สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย หลังครม.อนุมัติงบ 1,000 ล้านบาท ตามแผนยกระดับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เฟสแรก 6 ปี (2547-2552) สำเร็จเกินคาด พัฒนาบุคลากรกว่า 6,000 คน ลดการนำเข้าปี 2548 จาก 27,073 ล้านบาท เหลือ 20,195 ล้านบาทในปี 2551 และดันส่งออกเพิ่มจาก4,600 ล้านบาทในปี2548 เป็น 11,400 ล้านบาท ในปี 2551 และเตรียมจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 7 แห่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำ
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. เปิดเผยถึง อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ในปัจจุบันความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ ดังนั้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำแผนพัฒนา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อย่างยั่งยืนขึ้น จนถึงปัจจุบันมีแผนปฏิบัติการเข้าสู่ระยะที่ 2 (ปี 2553-2557) โดยเป็นแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้ ภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท
“กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมแม่พิมพ์หากมีความเข้มแข็งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย และช่วยลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศ ที่มีมูลค่าโดยรวมปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยการดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อย่างบูรณาการ ระยะแรก 6 ปี (2547-2552) ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งได้มีการพัฒนาบุคลากร ด้านช่างเทคนิคแม่พิมพ์ไปแล้วกว่า 6,600 คน รวมถึงการยกระดับการพัฒนาแท่นพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพทดแทนการนำเข้าได้อย่างน่าพอใจ ช่วยให้ตัวเลขการนำเข้าแม่พิมพ์ค่อยลดลงอย่างชัดเจนจาก 27,073 ล้านบาทในปี 2548 ลดลงมาเหลือ 20,195 ล้านบาทในปี 2551 ขณะที่การส่งออกมีทิศทางเพิ่มขึ้น จาก 4,600 ล้านบาทในปี 2548 เพิ่มเป็น 11,400 ล้านบาทในปี 2551” สศอ.กล่าว
อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีความยั่งยืนจึงได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง(Excellence Center) 7 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแม่พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและธนบุรี มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น อันจะช่วยเสริมขีดความสามารถในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. เปิดเผยถึง อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ที่ในปัจจุบันความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ ดังนั้น ทางกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำแผนพัฒนา เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อย่างยั่งยืนขึ้น จนถึงปัจจุบันมีแผนปฏิบัติการเข้าสู่ระยะที่ 2 (ปี 2553-2557) โดยเป็นแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีในเร็วๆนี้ ภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท
“กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอุตสาหกรรมสาขาอื่นๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมแม่พิมพ์หากมีความเข้มแข็งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย และช่วยลดการนำเข้าแม่พิมพ์จากต่างประเทศ ที่มีมูลค่าโดยรวมปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยการดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อย่างบูรณาการ ระยะแรก 6 ปี (2547-2552) ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งได้มีการพัฒนาบุคลากร ด้านช่างเทคนิคแม่พิมพ์ไปแล้วกว่า 6,600 คน รวมถึงการยกระดับการพัฒนาแท่นพิมพ์ให้มีประสิทธิภาพทดแทนการนำเข้าได้อย่างน่าพอใจ ช่วยให้ตัวเลขการนำเข้าแม่พิมพ์ค่อยลดลงอย่างชัดเจนจาก 27,073 ล้านบาทในปี 2548 ลดลงมาเหลือ 20,195 ล้านบาทในปี 2551 ขณะที่การส่งออกมีทิศทางเพิ่มขึ้น จาก 4,600 ล้านบาทในปี 2548 เพิ่มเป็น 11,400 ล้านบาทในปี 2551” สศอ.กล่าว
อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีความยั่งยืนจึงได้จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง(Excellence Center) 7 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแม่พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและธนบุรี มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย และ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น อันจะช่วยเสริมขีดความสามารถในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน