xs
xsm
sm
md
lg

ฝ่าวิกฤตพืชพลังงานชี้น้ำมันราคาถูกยังต้องวิจัยเป็นทางเลือก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กระบี่ - ฝ่าวิกฤตพืชพลังงานและอาหารเพื่อความสมดุลและยั่งยืน วช.ลงพื้นที่กระบี่ลงนามความร่วมมือ ชี้ราคาน้ำมันถูกลงก็ยังต้องวิจัยไว้เป็นทาง

เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (12 ธ.ค.51) ห้องนพรัตน์ธารา โรงแรมกระบี่ มาริไทม์ ปาร์ค แอน สปา รีสอร์ท นายธันวาคม เขมะศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เรื่อง วช.เชิงรุก ฝ่าวิกฤตพืชพลังงานและอาหาร เพื่อความสมดุลและยั่งยืน โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีนายกฤษณ์ นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นางสุนันทา สมพงษ์ ผอ.ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ มีตัวแทนจากหน่วยงานของภาครัฐ จากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ผู้ประกอบการ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และผู้ที่สนใจ 300 คนเข้าร่วมในการสัมมนา

เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลงานวิจัยให้แก่นักวิจัย เจ้าหน้าที่ของรัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้ที่สนใจทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุดิบในการผลิตพืชพลังงาน พืชอุตสาหกรรมและพืชอาหารสัตว์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในการผลิตที่จะเกิดขึ้น ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐที่มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยเพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาของชาติ ซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาพืชพลังงาน จึงได้ให้การสนับสนุนโครงการการวิเคราะห์เชิงนโยบายในการผลิตพืชพลังงานของประเทศไทย เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาใช้กำหนดนโยบาย เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับเปลี่ยน ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

นอกจากนี้ ยังได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์ ระหว่างจังหวัดกระบี่ กับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

นายกฤษณ์ นพนาคีพงษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า การจัดสัมมนา วช.เชิงรุก ฝ่าวิกฤติพืชพลังงานและอาหาร เพื่อความสมดุลและยั่งยืน ซึ่งเลือกจังหวัดกระบี่เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้เนื่องจากจังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุด สามารถผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจรที่ทางสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะอยู่แต่ในกรุงเทพฯเพียงอย่างเดี่ยวไม่ได้ ต้องทำงานเชิงรุกลง ในพื้นที่ให้มากขึ้นเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลวิจัยศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งการให้ความรู้ด้านต่างๆให้กับกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา

โดยในตอนนี้ได้ให้ทาง ดร.กนก คติการ อดีตเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ได้ศึกษาเรื่องเชิงนโยบายว่าพืชพลังงาน พืชอาหารมีความเหมาะสมอย่างไรที่จะสนับสนุนที่จะมาในรูปของพลังงานทดแทนในอนาคต การเดินทางมาทางภาคใต้ก็จะเน้นในเรื่องของปาล์มน้ำมันเป็นหลักเพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ที่มีมูลค่ามหาศาล

รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวอีกว่า อ้อย มันสัมปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ล้วนแล้วแต่เป็นพืชพลังงานที่น่าจับตามองทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับพื้นที่กับความเหมาะสมมากว่า อย่างภาคใต้ความเหมาะสมต้องพืชน้ำมัน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะเป็นพลังงานทดแทนได้ในอนาคต แม้ว่าในขณะนี้ปาล์มน้ำมัน ราคาจะลดลงแล้วก็ตามทาง วช.ก็ยังตระหนัก ถึงความสำคัญที่จำเป็น ที่ยังคงที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ให้ถ่องแท้ เพราะว่าต้องการความยั่งยืน ไม่ใช่ว่าพอน้ำมันขึ้นทีหนึ่งก็มาทำทีหนึ่งอย่างนี้ไม่ใช้นโยบายของ วช.ถึงแม้ตอนนี้น้ำมันราคาลดลงก็ยังทำอยู่เพื่อให้เห็นถึงความยั่งยืนในอนาคต เป็นสิ่งที่ทาง วช.ทำงานเชิงรุกในการลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ในครั้งนี้

สำหรับในอนาคตถ้ามีการเลือกพืชพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งจากอ้อย, มันสัมปะหลัง และปาล์มน้ำมัน พืชพลังงานทดแทนคงจะอยู่ที่สถานการณ์มากว่าเพราะว่าในปัจจุบันนี้อย่างเรื่องของมันสัมปะหลั่ง อ้อย ต้นทุนก็ต่างกัน ปาล์มน้ำมันก็เหมือนกันตรงนี้จะอยู่ในแต่ละสถานการณ์ ต้นทุนก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นสัดส่วนจะอยู่ที่แต่ละสถานการณ์ว่า ขณะนั้นราคาเป็นอย่างไรบ้าง เพราะว่าการที่จะคิดเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง มาเป็นผลิตเป็นพืชพลังงานทดแทนของประเทศเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทาง วช.ได้วางกรอบนโยบายไว้เป็นหลักการ คือว่า ต่อไปนี้ถ้าราคาตัวนี้ลดลงควรที่จะทำอะไรต้องมีทางเหลือหลายๆทาง คงไม่ใช่ว่าไปเลือกทางใดทางหนึ่ง ซึ่งทาง วช.พร้อมทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสร้างพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น