุกเฉิน
13.มีระบบล็อคการเปิดเครื่องด้วยกุญแจ
14.สามารถตั้งความดังของเสียงและจำแนกความดังของเสียงเวลากลางวันและกลางคืนได้
15.สามารถเชื่อมต่อกับลิฟท์ได้และรองรับร่องพื้นต่อเนื่องของลิฟท์กับพื้นชั้น 1 นิ้วและพื้นต่างระดับ 1.5 เซนติเมตร
16.รองรับการขึ้นลงทางลาดเอียง 5 องศา มีล้อช่วยเบรกและทรงตัว
17.สามารถเชื่อมต่อเพื่อสั่งการกับประตูอัตโนมัติได้
18.มีอุปกรณ์เสริม เพื่อเปิดประตูบานสวิงในกรณีประตูไม่เป็นประตูอัตโนมัติและสั่งการจากหุ่นยนต์ได้
19.มีระบบ Access Control สามารถตั้งรหัสผ่าน ขาสั่งการเพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตได้และขารับป้องกันการสูญหายของยา
20.การตรวจสอบและออกรายงาน สามารถรายงานวันที่ เวลาที่ส่ง/รับยา จุดเริ่มต้น/ปลายทาง ระยะทาง ระยะเวลา รวมทั้งผู้ส่ง รับ ของได้ เป็นต้น
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุดและร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *