วช. ใส่นวัตกรรมลงดินสอพองเนรมิตเป็นสินค้าใหม่ 4 ประเภท ยกระดับสินค้าชาวบ้านสู่ตลาดสากล เผยถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กลุ่มผู้ผลิตชุมชนแล้วกว่า 10 จังหวัดทั่วประเทศ ระบุช่วยเพิ่มค่าจากเดิมกว่าร้อยเท่าตัว
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เผยว่า วช.ได้ดำเนินโครงการนำเทคโนโลยี หรือผลงานวิจัย ไปพัฒนาสินค้าภูมิปัญญาไทยตามชุมชนต่างๆ เพื่อจะยกระดับสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ และมีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่การขายตลาดต่างประเทศ
ทั้งนี้ วช.ได้ให้งบประมาณกว่า 6 ล้านบาท แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี เป็นเจ้าภาพดำเนินการพัฒนาเพิ่มค่าดินสอพอง ซึ่งถือเป็นสินค้าเด่นประจำจังหวัดนี้ ซึ่งได้พัฒนาเป็นสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ ผงขัดเครื่องประดับ เครื่องสำอางดินสอพอง ดินประดิษฐ์งานหัตถกรรม และวัสดุรองพื้นเขียนภาพ
นายกฤษณ์ธวัช เผยต่อว่า งบประมาณโครงการนำเทคโนโลยีพัฒนาสินค้าภูมิปัญญาไทย รวมกว่า 200 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี นอกจากดินสอพองแล้ว วช. ยังได้พัฒนาสินค้าชุมชนอื่นๆ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และท้องถิ่น เช่น พัฒนาแปรรูปยอไทยเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ จ.สิงห์บุรี และพัฒนาใบชา ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
ด้าน รศ.ดร.นันทนา แจ้งสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และพัฒนา ม.ราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาสินค้าจากดินสอพอง ระบุว่า ใช้เวลาวิจัยพัฒนา ประมาณ 10 เดือน โดยสินค้าทั้ง 4 ประเภท ล้วนแต่มีคุณสมบัติโดดเด่น เช่น เครื่องสำอางดินสอพองมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ขณะที่ดินสอพองเพื่องานประดิษฐ์ มีเนื้อเรียบเนียนปั้นเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างดี
ทั้งนี้ หลังพัฒนาสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ออกสู่ตลาดได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม คณะทำงานยังช่วยส่งเสริมด้านบรรจุภัณฑ์ การตลาด และที่สำคัญถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวแก่ผู้ผลิตระดับชุมชน ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มผู้ผลิตชุมชนกว่า10 จังหวัด เช่น ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง เป็นต้น ได้เข้ารับการอบรมและเริ่มนำไปพัฒนาเป็นสินค้าของตัวเองแล้ว คาดว่าจะออกขายสู่ตลาดจริงเร็วๆ นี้
รศ.ดร.นันทนา ระบุว่า ที่แล้วมา ดินสอพองใน จ.ลพบุรี จะซื้อขายกันในราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 3 บาท แต่หากผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีที่มอบให้นี้ไปต่อยอดเชิงธุรกิจจะสามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้ามากกว่าร้อยเท่าตัว ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนำไปพัฒนาเป็นสินค้าแล้วขายภายใต้แบรนด์ของตัวเอง หรือขายภายใต้แบรนด์ส่วนกลางซึ่งมี วช.เป็นเจ้าภาพก็ได้
นายกฤษณ์ธวัช นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เผยว่า วช.ได้ดำเนินโครงการนำเทคโนโลยี หรือผลงานวิจัย ไปพัฒนาสินค้าภูมิปัญญาไทยตามชุมชนต่างๆ เพื่อจะยกระดับสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพ และมีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่การขายตลาดต่างประเทศ
ทั้งนี้ วช.ได้ให้งบประมาณกว่า 6 ล้านบาท แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี เป็นเจ้าภาพดำเนินการพัฒนาเพิ่มค่าดินสอพอง ซึ่งถือเป็นสินค้าเด่นประจำจังหวัดนี้ ซึ่งได้พัฒนาเป็นสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ ผงขัดเครื่องประดับ เครื่องสำอางดินสอพอง ดินประดิษฐ์งานหัตถกรรม และวัสดุรองพื้นเขียนภาพ
นายกฤษณ์ธวัช เผยต่อว่า งบประมาณโครงการนำเทคโนโลยีพัฒนาสินค้าภูมิปัญญาไทย รวมกว่า 200 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี นอกจากดินสอพองแล้ว วช. ยังได้พัฒนาสินค้าชุมชนอื่นๆ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่และท้องถิ่น เช่น พัฒนาแปรรูปยอไทยเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ จ.สิงห์บุรี และพัฒนาใบชา ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
ด้าน รศ.ดร.นันทนา แจ้งสุวรรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย และพัฒนา ม.ราชภัฏเทพสตรี จ.ลพบุรี ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาสินค้าจากดินสอพอง ระบุว่า ใช้เวลาวิจัยพัฒนา ประมาณ 10 เดือน โดยสินค้าทั้ง 4 ประเภท ล้วนแต่มีคุณสมบัติโดดเด่น เช่น เครื่องสำอางดินสอพองมีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ขณะที่ดินสอพองเพื่องานประดิษฐ์ มีเนื้อเรียบเนียนปั้นเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างดี
ทั้งนี้ หลังพัฒนาสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ออกสู่ตลาดได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม คณะทำงานยังช่วยส่งเสริมด้านบรรจุภัณฑ์ การตลาด และที่สำคัญถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวแก่ผู้ผลิตระดับชุมชน ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มผู้ผลิตชุมชนกว่า10 จังหวัด เช่น ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง เป็นต้น ได้เข้ารับการอบรมและเริ่มนำไปพัฒนาเป็นสินค้าของตัวเองแล้ว คาดว่าจะออกขายสู่ตลาดจริงเร็วๆ นี้
รศ.ดร.นันทนา ระบุว่า ที่แล้วมา ดินสอพองใน จ.ลพบุรี จะซื้อขายกันในราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 3 บาท แต่หากผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีที่มอบให้นี้ไปต่อยอดเชิงธุรกิจจะสามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้ามากกว่าร้อยเท่าตัว ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่ผิดกฎหมาย ทั้งนำไปพัฒนาเป็นสินค้าแล้วขายภายใต้แบรนด์ของตัวเอง หรือขายภายใต้แบรนด์ส่วนกลางซึ่งมี วช.เป็นเจ้าภาพก็ได้