สสว.เผยรายชื่อเอสเอ็มอีที่ได้รับรางวัล “สุดยอด SMEs แห่งชาติ” ครั้งที่ 5 จำนวน 8 ราย และรางวัลชมเชย 26 ราย แจงผู้ได้รางวัลมีสิทธิ์รับการสนับสนุนรอบด้านทั้งการตลาดและความรู้เสริมธุรกิจ
นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวด สุดยอด SMEs แห่งชาติ หรือ SMEs National Awards ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.ว่า การประกวดสุดยอด SMEs แห่งชาติมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหา SMEs ต้นแบบที่มีความสามารถในการดำเนินกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานที่ดี ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส รวมทั้งเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ประกอบการ SMEs รายอื่นๆ ในการปรับปรุงวิธีการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการ และที่สำคัญเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความตื่นตัวและตระหนักถึงการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ ให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับประเทศและระดับสากลต่อไป
สำหรับการประกวดดังกล่าวมีผู้ประกอบการสนใจสมัครเข้าประกวด จำนวน 1,032 ราย จาก 15 กลุ่มธุรกิจ โดยมีผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ จำนวน 8 ราย และรางวัลชมเชย จำนวน 26 ราย ดังนี้
ผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ มีทั้งหมด 8 กิจการ ได้แก่
1. บริษัท ซันไชน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
2. บริษัท คัฟเวอร์แนนท์ จำกัด จากกลุ่มธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น
3. บริษัท ดีไซน์ ออลเทอร์เนทีฟ จำกัด จากกลุ่มธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้
4. บริษัท สุธี ยูไนเต็ด คาร์บอน จำกัด จากกลุ่มธุรกิจเครื่องจักรกลและอุปกรณ์
5. บริษัท อุดรกระจกรถยนต์ จำกัด จากกลุ่มธุรกิจค้าปลีก
6. บริษัท คอมเทรดดิ้ง จำกัด จากกลุ่มธุรกิจงานสร้างสรรค์และออกแบบ
7. บริษัท ไวส์เฟรทเซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จากกลุ่มธุรกิจลอจิสติกส์
และ 8. บริษัท คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด จากกลุ่มรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั้ง 26 กิจการที่ได้รับรางวัลชมเชย มีดังนี้
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่
1. บริษัท คริสปี้ เวจ แอนด์ ฟรุ๊ต จำกัด
2. บริษัท เวย์ตาน่า จำกัด
3. บริษัท ซองเดอร์ ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เหลียงเส่งเฮงฮวด
5. ห้างหุ้นส่วนจำกัดชาเขียว
6. บริษัท เอเซียแอนด์แปซิฟิค ควอลิตี้ เทรด จำกัด
7. บริษัท วิยะ เครป โปรดักส์ จำกัด
*** ธุรกิจหัตถกรรม ไม่มีกิจการใดได้รับรางวัล
ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ได้แก่ บริษัท เอ็กซเปิร์ต เจมส์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
ธุรกิจเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ได้แก่
1. บริษัท เดอะคูล เซอร์วิส จำกัด
2. บริษัท เดอะคูล แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
3. บริษัท เจ.อาร์.แอล.สยาม จำกัด
ธุรกิจพลาสติกและยาง ได้แก่
1. บริษัท ทีมพลาส เคมีคอล จำกัด
2. บริษัท เอส.ที.ไรซิ่ง จำกัด
ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่
1. บริษัท จี.ไอ.เอฟ.เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
2. บริษัท ชัยวัชระรับเบอร์ จำกัด
- ธุรกิจสิ่งพิมพ์ ได้แก่ บริษัท ประดิษฐ์ศิลป์เซ็นเตอร์ จำกัด
- ธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ บริษัท จีเทค โอเอชเอ็ม จำกัด
- ธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยวและภัตตาคาร ได้แก่ บริษัท โชคดี เรสเตอรองค์ จำกัด
- ธุรกิจงานสร้างสรรค์และออกแบบ ได้แก่ .บริษัท นิปปอน ไซซิทส์ จำกัด
- ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ได้แก่
1. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด
2. บริษัท ศูนย์การแพทย์ผิวหนังกรุงเทพ จำกัด
3. บริษัท เคล อินเตอร์เทรด จำกัด
ธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1. บริษัท ที-เน็ต จำกัด
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรือนไหม-ใบหม่อน
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการนี้จะได้รับ คือ การประเมินตรวจสอบธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้เอสเอ็มอีแต่ละราย เห็นถึงจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง สามารถนำไปปรับปรุงเสริมศักยภาพธุรกิจ รับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ส่วนรายที่ได้รับรางวัล นอกจากถ้วยรางวัลแล้ว ผู้ผ่านการคัดเลือกทุกรายจะได้รับการส่งเสริมจาก สสว.รอบด้าน ทั้งการตลาดโดยเชิญร่วมงานต่างๆ ที่ สสว.จัดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การออกบูท การทำ business matching เป็นต้น
นอกจากนั้น สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติยังมอบสิทธิประโยชน์แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ และผู้ที่ได้รับรางวัล SMEs ดีเด่นในการเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ บริษัทละ 3 หลักสูตร และมีส่วนลดร้อยละ 50 ของค่าอบรม ส่วนผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชย ได้รับส่วนลดการเข้าอบรมหลักสูตรต่างๆ โดยมีส่วนลดร้อยละ 10 (หรือเท่ากับอัตราสมาชิก) อีกทั้งยกเว้นค่าธรรมเนียมสมาชิกเป็นเวลา 1 ปีให้แก่ผู้ประกอบการทุกรายที่ได้รางวัล รวมถึงทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มอบสิทธิประโยชน์จัดกิจกรรมต่อยอดการเรียนรู้ให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติในครั้งนี้
ด้านนางศมน ชคัตธาดกุล เจ้าของกิจการ บริษัท อุดรกระจกรถยนต์ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญของประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง โดยพยายามเสริมจุดแข็งของตัวเองให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันต้องพยายามลดจุดอ่อนให้เหลือน้อยที่สุด
สำหรับบริษัท อุดรกระจกรถยนต์ จำกัด ถือเป็นผู้ให้บริการติดตั้งกระจกรถยนต์ และติดฟิล์มรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีพนักงานรวม 150 คน ยึดหลักในการทำธุรกิจโดยให้ความสำคัญแก่ “คน” เพราะถือว่าหัวใจที่จะทำให้บริการของบริษัทเป็นที่ประทับใจของลูกค้า โดยบริษัทจะพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีสวัสดิการ และอนาคตให้พนักงานเกิดความพึงพอใจและมีความสุขในการทำงาน
“ดิฉันเชื่อว่าเทคโนโลยีต่างๆ เราสามารถพัฒนาได้หากเรามีคนที่มีคุณภาพ ดังนั้น ที่บริษัทเราจะให้ความสำคัญ โดยจะคิดว่าทีมงานของเราเป็น “ลูกน้อง” ไม่ได้เป็น “พนักงาน” เพราะคำว่าลูกน้องหมายถึงว่าเราดูแลเขาเหมือนสมาชิกในครอบครัว และพร้อมที่จะพัฒนาและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน” นางศมนกล่าว
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SME ผู้จัดการออนไลน์” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *