ครบรอบ 35 ปี สื่อเครือผู้จัดการ จัดสัมมนาใหญ่ หัวข้อ “SMEs 4.0 : E-COMMERCE ยกระดับธุรกิจพิชิตตลาดโลก” รมช.อุตสาหกรรมชี้ SMEs ไทยต้องก้าวสู่ยุค 4.0 ในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เบื้องต้นรุก 10 ธุรกิจ New S-Curve ที่มีศักยภาพด้านการตลาดเป็นอันดับแรก พร้อมชู 9 มาตรการสนับสนุน SMEs และ OTOP ปี 61
ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แสดงปาฐกถาในหัวข้อ “นโยบายเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มผู้ประกอบการให้ก้าวสู่ SMEs 4.0” ในงานสัมมนา"SMEs 4.0 E-COMMERCE ยกระดับธุรกิจพิชิตตลาดโลก" ในโอกาสครบรอบ 35 ปี สื่อเครือผู้จัดการ ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี กรุงเทพ วันนี้(26 ก.พ.) ว่า ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าดิจิตอลได้เข้าไปแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม และทุกธุรกิจที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการทำให้ธุรกิจเข้าสู่ยุค 4.0 จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอดในทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคการเกษตร เพื่อตอบโจทย์นโยบาย Industry 4.0
ขณะเดียวกัน ในเรื่องอีคอมเมิร์ช (e-Commerce) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งรวมข้อมูลการซื้อขายสินค้าของผู้บริโภค ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่ระบบการขนส่ง และลอจิสติกส์ต่างๆ ดังนั้นทางรัฐฯ จึงมีแผนพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงทุกหมู่บ้านทั่วประเทศเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลดิจิตอลได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียม โดยที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมสินค้าของชาวบ้านและชุมชน มาทำเป็นอีแค็ตตาล็อก (e-Catalog) เพื่อเชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น โดยส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ไทย
ด้านนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง “กลไกประชารัฐ 9 มาตรการสำคัญ Transform for SMEs 4.0” ว่า ในปี 2561 ทางกรมฯ ได้วางแผนช่วยเหลือ SMEs และ OTOP ไว้ 9 มาตรการสำคัญ โดยมาตรการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ 1. Local Economy เป็นการยกระดับเศรษฐกิจรากฐานชุมชน โดยเน้นไปที่โครงการ Creative Industry Village หรือ CIV เป็นการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการปรับภูมิทัศน์การท่องเที่ยว รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน มอก. และ มผช.เพื่อสร้างเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน
2. โครงการเอสเอ็มอีภาคการเกษตร พัฒนาสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ มีการนำเครื่องมือที่ทันสมัยให้แก่เกษตรกร รวมถึงให้ความรู้ด้านการวางแผนการผลิต ซึ่งจะมีการขยายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมทั่วประเทศต่อไป 3. เชื่อมโยงศูนย์สนับสนุน SMEs จำนวน 270 แห่ง หรือศูนย์ SSRC (SMEs Support and Rescue) 4. สร้างฐานข้อมูล SMEs เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนในระบบได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
5. พัฒนาโค้ชเพื่อช่วยเหลือ SMEs โดยทางกรมฯ ตั้งเป้า 2,000 รายภายในปีนี้ นำร่อง 10 อุตสาหกรรม S-Curve เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับ และอาหาร เป็นต้น 6. ร่วมมือกับองค์กรใหญ่ให้เป็นพี่เลี้ยง SMEs (Big Brother) ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 300 ราย ที่ลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้าน พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงช่วยในเรื่องการทำตลาด
7. ผลักดัน SMEs สู่ตลาดสากล (Digital Value Chain) ในระดับ B2B ได้ร่วมกับ J Good Tech สร้างฐานข้อมูลให้ผู้ประกอบการกว่า 1,300 ราย เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการแชร์องค์ความรู้ โดยตั้งเป้ามีผู้ประกอบการเข้าร่วม 1,400 ราย โดยจะเปิดรับสมัครในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ขณะที่ในระดับ BSC ทางกรมฯ มีโครงการอบรมอีคอมเมิร์ซให้แก่เอสเอ็มอี และโอทอป ประมาณ 3,000-4,000 ราย 8. เสริมแกร่งเอสเอ็มอีให้มีความรอบรู้ด้านการเงิน โดยมี SME Development Bank และ สสว.เป็นเจ้าภาพหลัก และ 9. ยกระดับเอสเอ็มอีสู่มาตรฐานเฉพาะ โดยต้อมมีมาตรฐาน มอก. มผช. ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระดับนี้ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นทาง สมอ.จึงเปิดรับสมัครให้ผู้ประกอบการนำผลิตภัณฑ์เข้ารับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 60 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาธุรกิจสู่ยุค 4.0 สามารถขอรับคำปรึกษาแนะนำได้ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือที่ www.dip.go.th
คำต่อคำ "สมชาย หาญหิรัญ" กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา SMEs 4.0 E-COMMERCE ยกระดับธุรกิจพิชิตตลาดโลก
เรียนท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ท่านกอบชัย และท่านประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือผู้จัดการ คุณจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ท่านผู้บริหาร วิทยากร ท่านผู้ประกอบการ และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นประธานเปิดงาน ในงานสัมมนา "SMEs 4.0 E-COMMERCE ยกระดับธุรกิจ พิชิตตลาดโลก" และปาฐกถาในหัวข้อ "นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาล" เพื่อให้พวกเราผู้ประกอบการ และประชาชนที่สนใจ ได้ทราบถึงแนวนโยบายและทิศทางของภาครัฐ ตลอดจนเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและสามารถที่จะให้ใช้ประโยชน์จากนโยบายของภาครัฐต่างๆ ในการต่อยอดธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ท่านต้องการไว้
ก่อนอื่นก็ต้องขอแสดงความยินดีกับคุณจิตตนาถ ในการครบรอบ และผู้บริหารของเครือผู้จัดการทั้งหมดในโอกาสครบ 35 ปี ของสื่อที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เราก็ทราบดีว่าสื่อมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่จะถ่ายทอดนโยบายของภาครัฐสู่ภาคเอกชน เป็นแหล่งของความรู้ในหลายๆ เรื่อง ทั้งในและต่างประเทศ เป็นเรื่องของการกระจายความคิดที่ดีและมีประโยชน์ต่อภาคเอกชน ก็ต้องขอขอบคุณเครือผู้จัดการที่ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมมาตลอด 35 ปี
ในแนวนโยบายของรัฐบาลในเรื่องดิจิตอล ผมว่าเราคงไม่ต้องอธิบายในเรื่องของความสำคัญของดิจิตอลในประเทศเรา หรือแม้กระทั่งโลก กำลังเดินเข้าสู่ยุคดิจิตอล ดิจิตอลมีความสำคัญในหลายๆ เรื่อง เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่แทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม หรือในทุกส่วนของชีวิตประจำวันของเรา ผมเชื่อว่าพวกเราสามารถหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาแล้วเราสามารถใช้ได้ทุกอย่างในการดำเนินชีวิต ในการประกอบธุรกิจ ธุรกิจต่างๆ จะถูกเจียลงไปในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากดิจิตอล
ผมขออนุญาตอธิบายในเรื่องของนโยบาย 4.0 ก่อน 4.0 นั้น ในประเทศไทย 4.0 เราอาจจะมองในหลายมิติ ในมิติของสังคม ในมิติของเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ในมิติของความยั่งยืน ในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น ซึ่งอาจจะตรงกับพวกเรามากที่สุด ถึงแม้ความมั่นคงนั้นจะเป็นสิ่งจำเป็นทั้งหมด แน่นอน จะ cover ทั้งหมด เราก็จะเป็นในเรื่องของความมั่นคงเราก็จะใช้ประโยชน์จากดิจิตอลในหลายๆ เรื่อง การติดตามข่าวการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเมือง ในเรื่องของการดูแลความยุติธรรม ความปลอดภัย ให้กับประชาชน ดิจิตอลก็มีความสำคัญ เราจะเห็นกล้องซีซีทีวีกระจายอยู่ทั่ว การติดตามข่าวเรื่องการก่อการร้าย อะไรต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น การประมวลผลของผู้ที่เข้าและออกประเทศ สิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็จะใช้ดิจิตอลทั้งหมด และอำนวยความสะดวกกับชีวิตประจำวันของเราในการเดินเข้า เดินออกประเทศ และวันนี้ผมเข้าใจว่าคนไทยก็ไม่จำเป็นต้องส่งใบขาวๆ เข้าเมือง ออกเมือง อะไรต่างๆ ใช้หัวแม่มือ นี่ก็คือเรื่องของดิจิตอล
แต่ในเรื่องเศรษฐกิจที่เรากำลังพูดถึง แนวนโยบายของภาครัฐ เรากำลังพูดถึงดิจิตอล อีโคโนมี นั้น ซึ่งเป็นหนึ่งใน s-curve ของรัฐบาล New S-Curve ด้วยซ้ำไป ที่เราถือว่าจะเป็น New engine of Growth ดิจิตอลจะถูกใช้เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตั้งแต่เริ่มต้น ที่จะบอกว่า ถ้าผมพยายามมองแบบตลาดซัพพลายเอง เอาเกษตรแปรรูปง่ายๆ ก็แล้วกัน เกษตรแปรรูปง่ายๆ ตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่เกษตร มาถึงเรื่องของการแปรรูป และเรื่องของทางด้านเซอร์วิส หรือบริการ หรือมาร์เก็ตติ้ง สุดท้าย 3 อันซึ่งผมมักจะพูดเสมอ ดังแนวคิดของเคนโด ของญี่ปุ่น ที่พูดถึงอุตสาหกรรมที่ 6 ที่เคยบอกไว้ว่า ในอุตสาหกรรมที่ 6 นั้น ไม่ว่าต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ นั้นมีความสำคัญ เราละเลยอันไหนไม่ได้เลย
ในอุตสาหกรรมที่ 1 ที่เราพูดถึงเกษตร หรือ Primary Industry นั้น ก็คือเกษตร คืออุตสาหกรรมที่ 1 อุตสาหกรรมที่ 2 คือการแปรรูป และอุตสาหกรรมที่ 3 ก็คือเซอร์วิส รวมทั้งมาร์เก็ตติ้งต่างๆ นั้น 1x2x3 เป็น 6 1+2+3 ก็เป็น 6 เรามักจะเรียกว่าวิธีคิดของการพัฒนา ของอุตสาหกรรมของเกษตรแปรรูปนั้น ต้องมองอุตสาหกรรมที่ 6 คือคุณจะต้องรู้ทั้งสามอัน ถ้าเรามองวิธีคิดก็คือ 1x2x3 ไม่ใช่บวกนะ เป็นคูณ ถ้าคุณไม่รู้ตัวใดตัวหนึ่ง เป็น 0 1x2x0 ก็เป็น 0 นะครับ 0x2x3 ก็เป็น 0 ไม่ใช่ 6 อย่างที่เราคิด
แต่สิ่งต่างๆ ที่จะเชื่อมโยงต่างๆ เข้าหากันนั้น อย่างเช่นเกษตร ถามว่าดิจิตอลมีผลอย่างไรบ้างในเรื่องของเกษตร วันนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องของเกษตร ผมว่าหลายท่านอยู่ในธุรกิจการเกษตร ท่านจะเห็นว่าเกษตรแปลงใหญ่เป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเติมน้ำ การตรวจปุ๋ยในดิน ความเข้มข้นของสารอาหารในดิน ความชื้นในอากาศและในดิน และเรื่องที่สามารถจะตรวจสอบในเรื่องของการให้อาหาร ให้น้ำ กับพืชได้ วันนี้เป็นระบบดิจิตอลเกือบทั้งหมด การเกี่ยวข้าว เราจะเห็นเกษตรกรไทยหลายคน วันนี้เครื่องไม้เครื่องมือ แม้กระทั่งเครื่องปลูกข้าว เครื่องดำข้าว หรือปักดำ ก็ยังใช้ดิจิตอลได้ และติดตามได้ตลอดว่าควรจะใส่ปุ๋ยที่ไหน เมื่อไร ด้วยอะไรบ้าง สารอาหารอะไรที่ต้องการ ก็ใช้ดิจิตอลทั้งหมด
พอมาถึงในส่วนของอุตสาหกรรมที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบนั้น ไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ เรากำลังใช้คอนเซปต์คำว่า CONNECTED INDUSTRY
CONNECTED INDUSTRY หมายถึง เราจะเชื่อมโยงภายในทั้งหมด มันมีทั้งการเชื่อมโยงภายในโรงงาน ตัวโรงงานก่อนนะ ตัวนี้แนวคิดที่เรามักจะพูดถึง คือ CPS เรากำลังพูดถึงตัวระบบ Industry 4.0 แบบเยอรมัน คือจุดในโรงงานนั้นจะถูกเชื่อมโยงต่อกันเป็นอัตโนมัติ และคอนโทรลโดยใช้ระบบของดิจิตอลทั้งหมด สามารถที่จะสื่อสารกันระหว่างจุดหนึ่งกับจุดหนึ่ง ระหว่างหุ่นยนต์กับหุ่นยนต์ แล้วหุ่นยนต์สองตัวนั้นจะคุยกันได้ ไม่ใช่คุยกันได้เพื่อส่งมอบงาน แต่คุยกันได้แม้กระทั่งเรื่องของการแจ้งเตือนภัยที่จะเกิดขึ้นในอดีต ในอดีตมีความผิดพลาดประมาณนี้ signal ส่งออกมาแล้วประมาณนี้ มีแนวโน้มจะเกิดอะไรตามมา และดิจิตอลจะถูกระบบของ AI คำนวณออกมาเรียบร้อยจาก Big Data ที่เก็บไว้ในอดีต บอกเลยว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจะเกิดข้อผิดพลาดอะไร และมันจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ถ้านอกโรงงานนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมทำงานร่วมกับ METI ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการค้าของญี่ปุ่นมาคราวที่แล้ว ที่เป็นแขกของท่านรองนายกรัฐมนตรีสมคิด และไปดูอีอีซีของเรา และมีการลงนามร่วมกับท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยในเรื่องของความร่วมมือว่าด้วย CONNECTED INDUSTRY โดยการใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอลทั้งหมดขึ้นมา นั่นหมายถึงว่าเราจะเชื่อมโยง วันนี้โลกจะเชื่อมโยงผ่าน Global Value Chain หรือ Supply Chain โดยใช้ระบบดิจิตอล เพื่อตอบโจทย์ของ INDUSTRY 4.0
INDUSTRY 4.0 นี่มีอะไรครับ INDUSTRY 4.0 ถ้าดูแนวคิดของเยอรมันที่วางไว้ในปี 2013 ก็คือ Mass Customization ที่เราเคยคุยกันมานานหลายปี ปรากฏอยู่ใน text book หลายๆ ครั้ง ท่านรองนายกฯ สมคิด ได้เอ่ยถึงเรื่องนี้หลายครั้ง แต่วันนี้ภาพมันจะชัดขึ้น ง่ายขึ้นในทางปฏิบัติ เมื่อ digital economy เข้ามาในระบบอย่างเป็นจริงขึ้นมา
ความหมายก็คือว่า แม้กระทั่งแค่คำสั่งซื้อจากผู้ประกอบการ สั่งซื้อได้ทันที คำสั่งซื้อนั้นจะถูกถอดรหัส ถ้าใครเรียน ก็จะพูดถึงว่า จะต้องใช้ชิ้นส่วนอะไรบ้าง ถ้าใครวิศวกรจะรู้ดีในเรื่องระบบ BOM มันจะบอกทันที ว่าวัตถุดิบอะไรบ้าง ที่ถูก ที่จำเป็นจะต้องมี และลักษณะ หรือ specific requirement หรือลักษณะเฉพาะเจาะจงของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นจะต้องมีอะไรบ้าง สีอะไร ไซส์อะไร ขนาดประมาณไหน รูปร่างประมาณไหน เพราะที่ผู้ประกอบการสั่งซื้อนั้นเขาจะมีความต้องการสั่งซื้อที่ไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนต้องการความแตกต่าง อัตลักษณ์ของตัวเอง เพราะฉะนั้นมันจะถูกถอดออกมา ไล่มา แล้วผู้ที่อยู่ใน supply chain ทั้งหมดจะรู้ทันทีว่าตัวเองจะต้องเตรียมอะไรบ้าง ลักษณะไหน ประมาณไหน และเมื่อไร คำสั่งซื้อ สั่งวันนี้ อีก 1 เดือนได้ คำสั่งนั้นจะถูกถ่ายทอดมาให้กับทุกคนหมด
ระบบทั้งหมดที่ถูกถ่ายทอดในอดีต ถูกส่งเป็นจดหมาย ถูกส่งผ่านเป็นอีเมล แต่วันนี้ถูกส่งผ่านระบบดิจิตอลทั้งหมด ทุกคนทราบพร้อมกัน และเตรียมตัวพร้อมกัน ว่าจะตัวเองจะต้องทำอะไร และส่งมอบเมื่อไร ผู้บริโภคก็จะถูกตอบสนองได้ไวขึ้น เร็วขึ้น และถูกต้องมากขึ้น ตรงกับจริตและความต้องการของผู้บริโภครายนั้น นี่คือ CONNECTED INDUSTRY ที่ตอบโจทย์ และเป็นความฝันของเยอรมันอีก 16 ปีข้างหน้า เพราะเยอรมันประกาศเมื่อ 2013 แล้ววันนี้มันเริ่มต้น
ผมได้มีโอกาสไปที่โรงงานเบนซ์ ที่แฟรงก์เฟิร์ต เขาบอกเลย วันนี้เขาก็พยายามทำ Mass Customization แต่ขอเป็นจำกัดก็แล้วกัน ลักษณะจำกัดหมายถึงบอกว่า ผู้บริโภคสามารถเลือกสีได้ เลือกคอนโซลหน้ารถเป็นไม้ ไม้แบบไหน สีไหนได้ แต่ข้อจำกัดก็คือเหมือน ติ๊กเมนู ผมว่าพวกเราก็เคย เวลาไปทานก๋วยเตี๋ยว ก็บอก เส้นใหญ่ ไม่งอก สด มันก็คล้ายๆ กัน แต่วันนี้คำสั่งนั้นจะถูกถ่ายทอดเป็นระบบดิจิตอล และรวดเร็วมากขึ้น มันจะตอบโจทย์ มันจะทำให้ลูกค้าแต่ละคนได้ในสิ่งที่เขาต้องการอย่างถูกต้อง และบริหารการจัดการระบบการผลิตก็จะตอบไวขึ้น ผมคิดว่าพวกเราก็เคยได้ยินในเรื่องของ "ราเมงข้อสอบ" ผมไปญี่ปุ่นมากับท่านรองนายกฯ สมคิด ก็ได้เห็นราเมงข้อสอบ ที่ฟุกุโอกะ ก็เหมือนกับลักษณะของ Customization แต่จะเป็น Mass ในเชิงธุรกิจมากขึ้น นี่คือ CONNECTED INDUSTRY จะเกิดขึ้นไม่ได้เด็ดขาด และมีประสิทธิภาพด้อยทันที ถ้าไม่มีดิจิตอล
ส่วนอุตสาหกรรมที่ 3 ด้านเซอร์วิสนั้น การที่เชื่อมโยงไปถึงผู้บริโภค ไปถึงการมัดรวมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทางด้านลอจิสติกส์ warehouse เรื่องของทางด้านร้านค้าปลีกต่างๆ และการเชื่อมโยงในเรื่องของการขนส่ง รวมถึงผู้บริโภค มันก็จะมีสิ่งต่างๆ หลายอย่างที่จำเป็นจะต้องใช้ดิจิตอล ซึ่งเป็นหัวข้อวันนี้ ที่ทางเครือผู้จัดการนำมาคุยกับพวกเราวันนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาคุยวันนี้ ในหลายๆ อันนั้น อันหนึ่งก็คือ E-commerce มันก็เหมือนกับการเปิดร้านค้า เหมือนกับการส่งข้อมูลข่าวสารที่เราจะ engage เข้าไปคุยกับผู้บริโภคโดยตรงได้ทันที แต่ e-Commerce มีไกลไปกว่านั้น เดี๋ยวผู้เชี่ยวชาญคงเล่าให้ฟัง แต่สำหรับผม ผมมองว่า e-Commerce ในพวกเราวันนี้ SMEs ผมว่าใช้น้อยมากครับ ในการที่จะเข้าไปถึงในระบบของ e-Commerce เราจะเห็นเฟซบุ๊ก ผมว่าพวกเราใน SMEs หลายๆ ราย สามารถทำธุรกิจง่ายๆ ในเบื้องต้นได้เลยผ่านเฟซบุ๊ก ผ่านอินสตาแกรม แม้กระทั่งในเรื่องของเว็บไซต์ที่เราเปิดกันมาจำหน่ายสินค้ากันเยอะแยะ ตัวผมเองผมก็โดนขายเยอะ ฝากขายครีมอะไรเยอะมาก ก็โอเคล่ะครับ ผมก็เข้าใจ ผมก็พยายามไม่ลบใคร ก็รับฝาก เพราะเข้าใจ แต่จริงๆ ไม่ต้องมาแท็กผมก็ได้นะครับ เพราะเฟซบุ๊กผมไม่ค่อยมีใครดูเท่าไรนัก น้อยครับ แต่ก็โอเคครับ ก็เห็นความพยายามของพวกเราหลายๆ คนที่จะใช้ประโยชน์จากระบบของ e-Commerce มากขึ้น
แต่ถ้า e-Commerce จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นระบบจริงๆ มันจะมีสิ่งสำคัญที่สุดคือ ข้อมูล ครับ ผมว่าคนที่จัดระบบของ e-Commerce ที่เป็นระบบจริงๆ จะเป็นสิ่งที่สำคัญ มันไม่ใช่แค่ตลาดที่วางขาย แต่มันเป็นจุดรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภค ว่าผู้บริโภคที่สั่งซื้อมานั้น ใครอยู่จุดไหนของมุมโลก มีรายได้ประมาณไหน กำลังสั่งซื้อสินค้าอะไร จากไหน และสินค้านั้นถูกตอบสนองแล้วหรือไม่ อย่างไร มันก็จะเป็นโอกาสทางการตลาดเยอะแยะที่เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลของทางการตลาดเหล่านี้ มันไม่ใช่แค่ตลาดที่วางขาย โอกาสที่เราจะเข้าไป ระบบ e-Commerce ยังหมายถึงเรื่องของการจัดการการขนส่ง ลอจิสติกส์ ที่ได้ประโยชน์ดีที่สุด หีบห่อที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งง่ายที่สุด อย่างไรบ้าง
แต่แน่นอนครับ ตัวที่แบ็กอัพทั้งหมดนั้น คือระบบตัวของการ ที่เราเรียกว่า อินเทอร์เน็ต ระบบการเชื่อมโยง วันนี้รัฐบาลดำเนินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็นรัฐบาลที่สามารถทำให้สิ่งที่ commit ไว้ตั้งแต่ต้นเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วว่า อินเทอร์เน็ตหมู่บ้านจะต้องเสร็จ วันนี้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายถึงทุกตารางนิ้วในพื้นที่ของประเทศไทยนั้น เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่สาระสำคัญของรัฐบาลที่จะต้องทำตรงนั้น รัฐบาลตระหนักดีว่า อินเทอร์เน็ตสามารถสร้างเครือข่ายครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่การใช้ประโยชน์ของประชาชน ความเข้าใจของประชาชน ที่จะใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่ใช่แค่การดูเฟซฯ การเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเรียนรู้ การสร้างโอกาสให้คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลเหมือนคนที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้รับเหมือนกัน
รัฐบาลต้องการส่งโอกาสทุกอย่าง ทุกเรื่อง ให้กับประชาชนคนไทยทุกคน ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ดังนั้น กิจกรรมที่ตามเสริมลงไปล่าสุด ที่มีคณะรัฐมนตรีสัญจร ผมลงไปที่จันทบุรี ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากตัวเมือง เดินทางไปประมาณเกือบชั่วโมงครึ่ง ไปร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กับกระทรวงดิจิทัลฯ (ดีอี) ท่านรัฐมนตรีท่านไปเอง รัฐมนตรีพาณิชย์ พิเชฐ จากกระทรวงดีอี ไป และผม เราก็ไปดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กๆ ทางไปรษณีย์ก็จะตั้งเป็น เรียกว่า ไปรษณีย์บริการพิเศษ ขึ้นมาตรงนั้น สามารถรับ-ส่งเอกสารทั้งหมด และที่สำคัญที่สุด เราสร้างขึ้นมา ก็คือ แคตาล็อกที่เป็น e-Catalogue เอาของของชาวบ้านในพื้นที่นั้นขึ้นมาอยู่ในเว็บไซต์ คนไทยทุกคนในประเทศไทยสามารถเห็นตรงนั้นของผลิตภัณฑ์ชุมชนที่อยู่มุมหนึ่ง อยู่ชายแดนของประเทศไทย แล้วสามารถสั่งซื้อได้ ผ่านระบบ e-Commerce ของไปรษณีย์
แต่แน่นอนครับ ไปรษณีย์ของบ้านเรามีเยอะนะครับ ใครที่เคยเข้าไปชอปปิ้ง วันนี้ผมเชื่อว่าในระบบของเศรษฐกิจไทยนั้น e-Commerce เป็นระบบที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ดี และลูกค้าก็เข้าถึงเราได้ดี เพียงแต่ว่าในกระบวนการที่เราจะทำให้ e-Commerce ของเรานั้นเป็นที่น่าสนใจ หรือสินค้าของเราปรากฏอยู่ในระบบตลาดที่เป็น e-Marketing เป็นที่น่าสนใจนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ต้องมีวิธีการค่อนข้างเยอะ ต้องขออนุญาตเรียนอย่างนี้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ล่าสุด ก็คือในทุก ICT ของท่านอธิบดีกอบชัย อย่างล่าสุดที่เชียงใหม่ เราก็มีคล้ายๆ บูธ เพื่อถ่ายรูป ช่วย SMEs หรือแม้กระทั่งออกแบบในการถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ของท่านเพื่อขึ้นเว็บไซต์ หรือขึ้นในระบบที่ขายออนไลน์ได้ ให้มันสวยงาม ทำเป็นสตูดิโอเล็กๆ อันหนึ่ง จะมีห้อง มีอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ ที่สามารถถ่ายแล้วภาพของคุณจะชัดขึ้น ตัดกรอบได้ง่ายขึ้น ฉากหลังสีขาว หรือยังไงก็แล้วแต่ วันนี้จะตั้งไว้ประมาณสัก 2-3 แห่ง ในศูนย์ของภาค ปกติ วันนี้เรา กระทรวงอุตสาหกรรมตั้ง ITC หรือ Industrial Transformation Center หรือที่เราเรียกว่าศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ขึ้นมา ซึ่งจะมีเครื่องไม้เครื่องมือให้กับพี่น้อง SMEs เข้าไปใช้ วันนี้ 12 จุด ในประเทศไทยก่อน ทุกภูมิภาคของเรา
ล่าสุด อาทิตย์ที่แล้วผมไปสองที่ ที่ลำปาง และเชียงใหม่ ที่ลำปาง เป็นเซรามิก จะเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมทางด้านเซรามิก ที่นั่นจะมีห้องทดสอบ ตั้งแต่เรื่องดิน ให้ความรู้ตั้งแต่เรื่องดิน ว่าดินนั้นควรจะใช้ที่มีสารผสมอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ขึ้นรูปบ้าง มีการสอนการออกแบบ การปั้นเซรามิก วันนี้ผมก็ยังมั่นใจว่าคนที่ปั้นเซรามิก และมีความรู้ดีที่สุดเกี่ยวกับเซรามิก อยู่ที่ลำปาง ศูนย์เซรามิกของเรา รูปทุกรูป ไม่ว่าองค์นารายณ์ ที่พวกเรากระทรวงอุตสาหกรรมกราบไหว้ อยู่ชั้น 6 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ปั้นโดยฝีมือของข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เราได้รางวัลเยอะมาก เพียงแต่ว่าวันนี้เราจะเก็บคนเหล่านี้ไว้อย่างไรบ้าง เพราะส่วนใหญ่ก็ใกล้เกษียณ เรามักจะเรียกคนที่ใกล้เกษียณของพวกเราทุกคนที่มีฝีมือเหล่านี้ว่าอาจารย์เกือบทุกคน
ที่เซรามิกวันนั้น วันนี้เรามีทุกเรื่อง มีห้องแล็บ ทางด้านเคมีทุกเรื่องเกี่ยวกับเซรามิก การออกแบบ เราออกแบบเตาเผาเซรามิกให้หมู่บ้านชุมชน โดยเฉพาะหมู่บ้าน CIV ของเรา เพื่อสามารถปั้นชามสังคโลก โดยไม่ต้องแตกงาเหมือนในอดีต
สิ่งที่ผมเล่าเสริมตรงนี้ก็คือให้เห็นว่าท่านไปที่ ITC หรือศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมใน 12-13 แห่ง ทั้ง 14 แห่งในประเทศไทย 12 อยู่ภูมิภาค ที่นี่อีก 2 แห่ง ถ้านับรวมกับ ITC ทางด้านอาหารของสถาบันอาหารฯ ที่เราลงงบประมาณให้ไว้ ผมคิดว่าวันนี้ โดยเฉพาะเรื่องของดิจิตอลก็เหมือนกันครับ e-Commerce ก็เหมือนกัน ท่านไปหาความรู้ที่นั่น ถ่ายรูปที่นั่น เราจะช่วยให้ท่านออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออก packaging ได้ง่าย
ที่ผมเล่าเสริมตรงนี้เพื่อให้เห็นว่าความพยายามของรัฐนั้นมีกระจัดกระจายอยู่ทั่ว แต่ข้อมูลข่าวสารที่เราพยายามจะส่งและสื่อให้พวกท่านทราบ ว่ามีความพร้อมขนาดไหน ก็ต้องขอบคุณสื่อมวลชนหลายๆ สำนัก ก็ได้ให้ความกรุณาในการส่งข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ให้กับผู้ประกอบการโดยทั่วๆ ไป
ในแผนพัฒนาเรื่องของดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น วันนี้เรื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ผมนำเรียนไปแล้ว ก็จะสามารถให้เรามีโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เมื่อตอน weekend มีคนถามผมว่ามี 5G น่าจะดีขึ้นไหม ผมว่าก็คงดีนะ สำหรับผู้บริโภคนะครับ คงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ครอบคลุมได้มากขึ้น ไวขึ้น ไม่ใช่แค่ในเรื่อง ... ผมเข้าใจ พวกเราหลับตานึกถึง เราจะส่งไลน์ได้ไวขึ้น ส่งคลิปได้ไวขึ้น คงไม่ใช่แค่นั้นนะครับ แต่ความหมายก็คือ ถ้าระบบดิจิตอลดีขึ้น ระบบการผลิตในโรงงานที่ automation ก็จะดีขึ้น ละเอียดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น เรื่องของการทำลอจิสติกส์ทั่วประเทศก็จะดีขึ้น เทคโนโลยีก็จะเปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามันจะรองรับเรื่องของความเร็วและประสิทธิภาพทางด้านอินเทอร์เน็ต
อีกด้านหนึ่งก็คือเรื่องของอุตสาหกรรม News S-Curve เวลาที่มอง เราไม่ได้มองแค่ดิจิตอล เป็นเรื่องของเฉพาะการให้บริการ แต่มองตัวดิจิตอลเป็น business เหมือนกัน จำเป็นนะครับที่เราจะต้องสร้างผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับดิจิตอล หรือผู้ที่ให้ Digital Service Provider ขึ้นมาในประเทศไทยให้มากขึ้น ในการที่จะใช้ระบบดิจิตอลนั้น มันจะมีแอปพลิเคชัน SMEs พยายามจะใช้ ผมเชื่อว่าวันนี้เราทุกคนใช้มือถือเป็น เราใช้แอปพลิเคชันเป็น ผมเห็นเด็กๆ ยังส่งคำขอ พวกคำขอชีวิตให้ผมตอบรับไป เพื่อที่เขาได้เล่นเกมต่อ เยอะมากนะครับ เพราะฉะนั้นผมว่าพวกเราใช้เป็นหมดทุกคน เพียงแต่ว่าเราจะใช้มันเป็นประโยชน์อย่างไรเท่านั้นเอง กระทรวงอุตสาหกรรมพยายาม วันนี้เราก็มีแอปพลิเคชัน ไม่ว่าจะเป็น Point of Sale เรื่องบัญชี เรื่องสินค้าคงคลัง เรื่องอะไรต่างๆ เยอะมาก เป็นแอปพลิเคชันที่เราทำให้ฟรีนะครับ วันนี้ท่านวัฒนชัย ตกลงกับผมแล้วว่าจะทำแอปพลิเคชันให้ฟรีด้วย ใช่ไหมครับ ให้กระทรวง เพื่อให้กับพี่น้อง SMEs ทุกคนได้ใช้แอปพลิเคชันในการดูแล แม้กระทั่งตรวจสอบคุณภาพ สุขภาพธุรกิจของท่าน ท่านก็ตรวจสอบได้ ว่าท่านมีจุดอ่อนอะไรบ้าง เราก็ใช้เป็นตารางออกมาว่าทางด้านการเงิน Cash flow ของท่านเป็นอย่างไร หรือแม้กระทั่งเรื่องของความเข้าใจ learning อะไรต่างๆ วันนี้มีหมดแล้วนะครับ แต่ขอให้ใช้ประโยชน์ และล่าสุดที่เรากำลังทำ และคิดว่าจะ launch มีนาคมนี้ อย่างเต็มรูปแบบ ตอนนี้ launch ไปบ้างแล้ว พวกเราอาจจะยังไม่ทราบ เราเรียกว่า Industrial Partner ถ้าท่านใช้ไลน์เป็น ท่านขอคำปรึกษาจากกระทรวงอุตสาหกรรมและเครือข่ายได้ฟรี ท่านถามเลย ผมมีปัญหาเรื่องบัญชีครับ เราจะมี expert ทางด้านบัญชี วันนี้เรามี expert pool คือเราเอา expert ที่เป็นจิตอาสาของเราจากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ บริษัท จากอาจารย์หลายๆ อาจารย์ จาก สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่เขามาช่วยเรา หรือแม้กระทั่งสถาบันอิสระของกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านกำลังสร้างสูตรเคมีในเรื่องของยาง ยังไม่เข้มข้น ประมาณเท่าไร ความเหนียวประมาณเท่าไร ท่านถามได้ครับ ถ้าท่านใช้ IP ย่อมาจาก Industrial Partner
expert จะเห็นทันที expert ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา ที่เป็นจิตอาสานั้นจะลงทะเบียนไว้กับเรา เขาก็จะไปบอกว่า เดี๋ยวผมตอบให้ เขาก็จะคล้ายๆ จองไว้ก่อน ภาษาเหนือว่า อิ๊บ แปลว่า จอง เราก็เรียกว่า IP อิ๊บ เขาก็จะเข้ามาจองแล้วเขาก็จะเข้ามาตอบให้ และเราก็จะทำต่อไปว่า นโยบายที่ท่านรองนายกฯ สมคิดมอบให้เรา ผมก็ได้มีโอกาสไปดูงานที่ญี่ปุ่น แล้วก็มาบอกว่า ต่อไปนี้ SMEs ไทยจะได้ฟรีในเรื่องของการให้คำปรึกษาฟรีจาก expert 3 วันต่อปี เหมือนญี่ปุ่น เขาจะมาให้คำปรึกษาท่าน โดยค่าใช้จ่ายคำปรึกษานั้น ทางรัฐบาล ในระยะแรกเราจะดูแลให้ฟรี เพียงแต่ท่านเข้ามาลงทะเบียนกับเรา ในระบบของเรา เพราะเราต้องการดูแล SMEs ทุกขั้นตอนจริงๆ ไม่อย่างนั้นท่านอยู่ที่ไหน เราไม่ทราบจริงๆ ด้วยความปรารถนาดีที่รัฐบาลและนโยบายรัฐบาลที่จะต้องดูแลทุกคน ท่านนายกฯ สั่งไว้เลยนะครับว่า ต้องดู SMEs ทุกรายให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ วันนี้เราก็ต้องมีระบบ มีทะเบียน ดังนั้น 8,000 ล้าน ที่ท่านนายกรัฐมนตรี และท่านรองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการนั้น 8,000 ล้าน ในสินเชื่อ 1 เปอร์เซ็นต์ 1 ล้านนั้น มีข้อแม้อันเดียวครับ ขอให้ท่านลงทะเบียน จดทะเบียนหน่อยเถอะครับ เราจะได้ดูในระบบให้ได้
สำหรับเริ่มต้นจดทะเบียน ทุกอย่างมันจะเป็นระบบ ทั้งหมด จะมีคนไปดูเรื่องบัญชีให้ท่าน จะมีการให้คำปรึกษาให้ฟรี 3 วันต่อปี คอยติดตามให้ท่านเข้าในโครงการในหลายโครงการที่เราดำเนินการให้ท่านได้ มันจะมีระบบที่ดูแล ท่านจะเข้าสู่ระบบที่เราเรียกว่า Service Market หรือ SMEs 1 (เอสเอ็มอีวัน) ทั้งหมด ทั้งหมดจะเป็นการโยงกันในระบบดิจิตอล ทั้งหมด ท่านคลิกเข้ามา เชื่อมโยงในบริการทุกอัน แม้กระทั่งการกู้ของเอสเอ็มอีแบงก์ ท่านก็ผ่าน SMEs1 Portal อันนี้ได้ ซึ่งเราทำงานร่วมกัน ตอนนี้กำลังเชื่อมอยู่ 3 หน่วยงาน ก็คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม SME Development Bank และ สสว.
ระบบดิจิตอลจะทำให้ทุกอย่างในระบบเป็น e-Knowledge Market และ e-Service Market ให้ SMEs ทุกคน มีเรื่องของ learning เรื่องของการเรียนรู้ case study ทั้งหมด มีนาคมนี้ ถ้าไม่ผิดอะไร IPs จะออกมา ท่านถามคำถาม ถ้า AI มันตอบคำถามท่านได้ ก็จะตอบทันที เมื่อวานผมลองให้มันพูดหลายภาษาได้ไหม เช่น IP คืออะไร มันก็จะตอบ IP คืออย่างนี้ๆๆ เป็นต้น ผมก็บอกให้ลองเปลี่ยนใหม่ซิ IP คืออะหยัง มันก็ตอบได้นะครับ ก็พยายาม คือเราจะใช้ประโยชน์จากดิจิตอลทั้งหมดวันนี้ แล้วผมเชื่อว่าพวกเรามี Digital Literacy ในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ส่งไลน์ ส่งคลิปกันเป็น นี่ก็เป็นแนวความคิดที่พวกเราเชื่อว่าพวกเราจะสร้างสังคมในเรื่องของคุณภาพด้วยดิจิตอล
ที่เป็นห่วงในเรื่องนี้ เป็นนโยบายที่เราได้รับมอบมาจากรัฐบาล เมื่อกี้ผมนั่งคุยกับคุณจิตตนาถ แป๊บหนึ่ง ท่านก็บอกว่า วันนี้ภาพใหญ่ของแมคโคร พวกเราทราบดี ว่าเป็นยุคที่ใน 3 ปี เกือบ 4 ปีของรัฐบาลชุดนี้ เป็นยุคที่เราได้มีโอกาสหายใจ ได้พักตั้งหลักในการทำงานเต็มเหยียด โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น วันนี้เราได้ทำให้แมคโคร ในระดับมหภาคของเราวันนี้ ค่อนข้างมีเสถียรภาพมากทีเดียว เราได้ใช้ศักยภาพของประเทศไทยได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัว Ease of doing business ก็ไวขึ้น การบริการ การจัดการ เรื่องคอร์รัปชันผมไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับคำชม วันนี้ ร.ง.4 ไม่มีปัญหา ใครมีปัญหาบอกนะครับ วันนี้เรามั่นใจว่าเราสามารถดำเนินการได้ตามนั้น
ในเรื่องของดัชนี ตัวเลขใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีเงินเฟ้อ ก็อยู่ในระดับที่เป็นบวก ที่ไม่มากจนเกินไป กำลังพอดี ในเรื่องของราคาสินค้าต่างๆ ก็อยู่ในระดับที่บอกได้เลยว่า ถือว่าค่อนข้างดี อย่างไม่เคยมีมาก่อน และดีไม่พอนะครับ อยู่ในลักษณะของเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยก็ถือว่าส่งเสริมมาก มาตรการที่รัฐออกมาเรื่องการส่งออก ก็เป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ ปี และล่าสุดก็ประมาณ 3.99 คือ GDP Growth สูงที่สุดตั้งแต่ที่เราเคยมีมาในรอบ 3-4 ปี
แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวเลขที่ทำให้ยังกังวลเกี่ยวกับพวกเราและรัฐบาล ก็คือ จำนวนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากข้างบน ลงไปข้างล่าง ก็คือดูจำนวนจากการส่งออกก็แล้วกัน ก็ยังอยู่ในกลุ่มของบริษัทขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัท ประมาณ 70-80 ถ้าผมจำไม่ผิด ประมาณ 70 หรือ 80 กว่าบริษัท ที่ครองสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกของประเทศไทย
ถามว่า SMEs เป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นครับ แต่เราคิดว่าเราสามารถทำให้ SMEs สามารถได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจมหภาคที่เจริญเติบโตได้มากกว่านี้ นั่นก็คือเราจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้ SMEs สามารถที่จะเกาะเกี่ยวประโยชน์และโอกาส สร้างโอกาสให้กับ SMEs สามารถได้รับผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ที่ลงไปข้างล่างทั้งหมด จะเห็นว่านโยบายของรัฐวันนี้ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับ SMEs ผมเชื่อว่ามากกว่าที่เคยมีในอดีต ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา เพียงแต่พวกเราวันนี้จะต้องเปลี่ยน
ผมได้มีโอกาสกับคุยกับ SMEs หลายๆ ท่าน และล่าสุดที่ไปมาที่เชียงใหม่ เป็นเจ้าของธุรกิจชา เด็กท่านหนึ่ง จบการศึกษาสูง เรียกว่าเป็นเลขาฯ ของกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทยักษ์ใหญ่ 1 ใน 2 ของประเทศไทย แต่ลาออกมาเพื่อทำธุรกิจที่้บ้าน ผมชอบคำพูดๆ หนึ่งบอกว่า มันเป็นเรื่องปกติ วันนี้โลกเปลี่ยน โรงงานชา หรือที่เตี่ยเขาทำไว้ วันนี้คนไม่ค่อยกินชา เขาก็สงสัยว่าคนที่เคยซื้อเขา แล้วไม่ซื้อ เขาก็เดินมาพบลูกค้าที่เยาวราช เขาก็เหมือนกัน อั๊วยังซื้อลื้อเหมือนเดิม แต่คนมันกินน้อยลง คนแก่ก็เริ่มน้อยลง และคนแก่รุ่นใหม่ไม่ค่อยดื่มชา ดื่มชาอีกแบบหนึ่ง ไม่เหมือนชาจีนสมัยก่อน สิ่งที่เขาบอกผมอย่างหนึ่งคือ เขายังมั่นใจว่าชาขายได้ แต่ต้องเปลี่ยนวิธีมอง เขาบอกต้องเริ่มต้นเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยน minds ให้ได้ แล้วเราก็จะเริ่มเห็นอย่างอื่น แล้ววันนี้ยอดขายของแกเยอะมาก ทำไม่ทัน ผมกำลังเขียนบทความอันใหม่ให้แกอยู่เหมือนกัน ปกติผมเขียนบทความอาทิตย์ละอัน จะเขียนว่า ชา ... มองชา ที่ไม่ใช่ชา แล้วเราก็จะเห็นโอกาสใหม่ แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจำของแกได้ ถ้า SMEs เราไม่เปลี่ยน mind set ในการมองตลาด หรือทุกเรื่องแล้ว เราก็จะได้ของเดิมๆ ออกมา หรือไม่แตกต่างจากเดิม ผมว่ามันเป็นวิธีคิดที่ดี โลกเปลี่ยน วันนี้เราก็ต้องเปลี่ยน อย่างไรบ้าง ผมไม่รู้นะอนาคตจะเป็นอย่างไร เทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร แต่ผมเชื่อว่าอย่างหนึ่งที่เราทำได้ เราไม่สามารถกำหนดอนาคตว่า อนาคตจะต้องเหมือนแก้ว อนาคตออกมารูปร่างเหมือนขวดน้ำ ไม่ใช่ แต่สิ่งที่เราทำได้ คือทำตัวเหมือนน้ำ อนาคตจะเป็นแก้ว ผมต้องอยู่ในแก้วและเป็นรูปร่างแก้วให้ได้ อนาคตเป็นขวด ผมต้องเป็นน้ำที่อยู่ในขวดและเป็นรูปร่างขวดให้ได้ ผมไม่รู้จะเรียกว่าอะไรดีนะครับ ไม่ใช่กะล่อนนะ แต่ flexible อ่อนไหว และเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากมันให้ได้ จากอนาคตที่เกิดขึ้น ก็คือการเตรียมตัวเราเอง
เทคโนโลยีใหม่ๆ มา เราจะใช้ประโยชน์อย่างไร วันนี้เรารู้แน่ๆ ดิจิตอลมาแน่ เราจะใช้ประโยชน์อย่างไร หลายท่านมาวันนี้ กำลังจะรอฟังว่า expert ที่เชี่ยวชาญทางด้านดิจิตอล ทางด้าน e-Commerce ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากธุรกิจเหล่านั้นอย่างไรบ้าง แต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดขายใหม่นะ เปลี่ยนวิธีคิดใหม่ แม้กระทั่งตัว product ของเราด้วย ว่าจะเป็นอย่างไร อย่าไปคิดขายเหมือนเดิม product นี้ออกแบบมาประมาณนี้ เราอาจจะต้อง วันนี้ลูกค้าของเรานั้นอาจจะเป็นลูกค้าที่เยอะมากทีเดียว เจาะตลาดไหน ผมเชื่อว่า Service Provider ก็จะช่วยท่าน
ผมได้มีโอกาสคุยกับ Service Provider ที่เป็นเจ้าของ e-Commerce หลายๆ แห่ง ก็มาคุยกัน ที่พร้อมที่จะลงไปพัฒนา product ร่วมกับท่านหลายๆ แห่ง เพราะเขารู้ข้อมูล แต่สำหรับพวกเรา เราต้องรู้ข้อมูลเหล่านั้นด้วย อย่าคิดว่านั่นคือ e-Market คือสถานที่วางสินค้าจำหน่าย แต่มันคือสถานที่ที่เราจะต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดทั้งหมดให้ได้ ไม่อย่างนั้นเราจะใช้ประโยชน์จาก e-Commerce ไม่คุ้มค่า
วันนี้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ท่านกอบชัย ก็มีโครงการที่จะพัฒนาปีนี้ประมาณ 1-2 พันคน เกี่ยวกับเรื่องการให้คำอบรม การอบรมเรื่องของ e-Commerce ทั้งหมด เรากำลังทำงานร่วมกับ Service Provider ของ e-Commerce หลายๆ ราย ที่มานั่งคุยกันว่าจะคัดเลือกผลิตภัณฑ์ไหนขึ้นไปได้ และเราจะช่วยแต่งตัว ขัดเกลาอย่างไรให้เหมาะสมกับตลาดที่ท่านจะขึ้นไปในแต่ละตลาด target group ของท่านจะเป็นอย่างไรบ้าง
ในส่วนของการบริการของภาครัฐนั้น เราจะใช้ประโยชน์ของดิจิตอลอย่างเต็มที่ในการดูแล SMEs วันนี้เราทำงานร่วมกันกับหน่วยงานทั้งหมดสิบกว่าเครือข่าย เราใช้ระบบดิจิตอลส่งต่อความต้องการของ SMEs เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน สมมุติวันนี้ท่านเดินเข้าไปที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ไปขอคำปรึกษา หรือขอข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับอะไรก็แล้วแต่ โครงการอะไรสักอย่างหนึ่งของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สมมุติว่าแม่ฮ่องสอน เขาก็จะส่งคำขอนั้น หรือท่านสามารถนั่งคุยกันผ่านระบบเว็บแคมทันที กับศูนย์ภาคที่เป็นเจ้าของเรื่อง ท่านต้องการออกแบบผลิตภัณฑ์ ท่านก็มาเล่าไอเดียให้ฟัง ถ้าฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่ทราบว่าจะต้องให้คำปรึกษาท่านขนาดไหน เขาก็จะดูที่ปรึกษาในบริเวณนั้น ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับเรา ถ้าไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ เขาจะติดต่อและท่านคุยกันผ่านเว็บแคม คุยกับศูนย์ภาคที่ดูแล ศูนย์ภาคนั้นก็จะมีศูนย์ภาค 2 กับศูนย์ภาค 7 ที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบ packaging ให้ท่าน หรือผลิตภัณฑ์ ให้ท่าน เขาก็จะวาดแล้วให้ท่านดูเลย แล้วเมื่อวาดหรือออกแบบให้เสร็จ เขาก็จะส่งเข้ามาผ่านในระบบดิจิตอล เข้ามาที่เครื่องของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน วันนี้กำลังคิดว่าในสิ้นเดือนนี้ หรือมีนาคมนี้ น่าจะเสร็จ เพราะได้งบมาใหม่ จะทำให้ทุกแห่งมี 3D printer ซึ่งปรินท์ prototype ให้ท่านได้เห็นทันที ณ ที่ท่านมา
นี่คือทั้งหมดที่เราพยายามทำในระบบของการเชื่อมโยงการให้บริการผ่านระบบดิจิตอลทั้งหมดที่เราใช้ประโยชน์ในเรื่องของการบริการ เราใช้ดิจิตอลในเรื่องของการบริการให้แก่ SMEs เราให้ความรู้ในเรื่องของดิจิตอล ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการใช้ประโยชน์จากระบบดิจิตอล อีโคโนมี ให้กับผู้ประกอบการเข้าถึงระบบให้ได้ เราสร้าง infra structure เกี่ยวกับทางด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลทั้งหมดในภาคใหญ่ของรัฐบาล ในการที่จะทำให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากมันเต็มที่ แต่เรากำลังพยายามพัฒนาให้ท่านมีศักยภาพพอที่จะสามารถได้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่วางไว้อย่างเต็มที่ มันเป็นแนวคิดอันหนึ่งที่เราบอกว่าเราจะแข็งแกร่งจากภายในให้ได้ นั่นก็คือหมายถึงว่าทุกภาคของประเทศนั้นจะสามารถเชื่อมโยง เข้าถึงระบบเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศได้มากขึ้น และเราก็พยายามจะปรับปรุง infra structure อันหนึ่ง ก็คือเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ที่ทำให้ service provider ของเรา หรือผู้ให้บริการทางด้านดิจิตอลนั้นมีความรู้ความสามารถ หรือสร้างทางด้าน Digital Service Provider อื่นๆ เช่นพวกโปรแกรมเมอร์อะไรต่างๆ ขึ้นมา
ล่าสุด ที่เราคุยกันก็คือเรื่องของ Digital Content ซึ่งวันนี้คนไทยเก่งมาก หนังล่าสุดเรื่อง ๙ ศาสตรา เป็นหนังที่ดีมากๆ นั่นฝีมือคนไทยนะครับ จาก Digital Content สมาคมของ Digital Content ทำขึ้นมา ผมคิดว่าฝีมือคนไทย เด็กไทยพร้อมเรื่องศักยภาพ เพียงแต่ว่าวันนี้หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงดีอี รับผิดชอบโดยตรงเรื่อง infra stucture ทั้งหมด รัฐบาลได้วางเครือข่ายของการใช้ประโยชน์จากดิจิตอลครอบคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศไทย ในส่วนของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานต่างๆ ก็จะสร้างศักยภาพของท่านให้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเหล่านั้นได้อย่างไร
ทางสื่อก็เหมือนกันครับ ทางเครือผู้จัดการก็จัดวันนี้ขึ้นมาเพื่อให้ท่านได้รับทราบว่ายังมีโอกาสอีกเยอะสำหรับ SMEs ที่จะเดินเข้ามาสู่หรือใช้ประโยชน์ของดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นของบริการภาครัฐที่วางไว้ หรือแม้กระทั่งของเดิมที่มีอยู่ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก และเราจะทำงานกับภาคเอกชนที่จะช่วยให้มีความพร้อมในหลายๆ เรื่องที่สามารถทำให้ท่านเข้าถึงได้
ผมก็คงไม่ต้องบอกว่าวันนี้ดิจิตอลมันถูกใช้เข้ามาในระบบเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ท่านสามารถสั่งซื้ออาหารร้านดังโดยไม่ต้องออกจากบ้านเลย ท่านเห็นโฆษณาเรียบร้อย วันนี้อาหารดี อาหารดัง มีที่ไหน เขาส่งโฆษณาถึงในมือท่าน ท่านสั่งซื้อได้เลย และผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งเมื่อท่านหยิบไข่ไก่ออกจากตู้เย็น คนผลิตไข่ไก่จะรู้ทันทีเลยว่า นาย ก. กำลังบริโภคไข่ไก่วันนี้ 1 ฟอง คนที่อยู่เป็น service ผู้บริการ ตลอด supply chain จะรู้ทันทีว่า จะต้องเตรียมตัวส่งไข่ให้คนนี้เมื่อไร อย่างไร
นั่นหมายถึงดิจิตอลจะอยู่ในระบบทั้งหมด เริ่มต้นตั้งแต่ตู้เย็นของท่าน ผมคิดว่าเขาคงไม่ถึงกับต้องติดที่ปากเรานะ ว่าวันนี้เรากินอะไร แต่ผมเชื่อว่าเรา วันนี้ อยู่ในระบบของดิจิตอล อีโคโนมี 100 เปอร์เซ็นต์ และรัฐบาลตระหนักเรื่องนี้ดี และวางโครงสร้างพื้นฐาน และให้นโยบายแก่หน่วยงานของภาครัฐทุกหน่วยในการที่จะทำให้พวกเรามีความแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ SMEs นั้น ได้ใช้ประโยชน์ ได้ใช้ศักยภาพของพวกเราเต็มที่ในเรื่องของดิจิตอล และให้ประโยชน์กับเราเต็มที่ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเรา ส่วน Back up Office นั้น ผมไม่ต้องพูดถึงนะครับ ว่าพวกเราเตรียมความพร้อม ไม่ว่าเรื่องข่าวอย่างไรบ้าง วันนี้มี Government Digital ของเราค่อนข้างครบ การให้บริการต่างๆ ถ้าใกล้ๆ ตัว หน่วยงานวันนี้ของเราก็สามารถที่จะอนุมัติในเรื่องของการเก็บ ขนย้ายอะไรต่างๆ ที่เป็นกากอุตสาหกรรมภายใน 3 นาที ได้ทันที
ระบบ One stop service จะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาดถ้าไม่มีระบบดิจิตอล เราอยู่ในโลกของดิจิตอล รัฐบาลเตรียมความพร้อมให้ท่านถึงที่ ภาคเอกชน หน่วยงานของภาครัฐทุกหน่วยงาน แม้กระทั่งสื่อ ก็พร้อมที่จะให้ท่านสามารถเข้าถึง ให้ท่านมีความรู้ความสามารถ ให้ท่านมีความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ท่านใช้ศักยภาพของท่านเต็มที่ในการเข้าสู่ตลาด ในการให้ท่านสามารถดำเนินธุรกิจได้ดังที่ท่านต้องการ
วันนี้ อีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณทางเครือผู้จัดการ ที่ได้ให้โอกาสกับทางผม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดิจิตอลทั้งหมด มาพูดคุยกับ SMEs และให้ SMEs มีความเข้าใจว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากดิจิตอลอย่างไรบ้าง ขอบคุณมากครับ
คำต่อคำ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม บรรยายเรื่อง “กลไกประชารัฐ 9 มาตรการสำคัญ Transform for SMEs 4.0”
ขอกราบเรียนท่านผู้บริหาร บริษัทในเครือผู้จัดการ ท่านวิทยากร แขกผู้มีเกียรติ เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมสัมมนา และสื่อมวลชนที่เคารพรักทุกท่านนะครับ ก่อนอื่นที่จะเข้าถึงกลไกประชารัฐ 9 มาตรการสำคัญที่ทางรัฐบาลได้นำเข้าสู่ ครม. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 มี 9 มาตรการสำคัญที่เป็นกลยุทธ์ในการสนับสนุนเอสเอ็มอีของไทย และมีเรื่องกองทุนเกี่ยวกับเรื่องสินเชื่อให้เอสเอ็มอี 3-4 กองทุน ที่ผมจะกล่าวต่อไป
ขอนำเรียนว่า ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการ shift ให้เอสเอ็มอีไทยขึ้น 4.0 นั้น จริงๆ รัฐประกาศตั้งแต่ปลายปี 2559 และหน่วยงานหลักที่สำคัญคือ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้บูรณาการได้พูดคุยกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สสว. สถาบันการเงินต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ดีอี กระทรวงพาณิชย์ ได้มองถึงการขับเคลื่อนเอสเอ็มอียุค 4.0 เราบูรณาการแล้วมองว่า จะมีเครื่องมือ 4 ตัว และ 1 กลยุทธ์ ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน ผลักดันให้กับเอสเอ็มอี 4.0 ผมขอกล่าวสั้นๆ ง่ายๆ ว่า ใน 4 เครื่องมือ กับ 1 กลยุทธ์ หรือ 4 tool 1 strategy จะมีตัวสำคัญที่ทุกท่านทราบอยู่แล้ว ไม่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวไปแล้ว คือเรื่อง ไอที
ต้องขอนำเรียนว่า เรื่องไอที มีบทบาทสำคัญมากในการผลักดัน ผมขอแบ่งภาคธุรกิจของประเทศไทยเป็น 3 ส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ภาคตั้งแต่ซัพพลายวัตถุดิบ จนถึงภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของเกษตรกร ต้นน้ำ ต้องขอบอกว่า ส่วนสำคัญที่จะมีไอทีมาขับเคลื่อน จริงๆ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำมาช้านานแล้ว ในเรื่องของโปรแกรมสต็อก เมเนจเมนท์ ซอฟต์แวร์ตัวนี้นำมาช่วยเหลือเรื่องแวร์เฮาส์ เฟิร์สอินเฟิร์สเอาท์วัตถุดิบ ต้องไม่สูญเสียในคลังสินค้า พอเป็น product เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าแล้ว ผลิตออกมาแล้วต้องมีการลำดับการจัดส่ง ถ้าไม่มีบาร์โค้ด เราช่วยส่งเสริมในการทำบาร์โค้ดให้ในการที่จะควบคุมคลังสินค้าของเรา
กลางน้ำ ที่จะขอกล่าวถึงภาคการผลิต จริงๆ เราต้องการสร้าง Productivity ให้ภาคการผลิตมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ลดการสูญเสียลง จริงๆ เขามีโปรแกรมอีอาร์พีเข้าไปช่วย กรมส่งเสริมเขาทำมาประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว ในการนำซอฟต์แวร์นี้ ผมเข้าใจว่าค่ายไอที บริษัทภาคเอกชนใหญ่ๆ ได้ใช้ตัวนี้มาช่วย
ส่วนของปลายน้ำ เรื่องการตลาด จริงๆ เรามีพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนหลายแห่งในการช่วยกัน ในการทำ e-Marketplace, e-marketing และ e commerce อันนี้ เป็นมิติใหม่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมทำ MOU กับลาซาด้า ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่า เป็นบริษัทลูกของ อาลีบาบา ได้ทำ MOU กับ HKTDC ของฮ่องกง เราได้ดู e-commerce ของไทยที่เป็นเลเยอร์แรก ตึกแรกที่ทำให้กับเอสเอ็มอีไทย โอท็อปไทย ที่ยังไม่เคยเข้าระบบไอทีเลยได้ใช้กัน
เครื่องมือตัวที่ 2 ที่อยากขอพูดถึงคือ พูดต่อเรื่องในเรื่องของโรโบติกส์ กับออโตเมชั่น จริงๆ มีนัยสำคัญมากที่อยากนำเรียนว่า มีส่วนของเรื่องแรงงานเกี่ยวข้อง ก็คือ ปัจจุบันเราห่วงใยมากว่า อนาคต เรากลัวแรงงานเราจะตกงาน เรากลัวแรงงานเราจะขาด ปัจจุบันพวกท่านอาจไม่ทราบว่า แรงงานไทยในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นแรงงานต่างด้าว ซะประมาณ 20-30% เรื่องการเจริญเติบโตเศรษฐกิจโลก เรา forcast หรือพยากรณ์ว่า อีก 4-5 ปีข้างหน้า แรงงานต่างด้าวที่อยู่ประเทศไทยต้องคืนสู่ประเทศเขา ประเทศเขาเจริญเติบโตขึ้นแน่นอน ผมมองว่า แรงงานพม่าที่อยู่สมุทรสาคร ที่ระนองเยอะๆ นี่ ผมว่าครึ่งหนึ่ง ต้องกลับประเทศอีก 5 ปี ข้างหน้า ตรงนี้ เครื่องมือตัวนี้คือ โรโบติกส์ ออโตเมชั่น จะเข้ามา ช่วยลดแรงงาน
ต้องขอเรียนว่า เรื่องหุ่นยนต์ แขนยนต์ เรามีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเรื่องความสูญเสีย ผมยกตัวอย่างสัปดาห์ที่แล้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปที่ลำปาง ดูอุตสาหกรรมเซรามิก ผมได้เรียนเชิญท่านขึ้นไปเปิดศูนย์ปฏิรูป เราก็มีเรื่องโรโบติกส์เข้าไปเสริมที่นั่นในเรื่องของ Process ที่ต้องใช้แรงคน ที่ต้องใส่ถุงมือ หยิบผลิตภัณฑ์ หยิบวัตถุดิบเข้าไปในส่วนที่ร้อน ส่วนที่ล่อแหลมต่อการเกิดอุบัติเหตุ อนาคตลักษณะเช่นนี้ ทุกกระบวนการผลิตเราจะใช้หุ่นยนต์กับออโตเมชั่นเข้ามาเสริม เพื่อลดความสูญเสีย
อันนี้เช่นกัน เมื่อเดือนกันยายน 11-13 กันยายน 2560 รัฐมนตรีว่าการเศรษฐกิจการค้าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น มิสเตอร์เซโกะ ได้นำภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมา 570 โรง ได้เข้ามาประชุมหารือและเยี่ยมพื้นที่ อีอีซี และตรงนี้ เป็นจุดเริ่มของการทำ MOU ที่เข้ามาช่วยเหลือเรื่องโรโบติกส์ รัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับกระทรวง METI ผ่าน JETRO ผ่านภาคเอกชน และผ่านมาถึง บริษัท เด็นโซ่ บริษัท เด็นโซ่ ได้นำหุ่นยนต์มาตั้งที่ซอยกล้วยน้ำไท ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตั้งแล้ว 4 เครื่อง กำลังเชื่อมต่อออโตเมชั่น และตรงนี้จะเป็น Robotics School อยู่ในศูนย์อุตสาหกรรมกรุงเทพฯ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไอทีซีที่กล้วยน้ำไท ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นความร่วมมือของ 3 กระทรวง ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวแล้วคือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงดีอี และกระทรวงอุตสาหกรรม ตรงนี้จะเป็น Robotics School ที่ให้เอสเอ็มอี ที่มีความประสงค์จะทรานส์ฟอร์ม เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของตัวเอง ของเด็นโซ่ เรียก แอดออโตเมชั่น ในการเข้าไปเสริมในการทดแทนคน ลดความเสี่ยง ตรงนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ ต้องนำเรียนว่า ปี 2 ปี แรก เราให้เรียนรู้ฟรี เพื่อให้เอสเอ็มอีที่มองว่าจะต้องลงทุนเพิ่ม เข้ามาเรียนรู้ก่อนว่า คุ้มกับการลงทุนเพิ่มไหม อันนี้คือนโยบายของรัฐบาล ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่รับต่อมาปฏิบัติ
เครื่องมือตัวที่ 4 คือ อินโนเวชั่น (Innovation) หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าตอนนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเขารับมอบหมายให้สร้าง IDC - Industrial Design Center ที่ซอยนิมิตรกล้วยน้ำไท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตั้งที่นั่น และเรารวบรวมจุดนี้เป็นจุดที่รวบรวมนักออกแบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการร่วมกัน เราหวังว่า เรื่องInnovation เรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ ของงานที่จะเกิดขึ้น ช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ต้องการสร้าง Differentiate สร้าง Product ใหม่ๆ เรานำ MOU กับสถาบันการวิจัยต่างๆ ที่เก็บอยู่ในยิ่งในลิ้นชักต่างๆ มาขยายผลเชิงเศรษฐกิจ เชิงตลาด เชิงอุตสาหกรรม อย่างที่ท่านรัฐมนตรีกล่าวถึง จั๊บจั๊บ ทำก๋วยจั๊บเวียดนามที่อุบลฯ ไปซื้องานวิจัยพัฒนาจาก สวทช. ออกมา และตอนนี้มาแปรรูป ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด ตอนนี้สามารถผลิตได้ 50,000 ชิ้น 50,000 กระป๋อง จั๊บจั๊บเวียดนาม จากที่เป็น Startup ผลิตออกมาได้ 50,000 ชิ้นต่อเดือน มีมูลค่าการซื้อขายต่อเดือนล้านกว่า จากการนำงานมาขยายผลการตลาด อันนี้เป็น Tool ตัวหนึ่งที่กระทรวงอุตสาหกรรม มองว่า รัฐบาลให้ความสำคัญมาก รวมเป็น 4 Tool ที่จะ shift ขึ้นไป
นอกจาก 4 Tool ที่ผมกล่าวข้างต้นแล้ว เรายังมีเรื่องของ Strategic ก็คือเรื่องของคลัสเตอร์ (Cluster) เรามองว่า ทุกท่านที่อยู่ตามลำพังไม่ได้ และใช้กลยุทธ์เรื่องที่กรมส่งเสริมทำมาช้านาน จริงๆ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้สร้างคลัสเตอร์ ให้กับภาคอุตสาหกรรม ตามมิติต่างๆ มากกว่า 80 คลัสเตอร์ (Cluster) เซรามิกลำปางก็เป็น 1 ใน คลัสเตอร์ (Cluster) พวกสิ่งทอ พวกจิลเวอรี่ที่เราสร้างขึ้นมาจนเจริญเติบโต เป็นชมรม เป็นสมาคม เขาเป็นกลุ่มก้อนของสภาอุตสาหกรรมหอการค้า หลายกลุ่มก้อนที่เจริญเติบโตไป
คลัสเตอร์ (Cluster) หมายความว่า นอกจาก 4 Tool แล้วท่านยังอยู่ตามลำพังไม่ได้ ท่านต้องมีเครือข่าย ต้องร่วมกัน แชร์โลว์เรต แชร์มาร์เก็ตติ้ง แชร์ทุกเรื่อง ผมยกตัวอย่างเรื่อง คลัสเตอร์ (Cluster)ที่เป็นประโยชน์มากคือ บางหน่วยงาน บางองค์กร ร่วมกันซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่า ถ้าซื้อตามลำพังบริษัทเดียว อาจซื้อเครื่อง 1 ล้านบาท แต่ถ้ารวมกันซื้ออาจเหลือต่อเครื่องแค่ 7-8 แสน ซึ่งัมนก็เซฟคอสต์ ทำให้ยูนิตคอสต์ลดลง อันนี้้ต้องขอนำเรียนว่า ทั้งหมดนี้คือการบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยภาครัฐ ภาคเอกชน ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน เอสเอ็มอี สู่ 4.0
ผมขอกล่าวถึง 9 มาตรการที่ผ่านมติ ครม.ออกมาเมื่อ 19 ธันวาคม 2560
มาตรการที่ 1 เป็นมาตรการที่ทุกคนอาจมองข้ามไปคือ เรื่อง local economy หรือการยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน ตรงนี้จะมีโครงการรองรับ 2 โครงการคือ หมู่บ้านซีไอวี คือ Creative industry village จะบูรณาการร่วมกันหลายหน่วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาชุมชนของกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานหลักที่จะขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจให้กับชุมชน พื้นที่ชนบท และให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ในการที่จะพัฒนาภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในชนบท กระทรวงอุตสาหกรรมมีบทบาทในการสร้าง Product จริงๆ โครงการซีไอวี ซึ่งเป็นโครงการตามมาตรการที่ 1 จะมีเรื่องของ Product ที่จะเข้าไปพัฒนา หลายๆ ท่านอาจไม่รู้ว่า Product ในพื้นที่ชุมชน จะมี Product ที่เกิดจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือโอท็อป ทำขึ้นมา จำเป็นที่กระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต้องสร้างให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการจูงใจซื้อสินค้าชุมชนเหล่านี้
โครงการซีไอวี เป็นโครงการที่ เป็นการมัดรวมหลายหน่วยที่จะร่วมกันพัฒนาจริงๆ มีการคัดเลือกชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ 300 ชุมชน โครงการใหม่ รัฐบาลที่คิดคือ ไทยนิยมยั่งยืน ก็มาผูกมัด เชื่อมโยงกับโครการซีไอวี เช่นกัน
โครงการที่ 2 เป็นโครงการที่รองรับมาตรการยกระดับเศรษฐกิจฐานชุมชน คือ โครงการเรื่องของ เอสเอ็มอี เกษตร เรามีการ MOU ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรา MOU 3 ปาร์ตี้ ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพ นำเทคโนโลยีใหม่เข้าไป นำ Tool ต่างๆ ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ให้เกษตรกร จะแนะนำเกษตรกรให้ขายสินค้าในรูปผลิตภัณฑ์ value added
ขอนำเรียนนิดนึงในรอบ 3-4 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ผมกับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมลงพื้นที่ ได้เห็นผลิตภัณฑ์จากภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นมังคุดที่จันทบุรี สัปปะรดที่อุตรดิตถ์ มะนาวที่เพชรบุรี มะนาวที่ลำปาง ฤดูกาลผลิตออกมา มะนาวที่มีคุณภาพลูกโตพอ พ่อค้าคนกลางจะมาซื้อในส่วนที่คัดและมีคุณภาพ ได้ขนาดตามต้องการ ส่วนที่ตกเกรด เล็กกว่าขนาด หรือไม่เป็นความต้องการตลาด ตายคาต้น เหลือทิ้ง ผมยกตัวอย่างมะนาวที่ลำปาง ที่บ้านทุ่งผึ้ง ซึ่งเพิ่งไปมาเมื่อสัปดาห์ก่อน 1 ปี ผลิตมาซัก 5,000 ตัน พบว่าขายสู่ตลาดสดๆ ได้แค่ 2,000 ตัน อีก 3,000 ยังหาแปรรูปไม่ได้ เดี๋ยวผมจะพูดต่อไปว่า เราได้จับมือกับบิ๊กบราเทอร์ ต้องขอเอ่ยถึงบริษัทเลย ไทยเบฟ เข้ามาอุ้ม เข้ามาซื้อมะนาวทีจะแปรรูปที่ลำปาง และเพชรบุรี อันนี้เป็นโครงการที่เห็นชัดว่า ต่อไป เราต้องใช้การตลาดนำการผลิต เราต้องลงไปให้ความรู้ โซนนิ่งเกษตรกรว่า ต่อไปนี้ จริงๆ เป็นหน้าที่ของต้นน้ำที่ต้องวางแผนโซนนิ่งผลิตออกมาให้เป็นตามต้องการตลาด กลางน้ำจะชี้นำว่าเป็นอย่างนี้ และปลายน้ำ ตลาด กระทรวงพาณิชย์ต้องดูว่าโอเคนะ ตลาดจะเป็นลักษณะเช่นนี้ การเชื่อมโยงต่างๆ 9 มาตรการ จะบอกมา
มาตรการที่ 2 จะบอกท่านคือเรื่องของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จริงๆ ที่เราสร้าง คือเจตนาที่จะขยายผลสู่การปฏิรูปไปทุกแห่ง รวมทั้งเครือข่าย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับมอบนโยบายมาจากรัฐบาล เรามีศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 11 ศูนย์ รวมทั้งศูนย์เซรามิกด้วย เป็น 12 ศูนย์ ศูนย์ที่เริ่มแห่งแรกอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ซอยนิมิตรกล้วยน้ำไทย ได้เปิดตัวประมาณ 3-4 เดือน ที่นั่นมีเครื่องมือที่ สวทช. ซื้อมาลงให้ เป็นเครื่องมือใช้ฟรีสำหรับ Start Up ใหม่ๆ เป็น incubator ที่จะให้ผู้ประกอบการมาลองทำ prototype เครื่องมือที่กล้วยน้ำไทอยากเรียนเชิญทุกท่านให้มีโอกาสเยี่ยมชม และจากจุดนี้เองจะขยายผลไปสู่ศูนย์ส่งเสริมอุตสหกรรมทั้งประเทศ 11 แห่ง และศูนย์เซรามิกที่ลำปางด้วย เป็น 12 แห่ง เราจับมือกับสถาบันอาหาร และเครือข่ายในกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย เพราะฉะนั้น การสร้างศูนย์อุตสาหกรรมปฏิรูปด้านอาหาร จับมือกับการนิคมแห่งประเทศไทยในการสร้างศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมในเขตการนิคมอุตสาหกรรมตามภูมิภาคต่างๆ
ตรงนี้เจตนารมณ์เพื่อให้ Start Up ใหม่ๆ ได้ลองใช้เครื่องมือโดยไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องมือก่อน ท่านดูแล้ว ท่านนำไปใช้แล้ว ลองใช้แล้ว ได้เกิดมรรคเกิดผล ได้ตลาดตามต้องการแล้วค่อยซื้อเครื่อง อันนี้คือเจตนารมณ์ของรัฐบาล เจตนารมณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ผมยกตัวอย่างเห็นชัดที่สุดคือ นักศึกษาจบใหม่ 2-3 ท่าน ที่แม่โจ้เชียงใหม่ ได้รับออร์เดอร์กาแฟ ที่ต้องส่งมากรุงเทพมหานคร เดือนละ 2-3 ร้อยกิโลเท่านั้นเอง แต่เขายังมองว่าเขามีกำไร มีรายได้เดือนละหลักแสนกว่า เขาไม่รู้จะลงทุนยังไง อันนี้คือ Start Up ที่เชียงใหม่ ไปรับซื้อกาแฟเม็ด กระเทาะเปลือก บด เครื่องลักษณะนี้มีที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 1 เชียงใหม่ ให้ start up ได้ลองใช้ และเรายังแนะนำบรรจุภัณฑ์ต่อ ดีไซน์บรรจุภัณฑ์ให้ ครบวงจร และอนาคตเรายังมองเรื่องตลาดต่อให้ คือโครงการของเราที่อยากให้เอสเอ็มอีโตอย่างเป็นระบบ
มาตรการที่ 3 ที่รัฐบาลออกเมื่อ 19 ธันวาคม ตามมติ ครม.คือเรื่องของ SME Support & Rescue Center หรือ SSRC ได้เปิดโครงการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากหน่วยร่วมต่างๆ ในการที่จะเป็น front desk รับเรื่องราว สนับสนุน และช่วยเหลือเอสเอ็มอี 270 หน่วย จาก 5 หน่วยงานหลัก ไม่ว่าจะเป็น กระทรวงอุตสาหกรรม 2 หน่วยงานหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมคือ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ สสว.สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้ ONS ของตัวเองเข้ามาช่วย ในการที่จะให้บริการ มีเอสเอ็มอีแบงก์ 90 กว่าแห่ง มีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5 หน่วยงานหลักนี้ ช่วยกันเป็น front desk รับเรื่องร้องทุกข์ รับเรื่องที่จะซัพพอร์ต ตามที่รัฐมนตรีได้กล่าว เราใช้โปรแกรม อี-คอนซัลท์ (E-Consult) ใช้ IP ในการที่จะมาเป็นโปรแกรมใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยเหลือ อย่างที่ท่านยกตัวอย่างว่า อย่างที่มีคนมาขอความช่วยเหลือที่แม่ฮ่องสอน เราใช้ดิจิทัลในการคอนซัลท์เลย ถ้าสามารถจบได้ภายในชั่วโมงเดียว จบเลย จบไม่ได้จะมีกระบวนการต่อเนื่องถึงที่ปรึกษา ที่เราจะอบรมให้ความช่วยเหลือ SSRC จะสอดคล้องกับศูนย์ไอทีซีที่กล่าวไปข้างต้นว่า ถ้าเกิดจำเป็นต้องใช้เครื่องมือรับเรื่องราวในการสนับสนุน จะส่งต่อให้ไอทีซี เช่นกัน
มาตรการที่ 4 ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเป็นอันดับต้นๆ คือ สร้างฐานข้อมูลเอสเอ็มอี หรือ SME Big Data ตรงนี้ท่านรัฐมนตรีกล่าวไปแล้วเช่นกันว่า เราทำเอสเอ็มอีวัน เราทำ sme data ที่จะรองรับฐานข้อมูลเอสเอ็มอีต่างๆ แต่ท่านอาจไม่รู้ว่า เอสเอ็มอีประเทศไทย มี 3-4 ล้านราย จดทะเบียน 700,000 ยังคาดว่า เอสเอ็มอีจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เข้าสู่การรับการช่วยเหลือต่างๆ ตามนโยบายรัฐบาล ตามมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ตรงนี้ เอสเอ็มอี เราคาดหวังว่าจะมาขึ้นทะเบียนให้เต็มตามจำนวน เราจะได้วางแผนช่วยเหลือต่อไปได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สสว. เอสเอ็มอีแบงก์ สมาคมธนาคารไทยและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรการที่ 5 เรื่องของ Train the Coach หรือการสร้างและพัฒนาที่ปรึกษาด้านเอสเอ็มอี ปีนี้เราตั้งเป้า สร้าง Coach สร้าง Service Provider ประมาณ 2,000 ราย เข้าช่วยด้านต่างๆ เบื้องต้นเราเน้น 10 S-Curve และอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมแฟชั่น ด้านเสื้อผ้า ด้านแต่งกาย ด้านเครื่องหนังรองเท้า จิลเวอรี่ เครื่องประดับ ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านอาหาร ตรงนี้ต้องเรียนว่าอยู่ใน แพลตฟอร์ม กระบวนการที่เวลาขอความช่วยเหลือผ่าน SSRC มาแล้ว สุดท้ายต้องใช้ Coach ใช้ Service Provider ที่เก่งๆ ก็จะขึ้นบัญชีไว้กับเรา 2,000 ราย เข้าไปช่วยเหลือ ถ้าให้ความช่วยเหลือด้านไอทีต่อเนื่อง จบได้ในวันสองวันก็จบ ถ้าไม่ได้ต้องลงไป Coaching เราก็จะมีสายที่ให้คำแนะนำลึกๆ ใน 3 Man-Day
มาตรการที่ 6 เป็นเรื่อง บิ๊ก บราเธอร์ (Big Brother) จริงๆ หลายท่านอาจไม่รู้ว่าโครงการนี้ เป็นโครงการที่เราล้อโครงการตามมาตรการที่ญี่ปุ่น ตามมาตรการของเยอรมัน ในการเชิญ บิ๊ก บราเธอร์ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเหลือ Supply Chain ช่วยเหลือ Connect Industry ตอนนี้ที่ตกลงเข้ามาให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ เราได้เชิญผ่านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เราเชิญได้ 50 กว่าราย และล่าสุด ท่านรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ ได้ให้นโยบายที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชิญ บิ๊ก บราเธอร์ในภูมิภาคเข้ามาร่วมด้วยอีก 263 บริษัท ตอนนี้เรามีบิ๊ก บราเธอร์ ประมาณ 300 บริษัท ที่จะเข้าช่วยเหลือด้านต่างๆ ด้านที่จะช่วยเหลือเช่น ซีไอวี มีบิ๊ก บราเธอร์ บางราย ช่วยเหลือทั้งหมู่บ้านเลย ให้งบประมาณลงไป ในการช่วยเหลือให้ความเจริญเติบโตของ Creative industry village ทั้งคน ด้าน Process ด้าน Product ในชุมชน มีการจับมือนักท่องเที่ยวให้เป็นจุดเช็คอิน จุดที่ทัวร์ต้องนำเข้าไป อันนี้เรียก บิ๊ก บราเธอร์ ฟอร์ ซีไอวี
อีกด้านคือ บิ๊ก บราเธอร์ ฟอร์ ไอทีซี ขอนำเรียนว่า ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือไอซีที ที่เราจะสร้างขึ้นมาและหลายศูนย์ทั่วประเทศ เราไม่ได้ใช้งบประมาณไปซื้อเครื่องจักรมาลองใช้ เราอาศัย บิ๊ก บราเธอร์ บางแห่งให้เครื่องจักรฟรี เราไปขอร้อง บิ๊ก บราเธอร์บางแห่ง ที่เช่าเครื่องจักรราคาถูก เพราะลำพัง ถ้าเราเอาเครื่องจักรเหล่านี้ไปตั้งในศูนย์ ต้องใช้เงินซื้อ ศูนย์ต้องใช้งบประมาณ 400-500 ล้าน รัฐบาลไม่มีงบให้เรามากขนาดนั้น แต่ละศูนย์ได้งบจริงแค่ 10-15 ล้าน เราใช้ระบบเช่า ระบบขอร้อง ให้บิ๊ก บราเธอร์ เข้ามาดูแล มา demonstrate มาเป็นพี่เลี้ยง ทดลอง เทรนนิ่งในการใช้ พอใช้แล้วเกิดสนใจซื้อขายกันเลย เราเชื่อมให้ ท่านซื้อ เครื่องมือพวกนี้ราคาถูก อันนี้คือ บิ๊ก บราเธอร์ ฟอร์ ไอทีซี
ตัวที่ 3 คือ บิ๊ก บราเธอร์ ฟอร์ มาร์เก็ตติ้ง ขอเอ่ยนามท่านประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย คือคุณ กลินท์ สารสิน หรือพี่เปาของเรา ด้วยความสนิทสนมส่วนตัว ได้ขอให้ท่านดูแลเรา ให้สมาชิกหอการค้าประเทศไทย ใช้สถานที่ธุรกิจของตัวเองเป็น บิ๊ก บราเธอร์ ฟอร์ มาร์เก็ตติ้ง ให้เป็นที่วางสินค้า ในช่องทางจัดจำหน่ายให้เอสเอ็มอีที่ยังไม่มีช่องทางจัดจำหน่าย ให้กลุ่มโอท็อป เราได้คุยเรียบร้อยแล้ว อันนี้หอการค้าแห่งประเทศไทย จะโดดเป็น บิ๊ก บราเธอร์ ช่วยเรา
บิ๊ก บราเธอร์ ตัวสุดท้าย คือเกษตรแปรรูป อันนี้ต้องขอบคุณหลายบริษัทจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยเบฟ ที่เอ่ยอ้างไปแล้ว ท่านโดดมาช่วยแล้ว และอีกหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ฮอนด้า ที่เข้ามาช่วย เป็นบิ๊ก บราเธอร์ ของเกษตรแปรรูป ในการ SCG ที่ขอเอ่ย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และอีกหลายท่านที่ไม่สามารถเอ่ยได้ ตอนนี้เข้ามา MOU กับเราแล้ว SCG ก็เข้าไปช่วยตั้งโรงสีข้าวเพื่อให้ข้าวในพื้นที่สามารถผลิตเป็นข้าวกล้องได้ เกษตรอินทรีย์ได้ เกษตรแปรรูปด้านปลูกพืชผักออร์แกนิค จำหน่ายในราคาที่สูงขึ้นกว่าปกติ เราได้ร่วมมือกับหลายบริษัทเป็นบิ๊ก บราเธอร์ อันนี้บอกว่า เพื่อประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล เราอาศัยบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาช่วย บริษัทเหล่านี้จะมีงบประมาณในการทำ CSR พร้อมจะเป็น บิ๊ก บราเธอร์ให้เรา
มาตรการที่ 7 เป็นเรื่องของ ดิจิทัล แวลูเชน (Digital Value Chain) ตรงนี้เราแบ่งเป็น 2 โครงการย่อย โครงการที่ 1 คือ B2B buy to buyer ขอเรียนว่าทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ MOU กับ SMRJ หรือ สสว.ของญี่ปุ่น ในการที่จะช่วยเหลือเรื่อง B2B ทางญี่ปุ่นมีแพลตฟอร์มตัวหนึ่ง คือเรียกว่า J-Good Tech หรือ Japan technologies ในการสร้างฐานข้อมูล เอาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพประมาณ 5,000 รายเข้าไป ปัจจุบัน เราได้ส่งผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าไป 1,365 ราย อยู่ใน J-Good Tech จากที่เราอยู่กับเขามานาน 5 ปี เพื่อที่จะให้ share knowledge เพื่อมีการ online matching และล่าสุดเราได้รับความร่วมมือญี่ปุ่น ส่งผู้เชี่ยวชาญมานั่งประจำกับเราได้ 2 เดือนแล้ว โดยเฉพาะรัฐบาล รัฐมนตรี มอบหมายให้ผมสร้างทีม Good Tech เป็นแพลตฟอร์มของประเทศไทย เราวางแผนที่จะมีทีม Good Tech ของประเทศไทยในแพลตฟอร์มของเรา ประมาณ 1,400 ราย ในปีนี้ เบื้องต้นจะให้มีการออนไลน์ share Knowledge ข้อมูลต่างๆ ในทีม Good Tech ของตัวเอง เราพยายามจะให้ได้ในเดือนเมษายน จากนั้นถึงจะคอนเนค เชื่อมไปที่ J-Good Tech และถึงไปซีแอลเอ็มวี ไปอาเซียน ในอนาคตตัวเลขศักยภาพที่จะมีการซื้อขายกันจะอยู่ที่ T-Good Tech ของประเทศไทย ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างขึ้น เราคาดหวังอย่างนั้น จะเกิดประโยชน์ใหญ่หลวงของประเทศ ออเดอร์ที่จะได้มา โดยใช้ดิจิทัลเชื่อมโยงทั่วโลก
โครงการที่ 2 ที่รองรับคือ B2C buyer to customer อันนี้เรามีโครงการแต่เดิมของกรมเอง คือ Easy IT ปัจจุบันอย่างที่นำเรียนดังกล่าวข้างต้น จับมือกับลาซาด้า จับมือกับ KKTDC เจรจากับ JD.com ต้าหลง ที่จะเป็น e-commerce ระดับสากล ที่เราจะให้เอสเอ็มอีไทยอบรม เรามีโครงการที่จะอบรมให้ เอสเอ็มอี และโอท็อป ปีนี้ประมาณ 3-4 พันราย เพื่อ shift ขึ้นสู่แพลตฟอร์มของ e-commerce ที่เป็นพันธมิตรของเรา
มาตรการที่ 8 ที่เกี่ยวข้องคือเรื่อง financial literacy อันนี้เจ้าภาพหลักคือ อีแบงก์ และ สสว. และสมาคมธนาคารไทย ที่เจตนารมณ์อบรมให้ความรู้เอสเอ็มอี เข้าสู่บัญชีเดียว เพื่อที่จะใช้สินเชื่อกับกองทุนต่างๆ ที่เราสร้างขึ้น
มาตรการที่ 9 คือ เรื่องของ sme standard up คือเจ้าภาพคือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ต้องขอนำเรียนว่า หลายๆ ท่านที่ทำธุรกิจอยากจะทราบกันว่า ถ้าเกิดทำผลิตภัณฑ์ใหญ่ๆ ออกมาแล้ว ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ได้มีมาตรฐานบังคับอยู่ประมาณ 100 กว่ารายการ ที่ต้องมีมาตรฐาน มอก. ตามมาตรฐานบังคับตามกฎหมาย แต่ถ้ามาตรฐานทั่วไป คือ โรงงานขนาดใหญ่ มีผลิตภัณฑ์ออกมา เพื่อเชื่อมโยงสู่มาตรฐานสากล และยิ่งเข้าสู่ระบบ AEC แล้ว มาตรฐานอาเซียนเราก็ต้องเชื่อมโยงสินค้าสำคัญที่ต้องเข้าสู่ระบบ
ตรงนี้ต้องขอเรียนว่า ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้มีคำมาตรฐานตัวเล็ก สำหรับโอท็อป คือ มผช.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่มาตรฐาน SME ตัว S ยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย นี่คือมิติใหม่ที่เกิดขึ้นตามมาตรการ 9 มาตรการของรัฐบาล เมื่อมติ ครม.ออกมา 19 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา อันนี้ สมอ.เป็นเจ้าภาพในการที่จะรับสมัคร SME ขนาดกลาง ตามต้องการของทุกท่าน เพื่อเป็นแรงจูงใจ สร้างหลักประกันให้กับผู้บริโภค
อันนี้คือ 9 มาตรการที่ขอนำเรียนว่า ออกมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม จริงๆ มีเรื่องที่ขอนำเรียนว่า ในวันที่ 19 ธันวา ที่มติ ครม.ออกมา มีเรื่องของกองทุน ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับเป็นเจ้าภาพเมื่อ มกราคม ปี 60 เราได้มติ ครม.ออกมา กองทุนเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ 20,000 ล้าน ในการให้สินเชื่อต่อรายสูงสุด 10 ล้าน ดอกเบี้ย 1% แต่ด้วยมาตรการตัวนี้เข้มข้นมาก แต่ละรายที่เข้ามาเบื้องต้นเรากำหนดว่าต้องเป็น 10 S-Curve ต้องไม่เป็น NPL ปรากฎว่าสินเชื่อตัวนี้ เราสามารถให้สินเชื่อผ่าน เอสเอ็มอีแบงก์ และสถาบันการเงิน ตลอดจนผู้ที่กล่าวเบื้องต้น คือท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดในภูมิภาค จัดสรรเงินลงไปในภูมิภาค ประชารัฐคัดกรองขึ้นมา สามารถปล่อยสินเชื่อ 1 ปี งบประมาณได้ 6,000 กว่าล้านเท่านั้นเอง จึงมีมาตรการจัดสรรทอนเงินจาก 20,000 ล้านนี้ ออกมา 8,000 ล้าน สำหรับช่วยคนตัวเล็ก
คนตัวเล็กนี้คือ เอสเอ็มอีรายย่อย เรากันเงิน 20,000 ล้านออกมา 8,000 ล้าน เป็นกองทุนช่วยคนตัวเล็ก ดอกเบี้ย 1% สามารถให้สินเชื่อได้สูงสุด 1 ล้าน อันนี้คือมาตรการที่ออกมาติดกับ 9 มาตรการ ที่ผมกล่าวไปคือ 19 ธันวาคม 60 ดอกเบี้ย 1% อันนี้ เอสเอ็มอีแบงก์เป็นเจ้าภาพที่จะให้สินเชื่อ กลไกต่างๆ เจตนาช่วยเหลือ เอสเอ็มอีที่เป็น MPL แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้วบางส่วน แต่บนพื้นฐานที่ทุกท่านที่จะขอสินเชื่อ ต้องขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล ในช่วงที่มติ ครม.ออกมา ยังมีกองทุนที่เป็นกองทุนโดยตรงของ เอสเอ็มอีแบงก์ วงเงิน 50,000 ล้านบาท เป็นวงเงินที่เจตนาช่วยเหลือเรื่อง local economy loan ช่วยเหลือเรื่องท่องเที่ยว แปรรูป และซีไอวี อันนี้ กู้ได้สูงสุด 5 ล้าน ดอกเบี้ย 3% สามารถใช้ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อได้ ให้สินเชื่อนานถึง 7 ปี อันนี้เป็นสินเชื่อของเอสเอ็มอีแบงก์ ที่เข้ามาช่วย
ฐานปัจจุบันนี้ ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ประมาณ 6% ถ้าได้ดอกเบี้ย 3% จะช่วยเหลือซัพพอร์ตได้ส่วนหนึ่ง อันนี้รัฐบาลเข้ามาซัพพอร์ตตามที่ท่านเห็นนะว่ามันต่างกันอยู่ และมีอีกสินเชื่อวงเงินหนึ่งคือ 20,000 ล้านบาท เป็นเรื่อง transformation loan สำหรับเอสเอ็มอี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรระยะที่ 2 อันนี้เอสเอ็มอีแบงก์ ทำกับธนาคารออมสิน ดอกเบี้ย 4% กู้สูงสุดได้ 15 ล้านบาท ยาวถึง 7 ปี อันนี้ เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือพันธมิตรกับออมสิน ใช้วงเงินออมสินให้สินเชื่อ ต้องนำเรียนว่า เรื่องทั้งการผลิต ช่วยเกษตรกรต้นน้ำ ตลอดจนกลางน้ำ ในการลดต้นทุน สร้าง productivity การตลาด ดูตั้งแต่ B2C B2B e-commerce จริงๆ รัฐบาลมองในภาพรวม ตลอดจนให้สินเชื่อ
ผมอยากให้ท่านดูแพลตฟอร์มสั้นๆ นิดเดียว แพลตฟอร์มที่ผมต้องให้เครดิตกับ น้องๆ ในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ช่วยกันคิด กว่าผู้ใหญ่ของรัฐบาลจะซื้อ 2 เดือน 3 เดือน คือ แพลตฟอร์มภาพรวมของที่ผมกล่าวมาทั้งหมด 9 มาตรการ บวกเรื่องการเงิน ถ้าท่านเป็น เอสเอ็มอี เดินเข้ามา ไม่ว่าจะเข้ามาที่ front desk โดย manual เดินเข้ามา หรือถ้าท่านมีไอดี สมัครผ่านไอทีเข้ามา เราจะมี frontr desk ที่กลั่นกรอง เราจะมีดาต้า เซนเตอร์ ที่ในอนาคต ดาต้าตรงนี้ โครงการ บิ๊ก ดาต้า ที่ผมกล่าวต่อไปที่รัฐบาลจะมารองรับ ที่จะ classify แยกเข้าไป มีเอเย่นต์แยกปัญหาต่างๆ ตรงนี้ ท่านได้เห็นตัวเลขที่ตั้งไว้ทั้งหมด ที่โชว์ที่จอ ตัวที่ 1 คือปัญหาเกษตรกร local economy ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซีไอวี เรื่องเกษตรแปรรูป มันจะไปกอง รวมอยู่ท้ายๆ 1689 คือตาม 9 มาตรการ ตัวที่ 2 คือ SSRC ที่โชว์ที่แพลตฟอร์ม คือ หน่วยที่จะเป็น front desk รับบริการช่วยเหลือในภาพรวม ให้กับเอสเอ็มอี ที่จะ shift 270 หน่วยทั่วประเทศ ที่เป็น 5 หน่วยงานหลักที่จะช่วยกันรับ เป็น front desk รับและกระจายปัญหาให้กับ SP
ตัวที่ 3 เรื่องของ ITC ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ตัวที่ 5 ก็คือเรื่อง Expert School คือ Train the Coach ก็จะมี SP ประมาณ 2,000 ราย Service Provider ที่เก่งกาจขึ้นทะเบียนกับเรา พอมีเอเย่นต์แยกปัญหาแล้ว ส่งต่อไปให้ทุกท่านที่เป็น Expert แล้ว เรามองว่า เราใช้เวลาประมาณไม่เกิน 9 วัน ในการช่วยเหลือเข้าถึงพื้นที่ ถ้าโครงการเข้าสู่ภาวะปกติ แพลตฟอร์มตัวนี้จะถูกใช้รันตามปกติในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และเอสเอ็มอีทั้งประเทศ พอมีปัญหาจะโดดเข้ามาช่วยเหลือกัน
สุดท้าย ต้องใช้เรื่องเงิน ท่านจะเห็น VC Venture Capital funding กองทุนที่ผมกล่าวมาหมดแล้ว แพลตฟอร์มตัวนี้จะครบวงจรเลย ขอนำเรียนทุกท่านว่า เรามีเจตนารมณ์ โดยเฉพาะกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นเจ้าภาพหลักใน 9 มาตรการ ถึง 6 โครงการเลย ที่พร้อมช่วยเหลือ
ผมขอนำเรียนทุกท่านรับทราบเพียงเท่านี้ มีอะไรที่ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม รับใช้ทุกท่านได้ เชิญที่เว็บไซต์ www.dip.go.th นะครับ ขออนุญาตจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ ขอบคุณมากครับ
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *