xs
xsm
sm
md
lg

ปลาร้าไทยโกอินเตอร์ ชี้ส่งออกมะกันโอกาสรุ่ง!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กรมส่งออกเผย ยอดส่งออกปลาร้ากระป๋องไปประเทศสหรัฐฯ ของ 10 เดือนแรกปีที่แล้วกว่า 27 ลบ. ชี้ตลาดมีแนวโน้มเติบโตยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันชาวไทย และชาวอินโดจีนไปทำงานในแดนมะกันเพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ ทำให้ความต้องการปลาร้าในต่างแดนสูงขึ้นตามไปด้วย แนะสร้างมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อสะดวกในการบุกตลาดส่งออก

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า ปลาหมักดอง หรือ ปลารา (Pickled Preserved Fish) จากประเทศไทย ในช่วง 10 เดือนของปี 2552 ที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกา (มกราคม-ตุลาคม) มีการนำเข้าเปนมูลคาประมาณ 0.84 ลานสหรัฐฯ (ประมาณ 27 ลานบาท)

ทั้งนี้ การบริโภคปลาหมักดองของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ ไม่แพร่หลายมากนัก แต่กลุ่มผู้บริโภคปลาหมักดอง/ปลาร้าในสหรัฐฯ ที่สำคัญ คือ คนไทยที่ไปทำงานสหรัฐฯ รวมถึง กลุ่มผู้อพยพชาวอินโดจีน ได้แก่ ชาวลาว ชาวเขมร และชาวเวียดนาม ที่กระจัดกระจายทั่วประเทศสหรัฐฯ โดยมลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นพื้นที่ผู้บริโภคอินโดจีนอาศัยอยู่มากที่สุด และมลรัฐเท็กซัสมากเป็นอันดับที่สอง ซึ่งกลุ่มลูกหลานของผู้อพยพอินโดจีนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯส่วนใหญ่ยังคงไม่ละทิ้งอาหารประจำชาติ และรักษาขนบธรรมเนียมการบริโภคอาหารของชาติตนเอง อีกทั้งผู้บริโภคในกลุ่มนี้มีการขยายตัวจำนวนประชากรในอัตราสูงและต่อเนื่อง จึงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการบริโภคและการขยายตลาดปลาหมักดองหรือปลาร้าของไทยเพิ่มมากขึ้นในอนาคตในตลาดสหรัฐฯ

นอกจากนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีและเครื่องมือเครื่องจักรทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนารูปแบบ การผลิตปลาหมักดองให้มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ผ่านการฆ่าเชื้อ (pasteurize) เพื่อรักษาคุณภาพ รสชาติ และมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตลาดการบริโภคปลาหมักดอง (ปลาร้า) มีแนวโน้มสดใส ในสหรัฐอเมริกา และมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในอนาคต

นางศรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ปลาหมักดองหรือปลาร้าเป็นสินค้าที่มีอัตราความปลอดภัยต่ำ และถูกตรวจสอบในการนำเข้าอย่างเข้มงวด ดังนั้น ผู้ผลิต/ส่งออก สมาคม และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะต้องหันมาร่วมมือและช่วยกันยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตปลาร้าของไทยให้มีมาตรฐานสุขลักษณะสูงขึ้น(Sanitation Standard) รวมไปถึงการจัดทำระบบการผลิตให้ตรงตามมาตรฐาน HACCP ซึ่งเป็นระบบการจัดการและควบคุมกระบวนการผลิตให้ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ปราศจากอันตรายจากจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ตามมาตรฐานสากล และเป็นข้อกำหนดสำคัญของสหรัฐฯ ซึ่งกำหนดโรงงานผลิตสินค้าปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อสนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไทยไปยังสหรัฐฯ

“ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยที่ต้องการขยายตลาดปลาร้าในสหรัฐฯควรมุ่งไปยังกลุ่มผู้อพยพอินโดจีนและครอบครัวที่อาศัยในรัฐแคลิฟอเนีย รัฐเท็กซัส และรัฐมินเนโซต้า เป็นสำคัญ โดยติดต่อไปยังผู้นำเข้าอาหารเอเซียในรัฐแคลิฟอร์เนียหรือรัฐนิวยอร์ก ซึ่งจะเป็นผู้นำเข้าและกระจายสินค้าไปอีกทอดหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ส่งออกไทยมีคำถามและข้อสงสัยในการส่งออกปลาหมักดอง/ปลาร้า สามารถสอบถามได้ยังหน่วยงาน FDA สหรัฐฯที่รับผิดชอบได้โดยตรงทาง LACF@FDA.HHS.GOV” นางศรีรัตน์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น