สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เผยอุตฯ อัญมณี โตติด 1 ใน 3 มูลค่าส่งออก ล่าสุดเอาใจผู้ค้าอัญมณีหลักย่านสีลมย้ายที่ทำการใหม่ หวังประชิดผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย คาดเพิ่มความสะดวกตรวจสอบอัญมณีพร้อมออกใบรับรองถึงที่
นางวิลาวัณย์ อติชาติ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ GIT ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภาคการส่งออกว่า ขณะนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง โดยถูกจัดเป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกที่สูง จากการออกแบบเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ทั้งนี้ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศถือว่ามีอัตราการเติบโตสูง ได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการชาวต่างชาติก็นิยมมาลงทุนดำเนินธุรกิจนี้ในประเทศไทย ซึ่งในฐานะที่สถาบันฯ มีหน้าที่ในการออกใบรับรองอัญมณีและโลหะมีค่า จากทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ จึงตัดสินใจย้ายสถานที่จากเดิมในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอยู่บนถนนสีลม อาคารไอทีเอฟ ซึ่งถือเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการผู้ประกอบการมากขึ้น
“การที่สถาบันฯ ย้ายที่ทำการเพื่อรองรับจำนวนผู้ประกอบการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50-70% โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนกันระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติ หรือเป็นบริษัทที่เข้ามาตั้งฐานอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการบนถนนสีลมที่ค้าขายประเภทพลอยร่วง ทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะนำพลอยมาทำใบรับรองก่อน เพื่อซื้อขายกันในประเทศ มีการขายต่อเป็นทอดๆ จากนั้นอาจจะมีการส่งออก” นางวิลาวัณย์กล่าว
นอกจากนี้เพื่อรองรับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทางสถาบันฯ ยังเปิดคอร์สอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น การออกแบบอัญมณี และล่าสุดทางสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรม อบรมการออกแบบอัญมณีด้วยคอมพิวเตอร์อีกด้วย
นางวิลาวัณย์ อติชาติ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) หรือ GIT ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภาคการส่งออกว่า ขณะนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง โดยถูกจัดเป็นอุตสาหกรรม 1 ใน 3 ของมูลค่าการส่งออกที่สูง จากการออกแบบเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
ทั้งนี้ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศถือว่ามีอัตราการเติบโตสูง ได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการชาวต่างชาติก็นิยมมาลงทุนดำเนินธุรกิจนี้ในประเทศไทย ซึ่งในฐานะที่สถาบันฯ มีหน้าที่ในการออกใบรับรองอัญมณีและโลหะมีค่า จากทีมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ จึงตัดสินใจย้ายสถานที่จากเดิมในบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอยู่บนถนนสีลม อาคารไอทีเอฟ ซึ่งถือเป็นทำเลที่อยู่ใจกลางย่านการค้าอัญมณีที่สำคัญของประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการผู้ประกอบการมากขึ้น
“การที่สถาบันฯ ย้ายที่ทำการเพื่อรองรับจำนวนผู้ประกอบการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 50-70% โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนกันระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติ หรือเป็นบริษัทที่เข้ามาตั้งฐานอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย รวมถึงผู้ประกอบการบนถนนสีลมที่ค้าขายประเภทพลอยร่วง ทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้จะนำพลอยมาทำใบรับรองก่อน เพื่อซื้อขายกันในประเทศ มีการขายต่อเป็นทอดๆ จากนั้นอาจจะมีการส่งออก” นางวิลาวัณย์กล่าว
นอกจากนี้เพื่อรองรับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ทางสถาบันฯ ยังเปิดคอร์สอบรมหลักสูตรต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น การออกแบบอัญมณี และล่าสุดทางสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรม อบรมการออกแบบอัญมณีด้วยคอมพิวเตอร์อีกด้วย