xs
xsm
sm
md
lg

6 ข้อ SMEs ควรรู้ เกี่ยวกับ กม.เว้นตรวจภาษีย้อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กรมสรรพากร ออก พ.ร.ก.การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 และ พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ที่ผ่านมา เพื่อจูงใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง โดยสาระสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจควรทราบ ได้แก่

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีรายได้ในรอบบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อน 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ(บัญชีเล่มเดียว)ต่อกรมสรรพากรจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง

2.กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่15มกราคมพ.ศ.2559ถึง15มีนาคมพ.ศ. 2559

3.หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกตรวจสอบภาษีอากร หลีกเลี่ยงภาษีอากรหรืออยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก่อนวันที่1มกราคม2559บริษัทฯยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ

4.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งมีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน5ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน30ล้านบาทในรอบระยะเวลาบัญชีปี2558และได้มีการจดแจ้งต่อกรมสรรพากรในการใช้บัญชีเล่มเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2รอบระยะเวลาบัญชีดังนี้

4.1 ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2559
4.2 ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้
(1)สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ
(2)ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10ของกำไรสุทธิสำหรับกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 300,000บาท

5.กรณีบริษัทที่ได้จดแจ้งเรียบร้อย มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท ตรงตามเงื่อนไขกำหนด แต่ปีต่อมา บริษัทมีรายได้เกินกว่า 500 ล้านบาท ยังคงถือว่าได้รับสิทธิ์เว้นตรวจภาษีตาม กม.ฉบับนี้

6.กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลังและให้ถือว่าบริษัทฯนั้นไม่เคยได้รับสิทธิใดๆตามพระราชกำหนดฉบับนี้

นอกจากนั้น ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ในกำกับดูแลใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการภาษีเงินได้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินตั้งแต่วันที่1มกราคม พ.ศ.2562เป็นต้นไป

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SMEs ผู้จัดการ” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


พ.ร.ก.การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 (1/3)
พ.ร.ก.การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 (2/3)
พ.ร.ก.การยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร พ.ศ.2558 (3/3)
พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ.2558 (1/3)
พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ.2558 (2/3)
พ.ร.ฏ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 595) พ.ศ.2558 (3/3)
กำลังโหลดความคิดเห็น