เอสเอ็มอีแบงก์ เผยยอดอนุมัติสินเชื่อโครงการชะลอเลิกจ้างแรงงาน จำนวนเงินกว่า 7,200 ล้านบาท รวม 500 กิจการ ผู้ประกอบการชี้ส่งผลให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ เกิดจากจ้างงานเพิ่ม ต้นทุนต่ำ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันสูงขึ้น
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยถึง สินเชื่อโครงการชะลอการเลิกจ้างแรงงานซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจยื่นขอสินเชื่อจำนวนมาก และขณะนี้ยอดการอนุมัติสินเชื่อทะลุวงเงินของโครงการฯที่ตั้งไว้ 6,000 ล้านบาทแล้ว ณ 30 กันยายน 2552 ในส่วนนี้ได้ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้ว 2,642 ล้านบาท คิดเป็น 173 ราย 345 สัญญา ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการเบิกจ่ายตามงวดงาน
“สินเชื่อโครงการชะลอการเลิกจ้างแรงงานนับเป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมาก จนขณะนี้ยังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจพิเศษ 5% ต่อปี คงที่ 5 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำมากในท้องตลาด วงเงินกู้สูงสุดรายละ 200 ล้านบาท และขณะนี้มีการหารือกับรัฐมนตรีไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.กระทรวงแรงงาน เพื่อขอเงินฝากสนับสนุนโครงการฯเพิ่มเติม คาดว่าจะเพิ่มวงเงินสินเชื่ออีก 4,000 ล้านบาท ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป” นายโสฬส กล่าว
ด้านนายชาลี เศรษฐ์ภักดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท นครหลวงพัฒนาวิศวกิจ จำกัด ผู้ผลิตเหล็กและเหล็กเส้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงานกับเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ในช่วงเศรษฐกิจขาลงที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เนื่องจากโครงการก่อสร้างและการผลิตรถยนต์หยุดชะงัก ทำให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาดมาเน้นตลาดในประเทศมากขึ้น ดังนั้น โครงการสินเชื่อชะลอเลิกจ้างแรงงาน จึงส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบของบริษัท สามารถลดต้นทุนการซื้อวัตถุดิบลงได้ถึง 30% เนื่องจากไม่ต้องซื้อวัตถุดิบจากนายหน้า นอกจากนี้ บริษัทสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบล็อตใหญ่ได้โดยตรงจากแหล่งผลิตทำให้ได้ราคาวัตถุดิบที่ต่ำลง ซึ่งทำให้สินค้าของบริษัทสามารถต่อสู้และแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนนายสมชาย ศรีประจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรสถิตย์ ฟรีซิชั่น จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนมอเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการสนับสนุนโครงการสินเชื่อชะลอเลิกจ้างแรงงานกับเอสเอ็มอีแบงก์ ทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ไม่ต้องปิดกิจการเหมือนเช่นโรงงานในกลุ่มเดียวกันหลายโรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา และขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยอีก 1-2 เดือนข้างหน้าบริษัทมีแผนจ้างแรงงานเพิ่มอีกจำนวนมาก เพื่อรองรับกับปริมาณกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีลูกจ้างแรงงานประมาณ 90 คน มีกำลังการผลิต 400,000 – 500,000 ชิ้นต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1,000,000 ชิ้น จึงถือเป็นโอกาสของบริษัทฯที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว เพราะสามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดต่อเนื่องในภาวะวิกฤต และช่วยปูทางให้มีความพร้อมที่จะเติบโตต่อไป
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยถึง สินเชื่อโครงการชะลอการเลิกจ้างแรงงานซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานว่า มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสนใจยื่นขอสินเชื่อจำนวนมาก และขณะนี้ยอดการอนุมัติสินเชื่อทะลุวงเงินของโครงการฯที่ตั้งไว้ 6,000 ล้านบาทแล้ว ณ 30 กันยายน 2552 ในส่วนนี้ได้ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้ว 2,642 ล้านบาท คิดเป็น 173 ราย 345 สัญญา ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการเบิกจ่ายตามงวดงาน
“สินเชื่อโครงการชะลอการเลิกจ้างแรงงานนับเป็นสินเชื่อที่ได้รับความนิยมมาก จนขณะนี้ยังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจพิเศษ 5% ต่อปี คงที่ 5 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำมากในท้องตลาด วงเงินกู้สูงสุดรายละ 200 ล้านบาท และขณะนี้มีการหารือกับรัฐมนตรีไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.กระทรวงแรงงาน เพื่อขอเงินฝากสนับสนุนโครงการฯเพิ่มเติม คาดว่าจะเพิ่มวงเงินสินเชื่ออีก 4,000 ล้านบาท ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป” นายโสฬส กล่าว
ด้านนายชาลี เศรษฐ์ภักดี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท นครหลวงพัฒนาวิศวกิจ จำกัด ผู้ผลิตเหล็กและเหล็กเส้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการเลิกจ้างแรงงานกับเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ในช่วงเศรษฐกิจขาลงที่ผ่านมาบริษัทได้รับผลกระทบมากเช่นกัน เนื่องจากโครงการก่อสร้างและการผลิตรถยนต์หยุดชะงัก ทำให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาดมาเน้นตลาดในประเทศมากขึ้น ดังนั้น โครงการสินเชื่อชะลอเลิกจ้างแรงงาน จึงส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบของบริษัท สามารถลดต้นทุนการซื้อวัตถุดิบลงได้ถึง 30% เนื่องจากไม่ต้องซื้อวัตถุดิบจากนายหน้า นอกจากนี้ บริษัทสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบล็อตใหญ่ได้โดยตรงจากแหล่งผลิตทำให้ได้ราคาวัตถุดิบที่ต่ำลง ซึ่งทำให้สินค้าของบริษัทสามารถต่อสู้และแข่งขันได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนนายสมชาย ศรีประจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรสถิตย์ ฟรีซิชั่น จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนมอเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการสนับสนุนโครงการสินเชื่อชะลอเลิกจ้างแรงงานกับเอสเอ็มอีแบงก์ ทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ไม่ต้องปิดกิจการเหมือนเช่นโรงงานในกลุ่มเดียวกันหลายโรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา และขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยอีก 1-2 เดือนข้างหน้าบริษัทมีแผนจ้างแรงงานเพิ่มอีกจำนวนมาก เพื่อรองรับกับปริมาณกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีลูกจ้างแรงงานประมาณ 90 คน มีกำลังการผลิต 400,000 – 500,000 ชิ้นต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1,000,000 ชิ้น จึงถือเป็นโอกาสของบริษัทฯที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว เพราะสามารถพยุงธุรกิจให้อยู่รอดต่อเนื่องในภาวะวิกฤต และช่วยปูทางให้มีความพร้อมที่จะเติบโตต่อไป