ธปท. ชี้การปล่อยสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอี ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.3 ขณะที่ไตรมาส 2 ติดลบร้อยละ 5.6 เป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบปี หลังภาครัฐเร่งให้ธ.พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่ม และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนี่องจนถึงไตรมาส 4
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) กล่าวว่า ธปท.พบว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะสินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หากเทียบกับไตรมาส 2 ที่ติดลบร้อยละ 5.6 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรก หลังจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้น
หลังจากที่ภาครัฐออกมากำชับให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีจากปกติที่มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีและเน้นการให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า อย่างไรก็ตาม สินเชื่อเอสเอ็มอีจะขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4 ปีนี้หรือไม่ ต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจเป็นหลักว่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนหรือไม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงการปล่อยสินเชื่อจะขยายตัวตาม
น.ส.นวพร กล่าวว่า แม้สินเชื่อเอสเอ็มอีจะขยายตัว แต่ความต้องการสินเชื่อหมุนเวียน ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน เพราะภาคเอกชนยังไม่มีโครงการลงทุนใหม่ ยังไม่มีการเพิ่มกำลังการผลิต แม้ว่าโครงการลงทุนของภาครัฐจะเริ่มก่อสร้างบ้างก็ตาม
ส่วนกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 26,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2จำนวน 6,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากดอกเบี้ยในสัดส่วนร้อยละ 66 แต่อัตราการเติบโตชะลอลงร้อยละ 1 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
น.ส.นวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) กล่าวว่า ธปท.พบว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะสินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 หากเทียบกับไตรมาส 2 ที่ติดลบร้อยละ 5.6 ซึ่งถือเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรก หลังจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้น
หลังจากที่ภาครัฐออกมากำชับให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีจากปกติที่มีการเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีและเน้นการให้สินเชื่อกับธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า อย่างไรก็ตาม สินเชื่อเอสเอ็มอีจะขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4 ปีนี้หรือไม่ ต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจเป็นหลักว่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนหรือไม่ ซึ่งหากเศรษฐกิจฟื้นตัวจริงการปล่อยสินเชื่อจะขยายตัวตาม
น.ส.นวพร กล่าวว่า แม้สินเชื่อเอสเอ็มอีจะขยายตัว แต่ความต้องการสินเชื่อหมุนเวียน ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน เพราะภาคเอกชนยังไม่มีโครงการลงทุนใหม่ ยังไม่มีการเพิ่มกำลังการผลิต แม้ว่าโครงการลงทุนของภาครัฐจะเริ่มก่อสร้างบ้างก็ตาม
ส่วนกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 26,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2จำนวน 6,000 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากดอกเบี้ยในสัดส่วนร้อยละ 66 แต่อัตราการเติบโตชะลอลงร้อยละ 1 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา