สศอ.มอบ ทีดีอาร์ไอ ติดตามผล FTA พบ 6 เดือนแรก ภาคส่งออกไทยได้รับประโยชน์ด้านภาษีกว่า 50,533 ล้านบาท ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ส่วนผู้นำเข้าไทยประหยัดภาษีศุลกากรได้ถึง 26,620 ล้านบาท ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากประเทศภาคี FTA
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ติดตามสถานะความคืบหน้า ผลกระทบและการใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ ในปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ทำร่วมกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ทั้ง FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้วระยะหนึ่ง พบผลการศึกษาการใช้ประโยชน์จาก FTA ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 พบว่า ผู้ประกอบการในไทยทั้งภาคส่งออกและภาคนำเข้ายังคงพึ่งพาการใช้ประโยชน์จาก FTA เดิมเป็นหลัก สำหรับ FTA ใหม่ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการที่มีเครือข่ายการผลิตหรือใช้วัตถุดิบจากประเทศภาคี มีโอกาสในการใช้ประโยชน์มากขึ้นจากการผ่อนคลายความเข้มงวดของเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าพบว่า ยังมีการใช้ประโยชน์ในระดับที่น้อยมาก โดยภาคส่งออกไทยได้รับประโยชน์ด้านภาษีจาก FTA เดิม 5 ฉบับ รวมเป็นมูลค่า 50,533 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.19 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปยังประเทศภาคี FTA เหล่านี้ โดยประโยชน์ที่ได้รับนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 14,521 ล้านบาท ทั้งนี้ ความตกลงที่ทำให้เกิดการประหยัดภาษีศุลกากรมากที่สุดคือ ความตกลง AFTA (34,986 ล้านบาท) และความตกลง TAFTA (5,191 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกไทยทางทีดีอาร์ไอ ยังพบว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการภาคส่งออก ยังใช้ประโยชน์จาก FTA ได้ไม่เต็มที่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกยังใช้สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าระดับเต็มที่ 41,391 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกสินค้ากลุ่มยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสาขาใช้สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าระดับเต็มที่กว่า 3,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน ผู้นำเข้าไทยสามารถประหยัดภาษีศุลกากรได้ 26,620 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.72 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากประเทศภาคี FTA
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ติดตามสถานะความคืบหน้า ผลกระทบและการใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ ในปัจจุบันที่ประเทศไทยได้ทำร่วมกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ทั้ง FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้วระยะหนึ่ง พบผลการศึกษาการใช้ประโยชน์จาก FTA ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 พบว่า ผู้ประกอบการในไทยทั้งภาคส่งออกและภาคนำเข้ายังคงพึ่งพาการใช้ประโยชน์จาก FTA เดิมเป็นหลัก สำหรับ FTA ใหม่ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการที่มีเครือข่ายการผลิตหรือใช้วัตถุดิบจากประเทศภาคี มีโอกาสในการใช้ประโยชน์มากขึ้นจากการผ่อนคลายความเข้มงวดของเกณฑ์การพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าพบว่า ยังมีการใช้ประโยชน์ในระดับที่น้อยมาก โดยภาคส่งออกไทยได้รับประโยชน์ด้านภาษีจาก FTA เดิม 5 ฉบับ รวมเป็นมูลค่า 50,533 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.19 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปยังประเทศภาคี FTA เหล่านี้ โดยประโยชน์ที่ได้รับนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 14,521 ล้านบาท ทั้งนี้ ความตกลงที่ทำให้เกิดการประหยัดภาษีศุลกากรมากที่สุดคือ ความตกลง AFTA (34,986 ล้านบาท) และความตกลง TAFTA (5,191 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม ภาคส่งออกไทยทางทีดีอาร์ไอ ยังพบว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการภาคส่งออก ยังใช้ประโยชน์จาก FTA ได้ไม่เต็มที่ กล่าวคือ ผู้ส่งออกยังใช้สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าระดับเต็มที่ 41,391 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกสินค้ากลุ่มยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรกล และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละสาขาใช้สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าระดับเต็มที่กว่า 3,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน ผู้นำเข้าไทยสามารถประหยัดภาษีศุลกากรได้ 26,620 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.72 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากประเทศภาคี FTA