สสว. จับมือ เทศบาลเมืองเบตง และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการเลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตงอย่างครบวงจร พร้อมกิจกรรมทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ ตั้งเป้าอนาคตสามารถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออก พร้อมผลักดันเป็นเมนูระดับภัตตาคาร และตั้งโรงเชือดมาตรฐานฮาลาล
นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากการที่ สสว. มีบทบาทและภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สสว.ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการด้านการเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พื้นเมืองในเชิงพาณิชย์มาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์ และการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ เพราะถือเป็นการสร้างรายได้เพิ่ม ให้แก่ ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
ล่าสุด สสว.ภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เบตง ที่ได้รับผลกระทบจนเกิดภาวะขาดทุนและเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณไก่ในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
“ไก่สายพันธุ์เบตง เป็นไก่เนื้อที่มีความต้องการของตลาดทั้งในพื้นที่ภาคใต้ กรุงเทพฯ และในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย แต่ปัญหาที่ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่กำลังประสบอยู่ก็คือ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการยังมีการเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ขนาดและคุณภาพของไก่ไม่คงที่ และยังไม่อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน” นายชาวันย์ กล่าว
ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไก่เบตงครบวงจรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้น โดยเป็นการดำเนินงานร่วมได้กับ เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่เบตงในเชิงพานิชย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการดังกล่าวในงานถนนคนเดิน (ครั้งที่ 5) 2552 (Betong Walking Street Festival 2009) ซึ่งเทศบาลเมืองเบตง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2552
“โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตงอย่างถูกต้อง มีคุณภาพคงที่ และได้มาตรฐาน ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าที่ท้องถิ่นผลิตได้ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป” นายชาวันย์ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ สสว.ได้ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน พร้อมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเลี้ยงไก่เบตง การจัดตั้งฟาร์มต้นแบบการผลิตลูกไก่เบตง การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ และร่วมมือกับสมาคมร้านอาหารและภัตตาคารชั้นนำ เพื่อนำไก่เบตงบรรจุในเมนูอาหารของร้านอาหารและภัตตาคาร
“สสว.คาดว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จะมีรายได้จากการเลี้ยงไก่อย่างน้อย 5,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว จากการเลี้ยงไก่ จำนวน 300 ตัว โดยในขั้นต่อไปของโครงการ จะมีการตั้งโรงเชือดและแปรรูปไก่ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อรองรับปริมาณไก่ที่เพิ่มขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อม ให้แก่ ผู้ประกอบการในการส่งออกอีกด้วย” นายชาวันย์ กล่าวในที่สุด
นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากการที่ สสว. มีบทบาทและภารกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สสว.ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการด้านการเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พื้นเมืองในเชิงพาณิชย์มาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์ และการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ เพราะถือเป็นการสร้างรายได้เพิ่ม ให้แก่ ผู้ประกอบการในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง
ล่าสุด สสว.ภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เบตง ที่ได้รับผลกระทบจนเกิดภาวะขาดทุนและเลิกกิจการไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณไก่ในพื้นที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
“ไก่สายพันธุ์เบตง เป็นไก่เนื้อที่มีความต้องการของตลาดทั้งในพื้นที่ภาคใต้ กรุงเทพฯ และในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย แต่ปัญหาที่ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่กำลังประสบอยู่ก็คือ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ รวมถึงผู้ประกอบการยังมีการเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ขนาดและคุณภาพของไก่ไม่คงที่ และยังไม่อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน” นายชาวันย์ กล่าว
ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไก่เบตงครบวงจรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้น โดยเป็นการดำเนินงานร่วมได้กับ เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่เบตงในเชิงพานิชย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการดังกล่าวในงานถนนคนเดิน (ครั้งที่ 5) 2552 (Betong Walking Street Festival 2009) ซึ่งเทศบาลเมืองเบตง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2552
“โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงไก่สายพันธุ์เบตงอย่างถูกต้อง มีคุณภาพคงที่ และได้มาตรฐาน ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าที่ท้องถิ่นผลิตได้ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน อันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป” นายชาวันย์ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ สสว.ได้ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน พร้อมทั้งลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการเลี้ยงไก่เบตง การจัดตั้งฟาร์มต้นแบบการผลิตลูกไก่เบตง การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ และร่วมมือกับสมาคมร้านอาหารและภัตตาคารชั้นนำ เพื่อนำไก่เบตงบรรจุในเมนูอาหารของร้านอาหารและภัตตาคาร
“สสว.คาดว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จะมีรายได้จากการเลี้ยงไก่อย่างน้อย 5,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว จากการเลี้ยงไก่ จำนวน 300 ตัว โดยในขั้นต่อไปของโครงการ จะมีการตั้งโรงเชือดและแปรรูปไก่ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อรองรับปริมาณไก่ที่เพิ่มขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อม ให้แก่ ผู้ประกอบการในการส่งออกอีกด้วย” นายชาวันย์ กล่าวในที่สุด