xs
xsm
sm
md
lg

ไขประโยชน์ กม.หลักประกันธุรกิจ อุ้มSMEsถึงแหล่งทุน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เมื่อไม่นานมานี่ พระราชบัญญัติหลักประกันธุรกิจ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ คือ
• พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558
• มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
• เว้นแต่มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 15 มาตรา 54 มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 และมาตรา 59 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558

ผู้รักษาการตามกฎหมาย
• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ประโยชน์ของกฎหมาย
• ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกขึ้น
• ขจัดแหล่งทุนนอกระบบ
• ธนาคารกระจายสินเชื่อสู่ธุรกิจที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
• เพิ่มประเภททรัพย์สินที่ SMEs ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันได้
• ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ ยังคงสามารถใช้ทรัพย์สินนั้นในการประกอบธุรกิจได้

ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันได้
• กิจการ
• สิทธิเรียกร้อง
• สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ
• อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง
• ทรัพย์สินทางปัญญา
• ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรว

ผู้ให้หลักประกัน
• บุคคลธรรมดา
• นิติบุคคล

สิทธิและหน้าที่
• ผู้ให้หลักประกันยังคงมีสิทธิครอบครอง ใช้สอย แลกเปลี่ยนจำหน่าย จ่ายโอน จำนอง ใช้เป็นหลักประกัน ใช้ในการผลิตและได้ดอกผลของทรัพย์สินที่เป็นลักประกัน แต่จะนำทรัพย์สินไปจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ไม่ได้
• ผู้ให้หลักประกันต้องจัดทำบัญชีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันและต้องยอมให้ผู้รับหลักประกัน เข้าตรวจทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
ผู้รับหลักประกัน
• ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้ง
• ธนาคารพาณิชย์
• บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
• บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมายและบริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมาย

สิทธิและหน้าที่
• ผู้รับหลักประกันมีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกัน
• ผู้รับหลักประกันมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก่อนเจ้าหนี้สามัญ ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่

ผู้บังคับหลักประกัน
• ผู้บังคับหลักประกันต้องเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน

การบังคับหลักประกัน
• กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สิน
- ผู้รับหลักประกันจะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนำเงินชำระหนี้
- การจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน ให้กระทำด้วยวิธีการประมูลโดยเปิดเผย
• กรณีหลักประกันเป็นกิจการ
- ให้ผู้รับประกันมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับหลักประกัน
- เมื่อผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยให้บังคับหลักประกันให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของผู้ให้หลักประกันสิ้นสุดลง
- ให้ผู้บังคับหลักประกันมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการที่เป็นหลักประกัน จนกว่าจะจำหน่ายหลักประกันนั้นได้

สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
• สัญญาหลักประกันต้องทำเป็นหนังสือ และ
• จดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ความระงับสิ้นไปของสัญญา
• หนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยประการอื่นใด อันไม่ใช่อายุความ
• ผู้รับหลักประกันและผู้ให้หลักประกันตกลงกันเป็นหนังสือให้ยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ
• มีการไถ่ถอนทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
• มีการจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันในการบังคับหลักประกัน หรือเมื่อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับหลักประกัน

บทกำหนดโทษ
• หมวด 8 กำหนดบทลงโทษทางอาญา เช่น แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ทำให้หลักประกันเสื่อมค่า เปิดเผยข้อมูลของ

ผู้ให้หลักประกัน
• โทษจำคุกตั้งแต่ 1 - 3 ปี
• ปรับตั้งแต่ 1 แสนบาท - 3 แสนบาท

คดีเลิกกัน
• กรณีเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกิน 30 วันให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ที่มา สำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
http://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=981


* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น