xs
xsm
sm
md
lg

กสอ.ร่วม ส.อ.ท.พัฒนาเอสเอ็มอี เครื่องมือแพทย์ ไบโอ ชิ้นส่วน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

 นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน
“กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” ร่วมกับ “สภาอุตสาหกรรม” เปิดตัวโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านมาตรฐานและเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรมเอสเอ็มอีแห่งอนาคต 3 กลุ่ม เครื่องมือแพทย์ ไบโอพลาสติก และอากาศยานและชิ้นส่วน

นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดโครงการความร่วมมือโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ด้านมาตรฐานและเทคโนโลยี ในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก และอุตสาหกรรมอากาศยานและชิ้นส่วน

สำหรับโครงการความร่วมมือครั้งนี้ กสอ.มีแนวทางการเหลือในด้านให้คำปรึกษาแนะนำ กับกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ เอสเอ็มอีผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ เพื่อช่วยพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รองรับการขยายตัวของความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น รวมถึงรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น Medical Hub

นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะพัฒนาและยกระดับนวัตกรรมเพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปัจจุบันนอกจากยอดขายในประเทศแล้ว ยอดส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่องกว่าร้อยละ 10 ต่อปี ด้วยยอดส่งออกที่มีมูลค่าสูงถึงปีละกว่า 92,000 ล้านบาท

ส่วนอุตสาหกรรมอากาศยานและชิ้นส่วน จะมุ่งพัฒนาเอสเอ็มอีไทยที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้มีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน เพราะมีความต้องการสูงขึ้นอย่างมาก โดยการซ่อมบำรุงอากาศยานในอีก 10 ปี ข้างหน้าเฉพาะเอเชีย-แปซิฟิกจะมีมูลค่าสูงถึง 400,000 ล้านบาท

นายวิรัตน์ อุปราสิทธิ์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการไทยขณะนี้กำลังมุ่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 13485 ที่นอกจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแล้วยังช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ต้องพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ ได้แก่ ยางพาราที่ใช้ในการผลิตวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ เช่น ถุงมือและถุงยางอนามัย ผู้ผลิตในไทยยังประสบปัญหาเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ เช่น ยางพารามีปัญหาปริมาณโปรตีนในยางพาราไทยมีส่วนทำให้ผู้ใช้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งคุณภาพยังสู้ยางพาราจากมาเลเซียไม่ได้ เพราะการมีปริมาณโปรตีนจะมีผลต่อการแพ้โปรตีนเกิดขึ้นกับผู้ใช้ได้

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น