สสว. สานต่อโครงการ Machine Fund หลังระยะแรกช่วยสนับสนุนดอกเบี้ยผู้ประกอบการ SMEs ไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท เดินหน้าระยะที่ 2 พร้อมเม็ดเงินอุดหนุนดอกเบี้ย 3% ยาว 5 ปี หวังช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุน ได้
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือ ด้านต้นทุนการผลิตที่มาจากการใช้เครื่องจักรที่ด้อยประสิทธิภาพ หรือการทุ่มงบประมาณเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่
ทั้งนี้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ SMEs มีการนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศเพื่อมาทดแทนเครื่องจักรเก่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ ผู้ประกอบการบางรายไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ก็ได้ เพียงแต่นำเครื่องจักรเก่ามาปรับปรุงหรือซ่อมแซมให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็จะถือเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดการนำเข้า ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มยอดขายได้อีกทางหนึ่ง
“ในประเทศไทยมีเครื่องจักรเก่าที่ไม่ได้ใช้งานเลยกว่า 80,000 เครื่อง ซึ่งเมื่อดูจากจำนวนเครื่องจักรจะเห็นว่า ถ้ามีการนำเครื่องจักรเหล่านี้มาปรับปรุง ฟื้นฟู ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้านสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่สำคัญยังถือเป็นการพัฒนาทักษะช่างฝีมือในบ้านเรา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า ช่างฝีมือทางด้านเครื่องจักรกลของบ้านเราค่อนข้างมีฝีมือ” นายภักดิ์ กล่าว
ด้วยเหตุนี้ สสว.จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปรับปรุง/ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องจักร การปรับปรุงเครื่องจักรเดิม และการติดตั้งเครื่องจักรทั้งในสายการผลิตเดิม และสายการผลิตใหม่ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ให้เหมาะกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งประโยชน์ทางด้านการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับรูปแบบการดำเนินโครงการฯ ในระยะแรก สสว. ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 100 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และธนาคารพาณิชย์ จำนวน 9 แห่ง โดย สสว. ได้มอบให้ สอท. ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและประเมินเครื่องจักร และจัดส่งให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs โดย สสว. ทำหน้าที่สนับสนุนดอกเบี้ย 3% ของเงินกู้ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติจากธนาคาร เป็นระยะเวลา 5 ปี
“การดำเนินโครงการในระยะแรก มีผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุน รวมทั้งสิ้น 70 ราย คิดเป็นวงเงินที่มีการอนุมัติสินเชื่อ ประมาณ 946 ล้านบาท มีเครื่องจักรที่ได้รับการสนับสนุน ประมาณ 446 เครื่อง วงเงินที่ได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ย 3% จาก สสว. ประมาณ 82 ล้านบาท และจากการติดตามประเมินผลโครงการระยะแรก ปรากฎว่าผู้ประกอบการ SMEs สามารถยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์โดยรวมสูงขึ้น ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น และได้กำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตในด้านค่ากระแสไฟฟ้า โดยเฉลี่ยประมาณ 30 % รวมทั้งได้คุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายภักดิ์ กล่าว
ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการฯ ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการดำเนินโครงการระยะที่ 2 สสว. ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 70 ล้านบาท และได้ดำเนินการร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) โดย สสว. ได้มอบให้สถาบันไทย-เยอรมัน ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและประเมินเครื่องจักร และจัดส่งผลให้กับธนาคารอนุมัติเงินกู้ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs โดย สสว. ยังคงสนับสนุนดอกเบี้ย 3% ของเงินกู้ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติจากธนาคาร เป็นระยะเวลา 5 ปี เช่นเคย
“การดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 2 สสว. จะดำเนินการไปจนถึงปลายปีนี้ จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจที่คาดว่า น่าจะดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดย สสว. ตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการประเมิน จำนวน 50 ราย วงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบการจะได้รับผ่านโครงการฯ จำนวน 700 ล้านบาท มีเครื่องจักรที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ จำนวน 100 เครื่อง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุนแล้ว รวมทั้งสิ้น 19 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ จำนวน 65 ล้านบาท เครื่องจักร จำนวน 45 เครื่อง” นายภักดิ์ กล่าว
นอกจากโครงการ Machine Fund แล้ว ปัจจุบัน สสว.ยังมีโครงการที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ โครงการเงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย หรือ Capacity Building Fund ซึ่งเป็นการดำเนินการโครงการต่อเนื่องจากปี 2551 โดยเป็นเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า (Grant) ไม่ต้องชำระคืนสูงสุด 50% ของค่าใช้จ่ายจริง วงเงินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือ ด้านต้นทุนการผลิตที่มาจากการใช้เครื่องจักรที่ด้อยประสิทธิภาพ หรือการทุ่มงบประมาณเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่
ทั้งนี้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ SMEs มีการนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศเพื่อมาทดแทนเครื่องจักรเก่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ ผู้ประกอบการบางรายไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ก็ได้ เพียงแต่นำเครื่องจักรเก่ามาปรับปรุงหรือซ่อมแซมให้สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ก็จะถือเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดการนำเข้า ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มยอดขายได้อีกทางหนึ่ง
“ในประเทศไทยมีเครื่องจักรเก่าที่ไม่ได้ใช้งานเลยกว่า 80,000 เครื่อง ซึ่งเมื่อดูจากจำนวนเครื่องจักรจะเห็นว่า ถ้ามีการนำเครื่องจักรเหล่านี้มาปรับปรุง ฟื้นฟู ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้านสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่สำคัญยังถือเป็นการพัฒนาทักษะช่างฝีมือในบ้านเรา ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่า ช่างฝีมือทางด้านเครื่องจักรกลของบ้านเราค่อนข้างมีฝีมือ” นายภักดิ์ กล่าว
ด้วยเหตุนี้ สสว.จึงได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปรับปรุง/ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการพัฒนาเครื่องจักร การปรับปรุงเครื่องจักรเดิม และการติดตั้งเครื่องจักรทั้งในสายการผลิตเดิม และสายการผลิตใหม่ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัย การปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ให้เหมาะกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลด้านการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งประโยชน์ทางด้านการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับรูปแบบการดำเนินโครงการฯ ในระยะแรก สสว. ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 100 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และธนาคารพาณิชย์ จำนวน 9 แห่ง โดย สสว. ได้มอบให้ สอท. ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและประเมินเครื่องจักร และจัดส่งให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs โดย สสว. ทำหน้าที่สนับสนุนดอกเบี้ย 3% ของเงินกู้ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติจากธนาคาร เป็นระยะเวลา 5 ปี
“การดำเนินโครงการในระยะแรก มีผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุน รวมทั้งสิ้น 70 ราย คิดเป็นวงเงินที่มีการอนุมัติสินเชื่อ ประมาณ 946 ล้านบาท มีเครื่องจักรที่ได้รับการสนับสนุน ประมาณ 446 เครื่อง วงเงินที่ได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ย 3% จาก สสว. ประมาณ 82 ล้านบาท และจากการติดตามประเมินผลโครงการระยะแรก ปรากฎว่าผู้ประกอบการ SMEs สามารถยกระดับประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์โดยรวมสูงขึ้น ทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้น และได้กำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตในด้านค่ากระแสไฟฟ้า โดยเฉลี่ยประมาณ 30 % รวมทั้งได้คุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ” นายภักดิ์ กล่าว
ขณะเดียวกัน การดำเนินโครงการฯ ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการดำเนินโครงการระยะที่ 2 สสว. ได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 70 ล้านบาท และได้ดำเนินการร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) โดย สสว. ได้มอบให้สถาบันไทย-เยอรมัน ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและประเมินเครื่องจักร และจัดส่งผลให้กับธนาคารอนุมัติเงินกู้ ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs โดย สสว. ยังคงสนับสนุนดอกเบี้ย 3% ของเงินกู้ที่ผู้ประกอบการได้รับอนุมัติจากธนาคาร เป็นระยะเวลา 5 ปี เช่นเคย
“การดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 2 สสว. จะดำเนินการไปจนถึงปลายปีนี้ จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจที่คาดว่า น่าจะดีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ โดย สสว. ตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการประเมิน จำนวน 50 ราย วงเงินสินเชื่อที่ผู้ประกอบการจะได้รับผ่านโครงการฯ จำนวน 700 ล้านบาท มีเครื่องจักรที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ จำนวน 100 เครื่อง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการ SMEs สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุนแล้ว รวมทั้งสิ้น 19 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ จำนวน 65 ล้านบาท เครื่องจักร จำนวน 45 เครื่อง” นายภักดิ์ กล่าว
นอกจากโครงการ Machine Fund แล้ว ปัจจุบัน สสว.ยังมีโครงการที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ได้แก่ โครงการเงินทุนสนับสนุนการประกอบธุรกิจของ SMEs ไทย หรือ Capacity Building Fund ซึ่งเป็นการดำเนินการโครงการต่อเนื่องจากปี 2551 โดยเป็นเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า (Grant) ไม่ต้องชำระคืนสูงสุด 50% ของค่าใช้จ่ายจริง วงเงินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย