เอสเอ็มอีแบงก์ เปิดโครงการคลินิกเงินทุน เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงลึก พร้อมผลักดันยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร คาดสิ้นปีผู้เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับการอนุมัติไม่น้อยกว่า 300 ราย
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดทำโครงการคลินิกเงินทุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มายื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อของ ธพว. ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารได้จัดทำขึ้นเป็นปีแรก เพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการ SMEs ที่มาขอสินเชื่อกับธนาคารส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมทำให้ไม่สามารถได้รับการพิจารณาสินเชื่อ
“ธนาคารพบว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็ก - ขนาดกลาง จำนวนไม่น้อยที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น มีวัตถุประสงค์การใช้เงินไม่ชัดเจน หรือ ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การให้เงินกู้ของธนาคาร งบการเงินฉบับนำส่งกรมสรรพกร แสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน จนไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่แท้จริง แผนฟื้นฟูกิจการไม่ชัดเจนทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และการเงิน กิจการมีสัดส่วนหนี้สินมากเกินไป โครงการมีความเป็นได้ทางการเงินน้อย เป็นต้น”
ดังนั้น ธนาคารจึงถือเป็นภารกิจหลักที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs แม้จะยังไม่ได้เป็นลูกค้าของธนาคารก็ตาม โดยจะเน้นการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความประสงค์ขอกู้กับธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปประกบผู้ประกอบการตามรายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเข้าไปตรวจสภาพธุรกิจ วินิจฉัยสถานประกอบการ และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกต่อรายกิจการ เช่น ช่วยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ดูแลงบการเงิน การบริหารจัดการ แผนการผลิต แผนการตลาด จนกระทั่งให้คำแนะนำทำแผนธุรกิจเพื่อนำยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนาผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 470 ราย และมีการอนุมัติสินเชื่อให้ไปแล้ว 255 ราย หรือคิดเป็น 54.14% และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 500 ราย และจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อไม่น้อยกว่า 300 ราย
นายโสฬส กล่าวอีกว่า ในปี 2552 นี้ ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเน้นบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการเข้าไปพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงลึก นอกเหนือจากการสนับสนุนเงินทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่ และพร้อมที่จะพัฒนากิจการสามารถมีเงินทุนขยายกิจการ ต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดทำโครงการคลินิกเงินทุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มายื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์พิจารณาสินเชื่อของ ธพว. ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารได้จัดทำขึ้นเป็นปีแรก เพื่อรองรับกับสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ประกอบการ SMEs ที่มาขอสินเชื่อกับธนาคารส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมทำให้ไม่สามารถได้รับการพิจารณาสินเชื่อ
“ธนาคารพบว่า ผู้ประกอบการขนาดเล็ก - ขนาดกลาง จำนวนไม่น้อยที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เช่น มีวัตถุประสงค์การใช้เงินไม่ชัดเจน หรือ ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การให้เงินกู้ของธนาคาร งบการเงินฉบับนำส่งกรมสรรพกร แสดงรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน จนไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่แท้จริง แผนฟื้นฟูกิจการไม่ชัดเจนทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และการเงิน กิจการมีสัดส่วนหนี้สินมากเกินไป โครงการมีความเป็นได้ทางการเงินน้อย เป็นต้น”
ดังนั้น ธนาคารจึงถือเป็นภารกิจหลักที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs แม้จะยังไม่ได้เป็นลูกค้าของธนาคารก็ตาม โดยจะเน้นการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีความประสงค์ขอกู้กับธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปประกบผู้ประกอบการตามรายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเข้าไปตรวจสภาพธุรกิจ วินิจฉัยสถานประกอบการ และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกต่อรายกิจการ เช่น ช่วยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ดูแลงบการเงิน การบริหารจัดการ แผนการผลิต แผนการตลาด จนกระทั่งให้คำแนะนำทำแผนธุรกิจเพื่อนำยื่นขอสินเชื่อกับธนาคาร ซึ่งในส่วนนี้ได้พัฒนาผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 470 ราย และมีการอนุมัติสินเชื่อให้ไปแล้ว 255 ราย หรือคิดเป็น 54.14% และคาดว่าในสิ้นปีนี้จะมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 500 ราย และจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อไม่น้อยกว่า 300 ราย
นายโสฬส กล่าวอีกว่า ในปี 2552 นี้ ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเน้นบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการเข้าไปพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงลึก นอกเหนือจากการสนับสนุนเงินทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการอยู่ และพร้อมที่จะพัฒนากิจการสามารถมีเงินทุนขยายกิจการ ต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย