สศอ.เผยแผนเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไทย และแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา เชื่อเป็นโครงการเสริมแกร่งอุตสาหกรรมไทยยั่งยืน พร้อมแข่งเวทีอาเซียน เล็งขยาย19 สาขา จาก 14 สาขา จำนวน 38 โครงการ
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ ภาคอุตสาหกรรม (Productivity) และแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ว่าเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก และตอกย้ำความเป็นผู้นำของภาคอุตสาหกรรมไทยในเวทีอาเซียน
“จากการดำเนินโครงการ ภายใต้แผนแม่บททั้ง 2 แผน ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้จะมีงบประมาณในจำนวนที่จำกัด แต่เราสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยได้รุดหน้าเป็นอย่างมาก เช่น ปีที่ผ่านมา(2553) ภายใต้แผน Productivity เราได้งบประมาณทั้งสิ้น 249.7 ล้านบาท ดำเนินโครงการคลอบคลุม 14 สาขาอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาบุคลากรได้กว่า 27,257 คน ช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการผลิตเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพให้ผู้ประกอบการกว่า 691 โรงงาน สนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น” ผอ.สศอ.กล่าว
ส่วนแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ได้งบประมาณทั้งสิ้น 78 ล้านบาท ครอบคลุม 6 สาขาอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการทั้งสิ้น 10 โครงการ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เช่น การพัฒนานวัตกรรมเตาเผาเซรามิค ด้วยเชื้อเพลิงจากถ่านหิน บิทูมินัส เพื่อลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงที่เดิมผู้ประกอบการต้องใช้เชื้อเพลิงจากก๊าช LPGซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสนใจนำนวัตกรรมภายใต้แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาไปใช้ในการดำเนินกิจการ
ทั้งนี้ในปี 2554 สศอ.จะได้ดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จ และสร้างความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยแผนแม่บท Productivity ได้เพิ่มจำนวนสาขาอุตสาหกรรมให้มากขึ้นเป็น 19 สาขา จาก 14 สาขา จำนวน 38 โครงการ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้กับอุตสาหกรรม และยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการภายใต้แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ ภาคอุตสาหกรรม (Productivity) และแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ว่าเป็นโครงการที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก และตอกย้ำความเป็นผู้นำของภาคอุตสาหกรรมไทยในเวทีอาเซียน
“จากการดำเนินโครงการ ภายใต้แผนแม่บททั้ง 2 แผน ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แม้จะมีงบประมาณในจำนวนที่จำกัด แต่เราสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยได้รุดหน้าเป็นอย่างมาก เช่น ปีที่ผ่านมา(2553) ภายใต้แผน Productivity เราได้งบประมาณทั้งสิ้น 249.7 ล้านบาท ดำเนินโครงการคลอบคลุม 14 สาขาอุตสาหกรรม สามารถพัฒนาบุคลากรได้กว่า 27,257 คน ช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านการผลิตเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพให้ผู้ประกอบการกว่า 691 โรงงาน สนับสนุนให้เกิดการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น” ผอ.สศอ.กล่าว
ส่วนแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ได้งบประมาณทั้งสิ้น 78 ล้านบาท ครอบคลุม 6 สาขาอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการทั้งสิ้น 10 โครงการ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง เช่น การพัฒนานวัตกรรมเตาเผาเซรามิค ด้วยเชื้อเพลิงจากถ่านหิน บิทูมินัส เพื่อลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงที่เดิมผู้ประกอบการต้องใช้เชื้อเพลิงจากก๊าช LPGซึ่งมีผู้ประกอบการจำนวนมากให้ความสนใจนำนวัตกรรมภายใต้แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาไปใช้ในการดำเนินกิจการ
ทั้งนี้ในปี 2554 สศอ.จะได้ดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จ และสร้างความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยแผนแม่บท Productivity ได้เพิ่มจำนวนสาขาอุตสาหกรรมให้มากขึ้นเป็น 19 สาขา จาก 14 สาขา จำนวน 38 โครงการ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะเป็นการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตให้กับอุตสาหกรรม และยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม