สถาบันอาหาร ชี้ส่งออกไทยไม่ได้รับประโยชน์จากปัญหาเชื้ออี.โคไล ระบาดในอียู แจงพืชผักสดกลุ่มเสี่ยงไม่ได้นำเข้าจากไทย อีกทั้ง มาตรฐานเข้มยังเป็นกำแพงสูง แนะไทยใช้บทเรียนวางมาตรการตรวจสอบย้อนกลับลดผลกระทบครั้งต่อไป
นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในปี 2553 ไทยส่งออกสินค้าพืชผักสดเข้าตลาดสหภาพยุโรปเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,925 ล้านบาท และในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่าการส่งเข้าตลาดสหภาพยุโรปประมาณ 877 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากกรณีเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อก่อโรคอุบัติใหม่ Escherichia coli (E. coli) O104: H4 ที่มีจุดเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศเยอรมันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา จากการประเมิน ภาคส่งออกสินค้าเกษตรและพืชผักของไทย ไม่น่าจะได้ประโยชน์ทำให้ยอดการส่งออกผักสดไปยังตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น เนื่องจากผักที่ทางเยอรมันสงสัยว่าจะเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดนั้นเป็นผักที่นำมารับประทานเป็นสลัด และมิได้เป็นผักกลุ่มที่มีการนำเข้าจากประเทศไทย อีกทั้ง ปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงมาตรการตรวจเข้มผักสวนครัวสดที่นำเข้าจากไทย โดยเฉพาะการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไล, ซาลโมเนลลา และยาฆ่าแมลงตกค้าง
นางอรวรณ เผยต่อว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรใช้เป็นบทเรียน กลับมาให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและแม่นยำของระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)เพื่อลดผลกระทบกับทุกฝ่ายหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในครั้งต่อไป
นางอรวรรณ แก้วประกายแสงกูล รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ในปี 2553 ไทยส่งออกสินค้าพืชผักสดเข้าตลาดสหภาพยุโรปเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,925 ล้านบาท และในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่าการส่งเข้าตลาดสหภาพยุโรปประมาณ 877 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากกรณีเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อก่อโรคอุบัติใหม่ Escherichia coli (E. coli) O104: H4 ที่มีจุดเริ่มต้นครั้งแรกในประเทศเยอรมันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา จากการประเมิน ภาคส่งออกสินค้าเกษตรและพืชผักของไทย ไม่น่าจะได้ประโยชน์ทำให้ยอดการส่งออกผักสดไปยังตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น เนื่องจากผักที่ทางเยอรมันสงสัยว่าจะเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดนั้นเป็นผักที่นำมารับประทานเป็นสลัด และมิได้เป็นผักกลุ่มที่มีการนำเข้าจากประเทศไทย อีกทั้ง ปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงมาตรการตรวจเข้มผักสวนครัวสดที่นำเข้าจากไทย โดยเฉพาะการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไล, ซาลโมเนลลา และยาฆ่าแมลงตกค้าง
นางอรวรณ เผยต่อว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรใช้เป็นบทเรียน กลับมาให้ความสำคัญกับความรวดเร็วและแม่นยำของระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)เพื่อลดผลกระทบกับทุกฝ่ายหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในครั้งต่อไป