xs
xsm
sm
md
lg

6 ข้อควรระวังหลังทำธุรกิจ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เมื่อใดที่เราเริ่มลงทุนทำธุรกิจแล้วรู้สึกว่า เงินทุนของเราลดลงไปมากก็เริ่มทำให้เรากังวลแล้ว เช่นนั้น เรามาดูกันว่า ถึงจุดๆ นี้แล้ว เราควรจะระวังสิ่งใดกันบ้าง


1. ควบคุมรายจ่ายประจำในแต่ละเดือน

ระวังอย่าให้รายจ่ายสูงกว่ารายรับจนต้องมาเบียดเบียนเงินสำรองเด็ดขาด เพราะหากเราแบ่งเงินส่วนนี้ออกมาใช้เรื่อย ๆ สุดท้ายเงินก็จะหมดลง ดังนั้น เราควรเช็คบ่อยๆ ว่า งบประมาณที่จัดสรรไว้ในแต่ละเดือนเพียงพอกับรายจ่ายจริงหรือไม่ ถ้าไม่จะมีวิธีลดรายจ่าย หรือเพิ่มรายได้อย่างไรบ้าง


2. ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ตั้งแต่การซื้อของจุกจิกวันละนิดวันละหน่อย ไปจนถึงของชิ้นใหญ่ราคาสูง และที่สำคัญ อย่าตามกระแสเวลาเห็นบริษัทนั้นใช้ของแบรนด์เนม เช่น iMac ซึ่งถ้าจะซื้อก็ไม่ผิด แต่ต้องพิจารณาจากความเหมาะสมของแต่ละงานด้วย รวมทั้งควรระวังค่าใช้จ่ายด้านภาษีสังคม โดยเฉพาะการปาร์ตี้ต่างๆ จริงอยู่ครับว่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่เราก็สามารถเลือกจัดตามสมควร ไม่จำเป็นต้องจัดถี่ทุกเดือนก็ได้


3. ระวังหนี้เพิ่มไม่รู้ตัว

โดยเฉพาะหนี้จากบัตรเครดิตคือตัวดีเลย รูดปรื๊ดๆ ใช้ก่อนแล้วจ่ายทีหลัง ยิ่งปัจจุบันมีโปรโมชั่นเงินผ่อน 0% ในสินค้าแทบทุกชนิด แต่การผ่อนชำระก็ยังนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายและเป็นภาระหนี้ที่ต้องชำระเพิ่มจากค่าใช้จ่ายประจำในอีกหลายเดือนข้างหน้า ดังนั้น อย่าพยายามเพิ่มภาระให้ตัวเองเลยครับ ท่องไว้ว่า อย่าใช้เงินเกินตัวเป็นดีที่สุด


4. รายได้ทางเดียวไม่พอแน่นอน

หมั่นตั้งใจทำผลงานให้ดี สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจ เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสำหรับการสร้างรายได้ในอนาคตอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากมีโอกาส อย่าลืมที่จะมองหาช่องทางหารายได้เสริม เช่น ออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ขยายสาขา เปิดบริษัทลูก เพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย


5. ดูแลสุขภาพด้วย (Work-Life Balance)

ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ทางที่ดีคุณควรเตือนลูกน้องให้ดูแลสุขภาพด้วย เพราะถ้าหากมีลูกน้องคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยกะทันหันขึ้นมา อาจมีเหตุทำให้ธุรกิจถึงขั้นเข้าเนื้อได้ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการป้องกันความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ในระดับหนึ่งแล้ว การมีสุขภาพดียังเป็นหลักประกันว่า เราจะสามารถทำงานสร้างรายได้ไปได้อีกยาวๆ ครับ


6. ความเสี่ยงทางธุรกิจที่ไม่เคยเลือกเวลา

หมั่นตรวจสอบผลประกอบการต่างๆ รวมถึงสถานการณ์ แนวโน้มของธุรกิจในอนาคต รู้วิธีจำกัดความเสี่ยงของการลงทุนและควรระวังอย่าให้ความผิดพลาดจากการลงทุนมามีผลต่อเงินส่วนตัวของเราเด็ดขาด

ที่มา : คอลัมน์ "เคล็ดลับสู่ Startup" โดยธนาคารออมสิน
กำลังโหลดความคิดเห็น