ช่วงที่ประเทศไทย กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำทำการเกษตร ทางออกของเกษตรกร ไม่ใช่การหยุดปลูกพืช แต่ควรที่จะหาพืชผลการเกษตรที่ใช้น้ำน้อยมาปลูกทดแทนไปก่อน วันนี้ มีตัวอย่างของพืชที่ใช้น้ำน้อยมาฝาก ....
รายชื่อพืชที่ต้องการน้ำน้อย
พืชในตระกูลถั่วทุกชนิด เป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย เจริญเติบโตได้เร็ว และมีข้อดี คือ หลังเก็บเกียว สามารถไถกลบและซังพืชจะปุ๋ยชั้นดีให้กับนาข้าว เหมาะอย่างยิ่งที่ชาวนา จะนำมาปลูกสลับกับการทำนาข้าว ซึ่งข้อดีของพืชตระกูลถั่ว คือ ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก อายุการเก็บเกียวใช้ระยะเวลาสั้น 100-120 วัน
พืชตระกูลถั่วที่นิยมปลูกกันมาก เช่น ถั่วเขียว ถั่วพุ่ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ปอเทือง โสน ฯลฯ สำหรับพืชตระกูลถั่วมีคุณสมบัติ พิเศษ คือที่รากมีปมเรียกว่าปมรากถั่ว ในปมเหล่านี้มีเชื้อจุลินทรีย์ จำพวก ไรโซเบียมอยู่เป็นจำนวนมาก ไรโซเบียมนี้สามารถดึงธาตุไนโตรเจนจาก อากาศมาใช้ เมื่อพืชเน่าเปื่อย ก็จะเพิ่มธาตุไนโตรเจน และอินทรีย์วัตถุ ให้แก่ดิน ส่วนราคาก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด
กลุ่มตระกูลพืชไร่ ทุกชนิด เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้อดีของพืชในกลุ่มนี้ คือ มีอายุการเก็บเกียวไม่นาน พอเก็บเกียวแล้วลำต้นก็จะตาย มีความอดทนต่อความแห้งแล้งสูง ปลูกได้ทุกสภาพอากาศ ไม่ต้องการน้ำมาก เป็นพืชไร่ที่มีการปลูกกันมาในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ เพราะมีการนำเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้ง และน้ำตาล รวมถึงพลังงานทดแทน
มะละกอ แก้วมังกร ฟักทอง ฟักเขียว พืชในกลุ่มของพืชไร่ เช่นกัน พืชในกลุ่มนี้ บางชนิดมีความต้องการน้ำในปริมาณมาก แต่ไม่จำเป็นต้องลดน้ำทุกวัน สามารถปลูกได้ทุกสภาพภูมิอากาศ ให้ผลผลิตเร็วในระยะเวลาอันสั้น ส่วนบางชนิด อย่างแก้วมังกร ฟักทอง และฟักเขียว จะเป็นพืชในกลุ่มไม้เลื้อย จำเป็นจะต้องมีอะให้เขาเกาะ และควรจะปลูกกลางแดด ไม่เหมาะกับการปลูกในร่ม
มะพร้าว ตะบองเพชร เป็นพืชยืนต้น มีอายุยืนยาว และมีความทนแล้งได้สูง ให้ผลผลิตตลอดอายุการเติบโต การดูแลรักษาง่าย และที่สำคัญเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ราคาขึ้นลงตามปริมาณ และความต้องการของตลาด
สมุนไพร เป็นพืชที่ปลูกได้ทั่วไป มีทั้งพืชล้มลุก และพืชยืนต้น พืชสมุนไพรส่วนใหญ่จะเป็นพืชทีมาจากแถบพื้นที่แห้งแล้งมาก่อน สมุนไพรส่วนใหญ่จึงไม่ต้องการน้ำมากเหมือนกับพืชที่มาจากเขตชุมชื้น ดังนั้นในช่วงที่ของการขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูก เช่นนี้ ลองหาสมุนไพร ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมาปลูกทดแทนได้ เพราะพืชสมุนไพรส่วนใหญ่อายุการปลูกไม่นาน และใช้พื้นที่การปลูกไม่มาก โดยเฉพาะในช่วงที่กระแสของคนรักษ์สุขภาพ และหันมาพึ่งสมุนไพรแทนการกินยาปฏิชีวนะ สมุนไพร น่าจะเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรได้ เนื่องจากลงทุนน้อย ดูแลง่าย ลดความเสี่ยง
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *