หากใครที่เคยไปวัดเพื่อไหว้พระทำบุญ และเคยร่วมพิธสงฆ์แล้ว ก็คงจะมีโอกาสได้เห็น “ตาลปัตร” หนึ่งในเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่มีลักษณะเหมือนพัดขนาดใหญ่ ปักลายแตกต่างกันออกไปตามวาระต่างๆ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตาลปัตรที่มีลวดลายและลักษณะที่แตกต่างกันนั้น มีชื่อเรียกและการใช้ที่แตกต่างกันตามวาระ อีกทั้งมูลค่าก็ยังมีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท
นางรุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล เจ้าของกิจการ “ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์” หนึ่งร้านขายสังฆภัณฑ์ “ย่านเสาชิงช้า” แหล่งขายเครื่องสังฆภัณฑ์ขึ้นชื่อใจกลางกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายเรื่องตาลปัตรว่า “ตาลปัตร” เป็นหนึ่งในแปดเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาติ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว ธมกรก (ที่กรองน้ำ) หากใครที่มีโอกาสทำบุญก็คงจะได้เห็นตาลปัตรกันบ่อยๆ ในพิธีสงฆ์วาระต่างๆ ตาลปัตรที่ใช้ในพิธีสงฆ์ทั่วไปเรียกว่า “พัดรอง” ตาลปัตรที่ใช้ในงานราชพิธีเรียกว่า “พัดยศ”
พัดรองคือตาลปัตรที่สามารถเห็นได้บ่อย เช่น ในขณะที่พระสงฆ์ให้ศีลและให้พร เราจะเห็นพระสงฆ์นำมาบังหน้าขณะทำพิธีสงฆ์ แต่ในบางครั้งอาจจะเห็นตาลปัตรบางเล่มตั้งประดับไว้ใกล้ๆ กับที่นั่งของพระสงฆ์ระดับผู้ใหญ่ มีลวดลายงดงามและมีรูปลักษณ์ที่สง่า ดูแตกต่างจากตาลปัตรทั่วๆ ไป ตาลปัตรแบบนี้ เรียกว่า “พัดยศ” ถือเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก เนื่องจากเป็นเครื่องกำหนดสมณศักดิ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น เพื่อถวายแด่พระภิกษุในโอกาสที่ได้รับสมณศักดิ์ และจะนำมาใช้ในงานราชพิธีเท่านั้น ไม่นำมาใช้ในพิธีสงฆ์ปกติ และพระสงฆ์ที่ไม่มีสมณศักดิ์จะไม่สามารถใช้พัดยศได้ จะถือว่าเป็นความผิด
เรื่องการทำพัดยศ – พัดรอง จะไม่เหมือนกัน การทำ “พัดยศ” จะยากกว่าพัดรอง เนื่องจากต้องปักลายด้วยมือเท่านั้น และต้องปักให้เหมือนกันทั้งสองด้าน งานปักจะปราณีตเพราะจะต้องนำดิ้นเงินและดินทองมาปักเป็นลวดลาย ลวดลายแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ ยิ่งสมณศักดิ์สูงขึ้น ลวดลายศิลปะเครื่องประดับก็ยิ่งสวยและวิจิตรยิ่งขึ้น พัดยศบางเล่มที่มีสมณศักดิ์สูงก็จะมีการประดับเพชรพลอยหรืองาช้างเข้าไปด้วย แต่ละเล่มจะใช้เวลาปัก 3 เดือน – ครึ่งปี ความยากง่ายขึ้นอยู่กับลวดลาย และราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหลายพันบาท ไปจึงถึงหลักแสนบาท ตามแต่ความยากง่ายของลวดลายอันวิจิตรบรรจง
เรื่องการทำพัดยศ – พัดรอง จะไม่เหมือนกัน การทำ “พัดยศ” จะยากกว่าพัดรอง เนื่องจากต้องปักลายด้วยมือเท่านั้น และต้องปักให้เหมือนกันทั้งสองด้าน งานปักจะปราณีตเพราะจะต้องนำดิ้นเงินและดินทองมาปักเป็นลวดลาย ลวดลายแต่ละลวดลายจะแตกต่างกันตามสมณศักดิ์ ยิ่งสมณศักดิ์สูงขึ้น ลวดลายศิลปะเครื่องประดับก็ยิ่งสวยและวิจิตรยิ่งขึ้น พัดยศบางเล่มที่มีสมณศักดิ์สูงก็จะมีการประดับเพชรพลอยหรืองาช้างเข้าไปด้วย แต่ละเล่มจะใช้เวลาปัก 3 เดือน – ครึ่งปี ความยากง่ายขึ้นอยู่กับลวดลาย และราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักหลายพันบาท ไปจึงถึงหลักแสนบาท ตามแต่ความยากง่ายของลวดลายอันวิจิตรบรรจง
การทำสั่งทำพัดยศนั้น ส่วนมากจะสั่งทำในวาระที่พระสงฆ์ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ และต้องการเก็บพัดยศอันเดิมไว้เป็นที่ระลึก เพราะหากพระภิกษุรูปใดที่ได้เลื่อนสมณศักดิ์แล้ว ก็จะต้องมอบพัดยศสมณศักดิ์เล่มเดิมคืนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรับพัดยศสมณศักดิ์เล่มใหม่ หรือในบางกรณีที่พัดยศชำรุด ก็มีการสั่งทำใหม่ ลูกค้าของทางร้านส่วนมากจะเป็นพระสงฆ์ในวัดต่างจังหวัด ซึ่งจะดูข้อมูลจากทางเว็บไซต์ของร้าน โดยทางร้านจะเป็นผู้รับงานและสั่งทำกับร้านที่ปักพัดยศโดยเฉพาะ พร้อมกับมีการส่งให้ทั่วประเทศ โดยคิดราคาตามตามอัตราน้ำหนัก อีกทั้งทางร้านจะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ
ในส่วนของการทำ “พัดรอง” จะทำง่ายกว่าพัดยศ เพราะปัจจุบันมีเครื่องปักที่ทันสมัย และยังมีเทคโนโลยีการออกแบบลวดลายและตัวอักษรได้ตามที่ลูกค้าต้องการ โดยทางร้านจะมีลายและแบบตัวอักษรให้ลูกค้าได้เลือก พร้อมกับทำตัวอย่างให้ลูกค้าได้ดู ซึ่งพัดรองนั้นจะใช้เวลาทำประมาณ 2 – 3 วัน ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ชิ้นละ 1,600 บาท จนถึงหลักหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลวดลายที่ลูกค้าสั่งทำ
ลูกค้าส่วนมากที่มาสั่งทำนั้น ส่วนมากจะสั่งทำในช่วงเข้าพรรษา เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่นิยมจัดงานอุปสมบท หรือที่เรียกกันว่า “บวชนาค” เพราะตาลปัตรเป็น 1 ใน 8 เครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ ที่ต้องใช้ประกอบในพิธีอุปสมบท ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะมีการเลือกสีตามวันเกิด และนิยมปักชื่อของผู้ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์อีกด้วย
และช่วงทำ “บุญกฐิน” คือช่วงวันออกพรรษา ในช่วงนี้ก็จะมีการสั่งทำกันมาก ทั้งจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชน เพื่อไปถวายในวาระต่างๆ เช่น ถวายในวาระที่ได้รับกฐินพระราชทาน เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกแก่พระสงฆ์ หรือลูกค้าบางท่านก็อาจจะสั่งทำ ให้เป็นที่ระลึกในการทำบุญวันเกิดของตัวเอง หรืองานบุญต่างๆ
ปัจจุบันนี้เรื่องของตาลปัตร มีคนให้ความสนใจเพราะด้วยลวดลายศิลปะ ที่สามารถแสดงสัญลักษณ์ของงานในวาระต่างๆ ทำให้ตาลปัตรมีคุณค่าทางศิลปะเพิ่มขึ้น มีมูลค่าที่มากขึ้นด้วย และสมัยนี้ผู้คนนิยมหันมาเข้าวัดเข้าวา หลีกหนีจากสังคมที่วุ่นวาย เพื่อไหว้พระทำบุญร่วมพิธีสงฆ์ ตลาดการซื้อขายเครื่องสังฆภัณฑ์ก็ยังคึกคัก แม้จะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเงียบเหงา
สนใจติดต่อ
รุ่งทิพย์ บัณฑิตวัฒนกุล
www.s-sangkapan.com
FB : ร้าน ศ.สังฆภัณฑ์ บริการสังฆภัณฑ์ออนไลน์
โทร.085-8322424 , 02-6223173
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
SMEs manager