สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้านอาหาร ในการเตรียมตัวเพื่อขอมาตรฐาน อย.
หลักเกณฑ์ในการขออนุญาตผลิตอาหาร
1.ขออนุญาตสถานที่ผลิต ประกอบด้วย 6 ข้อ หลักที่อย.พิจารณา คือ
1.1 สภาพแวดล้อม หรือ สิ่งแวดล้อม จะต้องเอื้ออำนวย ต้นทุนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสภาพเอื้อตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย ฯลฯ ก็ไม่ต้องปรับอะไร แต่ถ้าสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อ มี 2 ทางย้ายที่ผลิต หรือ ไม่ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้พร้อมกับการผลิต
1.2 เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ง่ายต่อการล้าง ทำความสะอาด
1.3 ควบคุมกระบวนการผลิต ให้ได้มาตรฐาน รวมถึงการควบคุมคุณภาพน้ำ วิเคราะห์เชื้อในห้องทดลอง และรวมถึงการควบคุมมาตรฐานแพคเกจจิ้ง สีสันและฉลากให้ครบถ้วน
1.4 สุขาภิบาล การกำจัดขยะ ต้องรู้วิธีการกำจัด ว่ากำจัดยังไง และต้องทำทุกวัน เพื่อป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหนะ ของโรคด้วย รวมถึง ท่อระบายน้ำที่ต้องระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมล้นออกมาข้างนอก ในส่วนของการของบรรจุ จะต้องมีห้องบรรจุที่ปิดมิดชิด
1.5 บำรุงรักษาทำความสะอาดอย่างละเอียด กระบวนการทำความสะอาดที่ถูกต้อง และจะต้องมีน้ำยาที่ใช้ทดสอบพื้นที่ ว่าสะอาดได้มาตรฐานหรือไม่ โดยเมื่อราดน้ำยาลงไปที่พื้นอุปกรณ์ เปลี่ยนสี
1.6 พนักงาน เตรียมใส่ชุดให้พร้อม ทั้ง หมวก ที่ปิดปาก ถุงมือ และชุดคลุมที่สวมใส่ ต้องให้สะอาด ฯลฯ
สำหรับการเตรียมสถานที่ทำไปพร้อมกับการยื่นเรื่อง โดยทางอย. จะทำการตรวจสอบและประเมินภายใน 45 วัน กรณีที่เอกสารพร้อม หลังจากผ่านการยื่นขอมาตรฐานในส่วนของสถานที่ แล้ว จะได้เลขมาตรฐาน อย. 8 หลัก การขอเลขจะขอได้ 1 ชนิดต่อ 1 เลขเท่านั้น
2. ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ การขอเลข อย. 13 หลัก มีขั้นตอนดังนี้
2.1 กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7คน) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย
2.2 กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป หรือ อาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางและสูง แล้วแต่กรณี ส่วนอาหารที่กำหนดคุณภาพ หรือ มาตรฐาน หรือ อาหารควบคุมเฉพาะ จะต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้ง รายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
หมายเหตุ สำหรับภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายมีจำนวนหนึ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่คาบเกี่ยวหรือก้ำกึ่งว่าจะเป็นยาหรืออาหาร เพื่อป้องกันความสับสนในเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงกำหนดแนวทางในการพิจารณาว่า ผลิตภัณฑ์ใดที่ จัดเป็นอาหาร ต้องมีลักษณะดังนี้
1. มีส่วนประกอบเป็นวัตถุที่มีในตำราที่รัฐมนตรีประกาศตามพระราชบัญญัติยาและโดยสภาพของวัตถุนั้นเป็น ได้ทั้งยาและอาหาร
2. มีข้อบ่งใช้เป็นอาหาร
3. ปริมาณการใช้ไม่ถึงขนาดที่ใช้ในการป้องกันหรือบำบัดรักษาโรค
4. การแสดงข้อความในฉลากและการโฆษณาอาหารที่ผสมสมุนไพรซึ่งไม่จัดเป็นยานั้นต้องไม่มีการแสดง สรรพคุณเป็นยากล่าวคือป้องกัน บรรเทา บำบัด หรือรักษาโรคต่าง ๆ
------------------------------------------------------------------------
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *