เป็นเวลากว่า 10 ปีมาแล้วที่ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ไม่ทันตั้งตัว ทำให้บางคนถึงกับตัดสินใจหนีปัญหาด้วยการทำร้ายตัวเอง แต่นั่นก็ถือเป็นส่วนน้อย ในขณะที่หลายคนที่ตั้งสติได้ ไม่ท้อถอยกับวิกฤตที่ไม่สามารถควบคุมได้ มาวันนี้ผลสำเร็จบังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่ง พิสูจน์ได้จากการเป็นเจ้าของธุรกิจจากขนาดเล็ก กลายเป็นเถ้าแก่ใหญ่ ถึงขั้นสามารถผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้
จากความสำเร็จดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บุคคลเหล่านี้มีความมานะ อดทน และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค โดยมีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้ว จะปรัญชาใดก็แล้วแต่ วันนี้ได้กลายเป็นวัคซีน ป้องกันธุรกิจให้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน และวัคซีนเหล่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนในปี 2552 ที่หลายคนอาจกำลังวิตกกับชะตาชีวิตในหน้าที่การงานของตนเอง รวมถึงสถานะทางครอบครัวที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยหากคนในครอบครัวต้องกลายเป็นคนว่างงานโดยที่ไม่ทันตั้งตัว
ดังนั้นเพื่อต้อนรับการเปิดศักราชใหม่ต้อนรับปีฉลู ทาง “ASTVผู้จัดการรายวัน” จึงนำหลักการฟันฝ่าวิกฤตของผู้ที่เคยผ่านวิกฤตปี 2540 อย่างผู้ที่เคยตกเป็นหนึ่งในบริษัทไฟแนนซ์ที่ต้องปิดตัวลง ทำให้มนุษย์เงินเดือนกลายเป็นคนตกงานทันที , ผู้ที่ร่ำรวยจากการทำขนมเปี๊ยะขาย แต่ก่อนเกิดวิกฤตฟองสบู่ได้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมย์ทรัพย์หลายสิบล้านบาท จนกลายเป็นคนที่มีหนี้สินท่วนตัวทั้งในและนอกระบบ และสุดท้ายผู้ประกอบการที่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจในปี 2540 ก่อนเกิดวิกฤตปี 40 ไม่นาน แต่ก็สามารถประคับประคองตัวเองให้ผ่านพ้นมาได้ จนกลายเป็นผู้นำในเรื่องธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญอันดับ 1 ของเมืองไทย
****นักสู้ตกงานจากบริษัทไฟแนนซ์****
เริ่มด้วยธุรกิจ “ขนมครก (เข้าวัง) ลุงธนิต” ที่ทุกคนรู้จักกันดี เพราะเป็นธุรกิจเก่าแก่ในย่านราชวัตร ที่คนรุ่นพ่อได้สร้างไว้ จนมาในปัจจุบันผู้เป็นลูกได้สานต่อธุรกิจดังกล่าว แต่ใครจะคิดว่าธุรกิจนี้จะสามารถช่วยเหลือให้ผู้ที่ตกเป็นหนึ่งในพนักงานกินเงินเดือน ของบริษัท ไฟแนนซ์ที่ต้องปิดตัวลงหลังไม่สามารถต้านทานพิษเศรษฐกิจใน 2540 ได้ คือ นายสกนธ์ ฐาปนะกิจไพบูลย์ ลูกเขยร้านขนมครก (เข้าวัง) ลุงธนิต ที่ปัจจุบันได้เข้ามาสืบทอดธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว ทั้งๆ ที่ในช่วงแรกที่ตกงานยังไม่เชื่อว่าการขายขนมครกจะทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และสามารถเลี้ยงครอบรัวได้
โดยนายสกนธ์ ได้ถ่ายทอดความรูสึกเมื่อครั้งที่ตนเองรับรู้ว่าต้องกลายเป็นคนตกงาน ว่า ในช่วงนั้นก่อนที่จะโดนบอกเลิกจ้าง ตนเองก็เริ่มรู้ตัวว่าอีกไม่นานต้องมาถึงคิวของตน เพราะบริษัทเริ่มมีการคัดพนักงานออก และรู้ว่าอีกไม่กี่เดือนบริษัทจะต้องปิดตัวลง ซึ่งรู้สึกเคว้งมาเป็นอันดับแรก มืดแปดด้านไม่รู้จะไปมาหากินอะไร เพราะทำงานด้านไฟแนนซ์มากว่า 10 ปี แต่ความรู้สึกนั้นก็กินเวลาไม่นาน เพราะได้ให้กำลังใจตัวเอง เนื่องจากมองว่าหากคนเรามีกำลังให้กับตัวเอง จะทำให้คนรอบข้างมีกำลังใจที่จะต่อสู้ และกำลังใจเหล่านั้นสุดท้ายก็จะตกมาถึงตนเองด้วย
“ตอนนั้นผมเริ่มตั้งสติได้ พยายามคิดให้ตัวเองเป็น “สินค้า” และทำการวิเคราะห์ตัวเองในโครงสร้างของ SWOT (Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats) ตามหลักที่ตนเองเรียนจบมาทางด้านบริการการเงิน ระดับปริญญาโทเพื่อวิเคราะห์ตัวเองว่ามีจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ในตัวเองอย่างไรบ้าง ก็พบว่าตอนนั้นมี 2 เลือกคือ 1.เรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม โดยหวังว่าหากในอนาคตมีบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาซื้อบริษัทไฟแนนซ์ของไทยเปิดรับตนเองจะได้ไม่เสียโอกาสในการเข้าทำงาน และทางเลือกที่ 2 คือ ไปขายขนมครกกับพ่อตา ที่ได้ถ่ายทอดสูตร และสอนเทคนิคการทำขนมครกให้ทุกอย่าง ซึ่งในช่วงแรกผมยังไม่เชื่อมั่นว่าขายขนมครกอย่างเดียวจะไปรอด จึงใช้เวลาว่างไปเรียนทำอาหารเพิ่มเติมด้วย ซึ่งสุดท้ายความรู้ด้านการทำอาหารก็ไม่สูญเปล่าได้นำมาปรับใช้กับขนมครก และนำเมนูอาหารเข้ามาเสริมในร้านขนมครกที่สาขาประชาชื่นได้อีกด้วย”
ดังนั้นคำแนะดีๆ จากผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์วิกฤตปี 2540 มาแล้ว คือ อันดับแรก ควรตั้งสติให้ดีๆ อย่างไปกลัวเรื่องตกงาน เพราะที่ผ่านมาบางคนจะกลัวเรื่องนี้ไปก่อน ทำให้ไม่มีสติที่จะคิดในเรื่องอื่นๆ ต่อมาต้องประหยัด มีการวางแผนการใช้เงินอย่างมีระบบ มีการออมมากขึ้น แต่หากไม่สามารถควบคุมรายจ่ายที่เป็นรายจ่ายประจำได้ เช่น ค่าผ่อนรถ บ้าน หรือข้าวของอื่นๆ ได้ ก็ควรหารายได้เสริม หรือใช้เวลาหลังเลิกงานช่วงเย็น หรือเสาร์-อาทิตย์ ขายของตามตลาดนัด รวมถึงการเรียนเพิ่มเติมด้านวิชาชีพให้มากขึ้น โดยหาข้อมูลจากกรมแรงาน เพราะทางกทม.มีการเปิดสอนวิชาชีพให้ฟรี หรือเสียค่าเรียนที่ถูกมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้หลายคนนำไปปรับใช้เพื่อต่อสู้กับวิกฤตปี 2552 ที่จะเกิดขึ้นได้
****นักสู้อกหักจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์****
ในขณะที่ผู้ประกอบการอีกรายที่ร่ำรวยจากการทำธุรกิจขนมเปี๊ยะขายภายใต้แบรนด์ “เฮ่งเฮียง” ตลาดบางเลน จ.นครปฐม ที่เลื่องชื่อ โดยในช่วงก่อนวิกฤตปี 40 กลับนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนเจอวิกฤติฟองสบู่ กลายเป็นคนมีหนี้ทั่วหัวในบัดดลเกือบ 30 ล้านบาท ทั้งหนี้จากแบงก์พาณิชย์ และหนี้นอกระบบ โดย ปพิชา อภินันทนกูล ทายาทผู้ดูแลกิจการขนมเปี๊ยะเฮ่งเฮียง เล่าถึงความรู้สึกแรกให้ฟังว่า ตนเองรู้สึกแย่มาก เพราะวิกฤตที่เจอสาหัสเอาการ จากผู้ที่เคยมีเงินใช้ไม่ขาดมือ กลับกลายเป็นผู้ที่โดนเจ้าหนี้โทรตามหนี้ทุกวัน จนคนรอบข้างต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “คงต้องผูกคอตายแน่นอน” แต่ใครจะเชื่อว่าคำพูดนั้น กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้ ปพิชา ปลงกับชีวิต โดยคิดได้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เราก็คิดซะว่าเราตายไปแล้วสิ เพราะคนตายแล้วเรื่องทุกอย่างก็จะจบ ฉะนั้นเรื่องอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป คนตายแล้วก็ไม่ควรยึดติดกับอะไร”
เมื่อคิดได้เช่นนั้นก็ปล่อยให้ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ธนาคารต้องการยึดอะไรก็ให้ยึด หรือธนาคารจะฟ้องก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ส่วนหนี้นอกระบบก็ทำการเจรจากับเจ้าหนี้ทุกรายว่า “จะไม่หนีหนี้ จะทยอยใช้หนี้ให้ แต่อย่าคิดดอกเบี้ย เพราะถ้าคิดดอกเบี้ยจะไม่มีเงินมาส่งเงินต้นให้หมดแน่นอน” ซึ่งเจ้าหนี้ทุกรายก็ยอมรับเงื่อนไข เพราะตอนนั้นเจ้าหนี้เข้าใจว่าทุกคนมีปัญหาหมด บางรายหนีไปไม่ยอมใช้หนี้ แต่มีคนที่ยินดีจ่ายเงินที่กู้ไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้วในช่วงนั้น
“เมื่อเราเจรจาเรื่องหนี้สินได้สำเร็จ ก็เริ่มลดรายจ่ายทุกอย่าง ขายทรัพย์ที่มีอยู่อย่าง บ้าน ที่ดิน คอนโดริมน้ำ รถยนต์ หรือไว้เพียงโรงงานผลิตขนมเปี๊ยะ เท่านั้น ในขณะที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จากที่เคยขับรถ BMW ก็หันมานั่งรถเมล์แทน, เสื้อผ้าที่เคยซื้อตัวละไม่เคยต่ำกว่า 1,000 บาท ก็เหลือตัวละไม่กี่ร้อยบาท, โทรศัพท์มือถือก็เลิก หยุดการออกไปชอปปิ้ง และหันมามุ่งมั่นกับธุรกิจขนมเปี๊ยะเหมือนเดิม”
ทั้งนี้ปพิชา บอกว่า หากใครที่เจอปัญหาเหมือนตัวเอง “ต้องอยู่กับความจริงของชีวิตให้ได้” ต้องนับถือตัวเอง และมีสติ อย่าหลงเชื่อการรวยทางลัด ที่ตนเองยังไม่ได้คิดให้รอบคอบ โดยคิดแต่เพียงว่าทำแล้วต้องได้เงินมา แต่ไม่ได้คิดเผื่อล่วงหน้าว่าถ้ามันล้มเหลวจะทำอย่างไร สุดท้ายจึงมาเอาจริงเอาจังกับขนมเปี๊ยะอีกครั้ง พยายามเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น เช่น ทำขนมให้ชิ้นใหญ่ขึ้น แต่ลดราคาลงมาขายเพียงชิ้นละ 10 บาท ตามตลาดนัด เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ จนมีคนแนะนำให้กู้เงินกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) ทำให้มีเงินช่วยฟื้นฟูกิจการได้ และสามารถใช้หนี้ได้ทั้งหมด
ปพิชา ได้เตือนสติคนที่อาจจะประสบปัญหาเหมือนตนว่า “ต้องสู้ เพราะถ้าไม่สู้ คือมีประตูเดียวให้เลือกคือ ความพ่ายแพ้ แต่หากเราสู้ จะมี 2 ประตู คือ ความพ่ายแพ้ หรือเป็นผู้ชนะ”
***นักสู้ใจแกร่งเริ่มธุรกิจปี 40****
ผู้ประกอบการรายสุดท้ายที่เราคัดเลือกมาคือผู้ที่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจของตนเองในช่วงที่เกิดวิกฤตปี 2540 พอดี แต่ก็สามารถฟันฟ่าอุปสรรคมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ กับตู้น้ำหยอดเหรียญแบรนด์ “Water Net” ที่ขณะนี้ได้กลายเป็นผู้นำ และมีมาร์เก็ตแชร์ มากที่สุดในธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญของไทย นายณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอเทอร์ เน็ท จำกัด (มหาชน) ย้อนอดีตในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2540 ให้ฟังว่า เดิมตนเองทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบกรองน้ำให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และมองเทรนด์ให้อนาคตว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจหยอดเหรียญจะต้องมาแรง จึงคิดที่จะทำ แต่ยังไม่ทันที่จะเกิดธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ รัฐบาลไทยก็ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ธุรกิจเดิมก็ไม่มีออเดอร์ ในขณะที่เงินทุนที่คิดจะทำธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญก็พุ่งขึ้นไปสูงถึง 4 แสนบาท จากเดิมวางแผนไว้เพีย ง 2 แสนบาทเท่านั้น
“เมื่อเราคิดที่จะทำธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ และต้องการเป็นผู้นำ เมื่อมาเจอวิกฤต เราต้องฝ่าฟันไปให้ได้ แต่ไม่เอาพนักงานออก เพราะเราถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพที่จะสามารถช่วยฟื้นธุรกิจได้ เราจึงเริ่มพัฒนาตู้น้ำหยอดเหรียญเครื่องแรก ในวันที่บริษัทแทบไม่มีเงินหลงเหลืออยู่เลย แต่เราเชื่อมั่นว่าในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสแฝงไว้อยู่เสมอ เนื่องจากคนก็ต้องกินน้ำ เพียงแต่เราต้องพยายามดึงพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมานิยมบริโภคน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญ รวมถึงต้องทำให้ธุรกิจนี้เป็นที่รู้จักด้วยการขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ที่กำลังบูมในช่วงนั้น”
การผ่านพ้นวิกฤตของผู้ที่เริ่มการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในช่วงปี 2540 ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับนายณัฐพล เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจตัวเองเสมอ และพยายามประคบประคองธุรกิจด้วยตัวเอง เน้นการทุกอย่างด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลดต้นทุนให้มากที่สุด ไม่เลิกการจ้างงาน เนื่องจากเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปรอด
แต่อย่างไรก็ตามนายณัฐพล เชื่อว่าวิกฤตในปี 2552 ที่หลายคนยังไม่คลายความกังวล น่าจะรุนแรงกว่าปี 2540 เพราะเป็นความรุนแรงที่ขยายอาณาจักรออกเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ในขณะที่ปี 2540 วิกฤตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย เพราะคนไทยขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินใช้จ่ายในระบบ ซึ่งแตกต่างจากในปี 2552 ที่จะถึง คนไทยยังมีเงินจับจ่ายใช้สอย เพียงแต่ยังไม่กล้านำเงินออกมาใช้มากนัก ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของไทยไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้เท่าที่ควร ซึ่งคนต้องออกนำเงินออกมาใช้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันต้องทำการออมควบคู่ไปด้วย เน้นใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คาดว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนไทยที่เป็นมนุษย์เงินเดือน และเจ้าของธุรกิจจะผ่านพ้นมรสุมเหล่านี้ไปได้
แม้อุปสรรคทางวิกฤตเศรษฐิจยังไม่ผ่านพ้น แต่การดำเนินธุรกิจต้องเป็นไป ขอเพียงให้ผู้ที่กำลังท้อแท้ในชีวิต หรือหดหู่กับอนาคตธุรกิจของตัวเอง มีสติ และให้กำลังใจตัวเอง อย่าท้อถอย พยายามหาช่องว่างทางการตลาดให้กับธุรกิจ เชื่อแน่ว่า “วันฟ้าใส” จะต้องเดินทางมาถึงผู้ที่มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้ออย่างแน่นอน
จากความสำเร็จดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บุคคลเหล่านี้มีความมานะ อดทน และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค โดยมีปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้ว จะปรัญชาใดก็แล้วแต่ วันนี้ได้กลายเป็นวัคซีน ป้องกันธุรกิจให้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน และวัคซีนเหล่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้กับทุกคนในปี 2552 ที่หลายคนอาจกำลังวิตกกับชะตาชีวิตในหน้าที่การงานของตนเอง รวมถึงสถานะทางครอบครัวที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยหากคนในครอบครัวต้องกลายเป็นคนว่างงานโดยที่ไม่ทันตั้งตัว
ดังนั้นเพื่อต้อนรับการเปิดศักราชใหม่ต้อนรับปีฉลู ทาง “ASTVผู้จัดการรายวัน” จึงนำหลักการฟันฝ่าวิกฤตของผู้ที่เคยผ่านวิกฤตปี 2540 อย่างผู้ที่เคยตกเป็นหนึ่งในบริษัทไฟแนนซ์ที่ต้องปิดตัวลง ทำให้มนุษย์เงินเดือนกลายเป็นคนตกงานทันที , ผู้ที่ร่ำรวยจากการทำขนมเปี๊ยะขาย แต่ก่อนเกิดวิกฤตฟองสบู่ได้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมย์ทรัพย์หลายสิบล้านบาท จนกลายเป็นคนที่มีหนี้สินท่วนตัวทั้งในและนอกระบบ และสุดท้ายผู้ประกอบการที่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจในปี 2540 ก่อนเกิดวิกฤตปี 40 ไม่นาน แต่ก็สามารถประคับประคองตัวเองให้ผ่านพ้นมาได้ จนกลายเป็นผู้นำในเรื่องธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญอันดับ 1 ของเมืองไทย
****นักสู้ตกงานจากบริษัทไฟแนนซ์****
เริ่มด้วยธุรกิจ “ขนมครก (เข้าวัง) ลุงธนิต” ที่ทุกคนรู้จักกันดี เพราะเป็นธุรกิจเก่าแก่ในย่านราชวัตร ที่คนรุ่นพ่อได้สร้างไว้ จนมาในปัจจุบันผู้เป็นลูกได้สานต่อธุรกิจดังกล่าว แต่ใครจะคิดว่าธุรกิจนี้จะสามารถช่วยเหลือให้ผู้ที่ตกเป็นหนึ่งในพนักงานกินเงินเดือน ของบริษัท ไฟแนนซ์ที่ต้องปิดตัวลงหลังไม่สามารถต้านทานพิษเศรษฐกิจใน 2540 ได้ คือ นายสกนธ์ ฐาปนะกิจไพบูลย์ ลูกเขยร้านขนมครก (เข้าวัง) ลุงธนิต ที่ปัจจุบันได้เข้ามาสืบทอดธุรกิจนี้อย่างเต็มตัว ทั้งๆ ที่ในช่วงแรกที่ตกงานยังไม่เชื่อว่าการขายขนมครกจะทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ และสามารถเลี้ยงครอบรัวได้
โดยนายสกนธ์ ได้ถ่ายทอดความรูสึกเมื่อครั้งที่ตนเองรับรู้ว่าต้องกลายเป็นคนตกงาน ว่า ในช่วงนั้นก่อนที่จะโดนบอกเลิกจ้าง ตนเองก็เริ่มรู้ตัวว่าอีกไม่นานต้องมาถึงคิวของตน เพราะบริษัทเริ่มมีการคัดพนักงานออก และรู้ว่าอีกไม่กี่เดือนบริษัทจะต้องปิดตัวลง ซึ่งรู้สึกเคว้งมาเป็นอันดับแรก มืดแปดด้านไม่รู้จะไปมาหากินอะไร เพราะทำงานด้านไฟแนนซ์มากว่า 10 ปี แต่ความรู้สึกนั้นก็กินเวลาไม่นาน เพราะได้ให้กำลังใจตัวเอง เนื่องจากมองว่าหากคนเรามีกำลังให้กับตัวเอง จะทำให้คนรอบข้างมีกำลังใจที่จะต่อสู้ และกำลังใจเหล่านั้นสุดท้ายก็จะตกมาถึงตนเองด้วย
“ตอนนั้นผมเริ่มตั้งสติได้ พยายามคิดให้ตัวเองเป็น “สินค้า” และทำการวิเคราะห์ตัวเองในโครงสร้างของ SWOT (Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats) ตามหลักที่ตนเองเรียนจบมาทางด้านบริการการเงิน ระดับปริญญาโทเพื่อวิเคราะห์ตัวเองว่ามีจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรค ในตัวเองอย่างไรบ้าง ก็พบว่าตอนนั้นมี 2 เลือกคือ 1.เรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม โดยหวังว่าหากในอนาคตมีบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาซื้อบริษัทไฟแนนซ์ของไทยเปิดรับตนเองจะได้ไม่เสียโอกาสในการเข้าทำงาน และทางเลือกที่ 2 คือ ไปขายขนมครกกับพ่อตา ที่ได้ถ่ายทอดสูตร และสอนเทคนิคการทำขนมครกให้ทุกอย่าง ซึ่งในช่วงแรกผมยังไม่เชื่อมั่นว่าขายขนมครกอย่างเดียวจะไปรอด จึงใช้เวลาว่างไปเรียนทำอาหารเพิ่มเติมด้วย ซึ่งสุดท้ายความรู้ด้านการทำอาหารก็ไม่สูญเปล่าได้นำมาปรับใช้กับขนมครก และนำเมนูอาหารเข้ามาเสริมในร้านขนมครกที่สาขาประชาชื่นได้อีกด้วย”
ดังนั้นคำแนะดีๆ จากผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์วิกฤตปี 2540 มาแล้ว คือ อันดับแรก ควรตั้งสติให้ดีๆ อย่างไปกลัวเรื่องตกงาน เพราะที่ผ่านมาบางคนจะกลัวเรื่องนี้ไปก่อน ทำให้ไม่มีสติที่จะคิดในเรื่องอื่นๆ ต่อมาต้องประหยัด มีการวางแผนการใช้เงินอย่างมีระบบ มีการออมมากขึ้น แต่หากไม่สามารถควบคุมรายจ่ายที่เป็นรายจ่ายประจำได้ เช่น ค่าผ่อนรถ บ้าน หรือข้าวของอื่นๆ ได้ ก็ควรหารายได้เสริม หรือใช้เวลาหลังเลิกงานช่วงเย็น หรือเสาร์-อาทิตย์ ขายของตามตลาดนัด รวมถึงการเรียนเพิ่มเติมด้านวิชาชีพให้มากขึ้น โดยหาข้อมูลจากกรมแรงาน เพราะทางกทม.มีการเปิดสอนวิชาชีพให้ฟรี หรือเสียค่าเรียนที่ถูกมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้หลายคนนำไปปรับใช้เพื่อต่อสู้กับวิกฤตปี 2552 ที่จะเกิดขึ้นได้
****นักสู้อกหักจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์****
ในขณะที่ผู้ประกอบการอีกรายที่ร่ำรวยจากการทำธุรกิจขนมเปี๊ยะขายภายใต้แบรนด์ “เฮ่งเฮียง” ตลาดบางเลน จ.นครปฐม ที่เลื่องชื่อ โดยในช่วงก่อนวิกฤตปี 40 กลับนำเงินไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จนเจอวิกฤติฟองสบู่ กลายเป็นคนมีหนี้ทั่วหัวในบัดดลเกือบ 30 ล้านบาท ทั้งหนี้จากแบงก์พาณิชย์ และหนี้นอกระบบ โดย ปพิชา อภินันทนกูล ทายาทผู้ดูแลกิจการขนมเปี๊ยะเฮ่งเฮียง เล่าถึงความรู้สึกแรกให้ฟังว่า ตนเองรู้สึกแย่มาก เพราะวิกฤตที่เจอสาหัสเอาการ จากผู้ที่เคยมีเงินใช้ไม่ขาดมือ กลับกลายเป็นผู้ที่โดนเจ้าหนี้โทรตามหนี้ทุกวัน จนคนรอบข้างต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “คงต้องผูกคอตายแน่นอน” แต่ใครจะเชื่อว่าคำพูดนั้น กลับกลายเป็นแรงผลักดันให้ ปพิชา ปลงกับชีวิต โดยคิดได้ว่า “ถ้าอย่างนั้น เราก็คิดซะว่าเราตายไปแล้วสิ เพราะคนตายแล้วเรื่องทุกอย่างก็จะจบ ฉะนั้นเรื่องอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป คนตายแล้วก็ไม่ควรยึดติดกับอะไร”
เมื่อคิดได้เช่นนั้นก็ปล่อยให้ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ธนาคารต้องการยึดอะไรก็ให้ยึด หรือธนาคารจะฟ้องก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ส่วนหนี้นอกระบบก็ทำการเจรจากับเจ้าหนี้ทุกรายว่า “จะไม่หนีหนี้ จะทยอยใช้หนี้ให้ แต่อย่าคิดดอกเบี้ย เพราะถ้าคิดดอกเบี้ยจะไม่มีเงินมาส่งเงินต้นให้หมดแน่นอน” ซึ่งเจ้าหนี้ทุกรายก็ยอมรับเงื่อนไข เพราะตอนนั้นเจ้าหนี้เข้าใจว่าทุกคนมีปัญหาหมด บางรายหนีไปไม่ยอมใช้หนี้ แต่มีคนที่ยินดีจ่ายเงินที่กู้ไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุดแล้วในช่วงนั้น
“เมื่อเราเจรจาเรื่องหนี้สินได้สำเร็จ ก็เริ่มลดรายจ่ายทุกอย่าง ขายทรัพย์ที่มีอยู่อย่าง บ้าน ที่ดิน คอนโดริมน้ำ รถยนต์ หรือไว้เพียงโรงงานผลิตขนมเปี๊ยะ เท่านั้น ในขณะที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จากที่เคยขับรถ BMW ก็หันมานั่งรถเมล์แทน, เสื้อผ้าที่เคยซื้อตัวละไม่เคยต่ำกว่า 1,000 บาท ก็เหลือตัวละไม่กี่ร้อยบาท, โทรศัพท์มือถือก็เลิก หยุดการออกไปชอปปิ้ง และหันมามุ่งมั่นกับธุรกิจขนมเปี๊ยะเหมือนเดิม”
ทั้งนี้ปพิชา บอกว่า หากใครที่เจอปัญหาเหมือนตัวเอง “ต้องอยู่กับความจริงของชีวิตให้ได้” ต้องนับถือตัวเอง และมีสติ อย่าหลงเชื่อการรวยทางลัด ที่ตนเองยังไม่ได้คิดให้รอบคอบ โดยคิดแต่เพียงว่าทำแล้วต้องได้เงินมา แต่ไม่ได้คิดเผื่อล่วงหน้าว่าถ้ามันล้มเหลวจะทำอย่างไร สุดท้ายจึงมาเอาจริงเอาจังกับขนมเปี๊ยะอีกครั้ง พยายามเจาะกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น เช่น ทำขนมให้ชิ้นใหญ่ขึ้น แต่ลดราคาลงมาขายเพียงชิ้นละ 10 บาท ตามตลาดนัด เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจ จนมีคนแนะนำให้กู้เงินกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) ทำให้มีเงินช่วยฟื้นฟูกิจการได้ และสามารถใช้หนี้ได้ทั้งหมด
ปพิชา ได้เตือนสติคนที่อาจจะประสบปัญหาเหมือนตนว่า “ต้องสู้ เพราะถ้าไม่สู้ คือมีประตูเดียวให้เลือกคือ ความพ่ายแพ้ แต่หากเราสู้ จะมี 2 ประตู คือ ความพ่ายแพ้ หรือเป็นผู้ชนะ”
***นักสู้ใจแกร่งเริ่มธุรกิจปี 40****
ผู้ประกอบการรายสุดท้ายที่เราคัดเลือกมาคือผู้ที่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจของตนเองในช่วงที่เกิดวิกฤตปี 2540 พอดี แต่ก็สามารถฟันฟ่าอุปสรรคมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจ กับตู้น้ำหยอดเหรียญแบรนด์ “Water Net” ที่ขณะนี้ได้กลายเป็นผู้นำ และมีมาร์เก็ตแชร์ มากที่สุดในธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญของไทย นายณัฐพล ประดิษฐผลเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอเทอร์ เน็ท จำกัด (มหาชน) ย้อนอดีตในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2540 ให้ฟังว่า เดิมตนเองทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบกรองน้ำให้กับโรงงานอุตสาหกรรม และมองเทรนด์ให้อนาคตว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจหยอดเหรียญจะต้องมาแรง จึงคิดที่จะทำ แต่ยังไม่ทันที่จะเกิดธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ รัฐบาลไทยก็ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ธุรกิจเดิมก็ไม่มีออเดอร์ ในขณะที่เงินทุนที่คิดจะทำธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญก็พุ่งขึ้นไปสูงถึง 4 แสนบาท จากเดิมวางแผนไว้เพีย ง 2 แสนบาทเท่านั้น
“เมื่อเราคิดที่จะทำธุรกิจตู้น้ำหยอดเหรียญ และต้องการเป็นผู้นำ เมื่อมาเจอวิกฤต เราต้องฝ่าฟันไปให้ได้ แต่ไม่เอาพนักงานออก เพราะเราถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพที่จะสามารถช่วยฟื้นธุรกิจได้ เราจึงเริ่มพัฒนาตู้น้ำหยอดเหรียญเครื่องแรก ในวันที่บริษัทแทบไม่มีเงินหลงเหลืออยู่เลย แต่เราเชื่อมั่นว่าในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสแฝงไว้อยู่เสมอ เนื่องจากคนก็ต้องกินน้ำ เพียงแต่เราต้องพยายามดึงพฤติกรรมผู้บริโภคให้หันมานิยมบริโภคน้ำจากตู้น้ำหยอดเหรียญ รวมถึงต้องทำให้ธุรกิจนี้เป็นที่รู้จักด้วยการขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ที่กำลังบูมในช่วงนั้น”
การผ่านพ้นวิกฤตของผู้ที่เริ่มการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในช่วงปี 2540 ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับนายณัฐพล เป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจตัวเองเสมอ และพยายามประคบประคองธุรกิจด้วยตัวเอง เน้นการทุกอย่างด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลดต้นทุนให้มากที่สุด ไม่เลิกการจ้างงาน เนื่องจากเชื่อว่าทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจไปรอด
แต่อย่างไรก็ตามนายณัฐพล เชื่อว่าวิกฤตในปี 2552 ที่หลายคนยังไม่คลายความกังวล น่าจะรุนแรงกว่าปี 2540 เพราะเป็นความรุนแรงที่ขยายอาณาจักรออกเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ในขณะที่ปี 2540 วิกฤตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย เพราะคนไทยขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินใช้จ่ายในระบบ ซึ่งแตกต่างจากในปี 2552 ที่จะถึง คนไทยยังมีเงินจับจ่ายใช้สอย เพียงแต่ยังไม่กล้านำเงินออกมาใช้มากนัก ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของไทยไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้เท่าที่ควร ซึ่งคนต้องออกนำเงินออกมาใช้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันต้องทำการออมควบคู่ไปด้วย เน้นใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คาดว่าสิ่งเหล่านี้จะทำให้คนไทยที่เป็นมนุษย์เงินเดือน และเจ้าของธุรกิจจะผ่านพ้นมรสุมเหล่านี้ไปได้
แม้อุปสรรคทางวิกฤตเศรษฐิจยังไม่ผ่านพ้น แต่การดำเนินธุรกิจต้องเป็นไป ขอเพียงให้ผู้ที่กำลังท้อแท้ในชีวิต หรือหดหู่กับอนาคตธุรกิจของตัวเอง มีสติ และให้กำลังใจตัวเอง อย่าท้อถอย พยายามหาช่องว่างทางการตลาดให้กับธุรกิจ เชื่อแน่ว่า “วันฟ้าใส” จะต้องเดินทางมาถึงผู้ที่มีความมุ่งมั่นไม่ย่อท้ออย่างแน่นอน