วว.โชว์ผลงานผลิต “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเส้นใยผลไม้ไทย” รองรับความต้องการของตลาดอาหารเพื่อสุขภาพทั่วโลก โดยนำผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ทดลองเติมใยอาหารในไส้กรอก และขนมปัง
ดร. โศรดา วัลภา นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทางสถาบันฯได้นำวัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้มาผ่านขบวนการแปรรูปเป็น "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเส้นใยผลไม้ไทย" ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่ต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มของใยอาหารมากขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการทั่วโลกหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีการเติมใยอาหาร
ทั้งนี้ ประเทศไทยเรามีจุดแข็งด้านทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้มีโอกาสสูงที่จะนำทรัพยากรที่มีมากเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตใยอาหาร ที่สามารถใช้สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ
ดังนั้น ทีมงานจึงได้นำ ผลไม้ไทยกลุ่มที่มีเปลือกหนา เพราะกลุ่มนี้จะมีไฟเบอร์สูง มาผ่านขบวนการที่คิดค้นกระทั่งออกเป็นผง พร้อมนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหารได้หลากหลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว โดยปริมาณที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์อาหาร
ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและลูกชิ้นสามารถใช้ได้ในปริมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์ขนมปังแซนด์วิชสามารถใช้ใยอาหารได้ในระดับที่สามารถจัดว่าเป็นขนมปังที่มีใยอาหารสูง (ไม่ต่ำกว่า 20% Thai RDI) ผลิตภัณฑ์ขนมปังขาไก่สามารถเติมใยอาหารในระดับที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นแหล่งของใยอาหาร (10-19% Thai RDI)
สนใจ โทร. 0-2577-9300
ดร. โศรดา วัลภา นักวิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทางสถาบันฯได้นำวัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้มาผ่านขบวนการแปรรูปเป็น "ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเส้นใยผลไม้ไทย" ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่ต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มของใยอาหารมากขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการทั่วโลกหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีการเติมใยอาหาร
ทั้งนี้ ประเทศไทยเรามีจุดแข็งด้านทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร ทำให้มีโอกาสสูงที่จะนำทรัพยากรที่มีมากเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตใยอาหาร ที่สามารถใช้สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ
ดังนั้น ทีมงานจึงได้นำ ผลไม้ไทยกลุ่มที่มีเปลือกหนา เพราะกลุ่มนี้จะมีไฟเบอร์สูง มาผ่านขบวนการที่คิดค้นกระทั่งออกเป็นผง พร้อมนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหารได้หลากหลายประเภท อาทิ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว โดยปริมาณที่สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์อาหาร
ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ไส้กรอกและลูกชิ้นสามารถใช้ได้ในปริมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์ขนมปังแซนด์วิชสามารถใช้ใยอาหารได้ในระดับที่สามารถจัดว่าเป็นขนมปังที่มีใยอาหารสูง (ไม่ต่ำกว่า 20% Thai RDI) ผลิตภัณฑ์ขนมปังขาไก่สามารถเติมใยอาหารในระดับที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นแหล่งของใยอาหาร (10-19% Thai RDI)
สนใจ โทร. 0-2577-9300