xs
xsm
sm
md
lg

สวทช.พัฒนาวงการไม้สัก จ.แพร่ สู่อุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

อาจารย์ฐานวัฒน์ วิทยปรีชาศิลป์ ที่ปรึกษาแผนงานไม้สัก สวทช.
สวทช.ร่วมกับจังหวัดแพร่ รุกโครงการ “เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไม้สัก เพื่อส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนอย่างยั่งยืน” หวังพัฒนาความรู้ สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชมแพร่
อาจารย์ฐานวัฒน์ วิทยปรีชาศิลป์ ที่ปรึกษาแผนงานไม้สัก สวทช. เปิดเผยว่า ITAP สวทช.ได้สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงจัดหาผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา อบรมในการดำเนินงานโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักคุณภาพสูง รวมทั้งจัดหาผู้ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางธุรกิจและการตลาด เช่น การสร้างตราสินค้า ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยชุมชนแพร่ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อการเรียนการสอนที่เป็นหลักสูตรของวิทยาลัยชุมชนแพร่ ต่อยอดเป็นแกนนำในชุมชนต่อไป เป็นต้นโดยรวมแล้วแผนการดำเนินงานสนับสนุนอุตสาหกรรมไม้สักของ ITAP สวทช.ที่ร่วมกับ จ.แพร่ จะเป็นแนวทางที่สร้างงานและรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรมากขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดจากไม้สักส่งเสริมให้มีการปลูกป่าไม้สักมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
นายชูชีพ แว่นฉิม ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่
ทั้งนี้ ITAP สวทช.มีโครงการที่เข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมไม้สักร่วมกับ จ.แพร่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ในหลายโครงการ ได้แก่

1. การแก้ไขแก้ปัญหาการระบาดของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก จากปัญหาเร่งด่วนของการระบาดของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก ทำให้เนื้อไม้เป็นรูทำให้ไปแปรรูปไม่ได้ ทาง ITAP จึงได้เสาะหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหน่วยงานระดับชาติ 8 สถาบันทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของหนอนผีเสื้อเจาะต้นสัก
โรงงานต้นแบบ
2. การพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้สัก จากที่ผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ยังคงเน้นการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่คงรูปแบบในอดีตและเน้นการทำตลาดแบบการลดราคาแข่งขันกัน ทำขาดการให้ความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ไม้สักและเฟอร์นิเจอร์ วิทยาลัยชุมชนแพร่ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว โดยร่วมมือกับชุมชนต้นแบบ คือ กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์หัวดง ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ ที่มีความต้องการที่จะพัฒนาการออกแบบและพัฒนาเฟอร์นิเจอร์รูปแบบใหม่ และ ITAP จึงเข้าไปช่วยเหลือทั้งการยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยี การศึกษาความต้องการของผู้บริโภคและตลาดไม้สักในตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและรู้ถึงแนวโน้มความต้องการของรูปแบบเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ และร่วมจัดงานงานนิทรรศการอีกหลายแห่งทั้งในระดับจังหวัด ประเทศ และนานาชาตินับเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ประกอบการพัฒนาการผลิตรูปแบบใหม่ๆ ตามมาอีกจำนวนมาก ถือเป็นความสำเร็จที่ก้าวกระโดดจากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับโลก

3. การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้สัก วิทยาลัยชุมชนแพร่ ได้จัดหลักสูตรประกาศนียบัตรสำหรับผู้ประกอบการไม้สัก โดยให้ความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำ (การเพาะเลี้ยงและการปลูก) กลางน้ำ (การออกแบบ) และปลายน้ำ (เทคโนโลยีแปรรูป) ตลอดจนการตลาดและการสร้างตราสินค้า โดยหลักสูตรดังกล่าวกำลังดำเนินการเรียนการสอน
ผลิตภัณฑ์จากไม้สัก
4. การเพิ่มศักยภาพในการผลิตของผู้ประกอบการแปรรูปไม้สัก ITAP สวทช.ได้ร่วมกับวิทยาลัยชุมชนแพร่ในการสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ และสร้างโมเดลต้นแบบของการพัฒนาโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้สักคุณภาพสูงวิทยาลัยชุมชนแพร่ ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอบรม และทดลองผลิตผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์รูปแบบใหม่ที่เน้นคุณภาพ โดยมีเครื่องจักรที่เหมาะสมในการผลิต ซึ่งโรงงานต้นแบบแห่งนี้ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการทำไม้สัก ให้ลดความสูญเสีย คุณภาพดีขึ้น และลดการตัดไม้ทำลายป่า

ด้าน นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชมแพร่กล่าวว่า วิทยาลัยชุมชนแพร่ มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาคน พัฒนาท้องถิ่น ได้สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนากระบวนการทำผลิตภัณฑ์ไม้สัก ทั้งเรื่องการออกแบบ ฝีมือการจัดการ โดยนำเทคโนโลยีเข้าใช้ในการผลิต เพื่อให้มีการใช้ไม้สักอย่างคุ้มค่า ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ สวยงาม ราคาสูง จูงใจให้ผู้ผลิตขายฝีมือมากกว่าขายความเป็นไม้สัก ข่วยลดปัญหาการใช้ไม้อย่างฟุ่มเฟือย นับเป็นการพัฒนาการทำไม้สักอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล มีประโยชน์และคุ้มค่าต่อไป

ขณะที่ นายชูชีพ แว่นฉิม ประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์หัวดง ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ กล่าวเสริมว่า จ.แพร่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้สัก เนื่องจากชาวท้องถิ่นดั้งเดิมเป็นผู้มีฝีมือในเชิงช่างที่คงเอกลักษณ์ศิลปะของชาวล้านนา และทักษะด้านการทำไม้มาเป็นเวลาอันยาวนาน สืบทอดจากบรรพบุรุษรุ่นต่อรุ่น โดยมีการสืบสานและกลมกลืนกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวล้านนาอย่างแนบแน่น รวมทั้งยังมีศักยภาพสูงในการทำไม้อีกด้วย หากได้มีการพัฒนาให้มีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว จะทำให้ทรัพยากรไม้สักที่มีในท้องถิ่นมีคุณค่า เนื่องจากสามารถนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในครอบครัว และเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้ในราคาดีขึ้น เป็นการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของท้องถิ่น เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การทำผลิตภัณฑ์ไม้สักเป็นการช่วยครอบครัวผู้ผลิต และท้องถิ่นที่เป็นผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ไม้สักในครอบครัว ช่วยกระจายรายได้ในท้องถิ่น เฉลี่ยรายได้ แก้ปัญหาการว่างงาน ความยากจน และการอพยพเข้าไปในชุมชนหรือเมืองใหญ่
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น