กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดงานเผยแพร่ผลงานโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มผลิตภาพอย่างมีนวัตกรรม (Entrepreneurs Development for Innovative Productivity Programme – EDIPP) พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่สมาชิกโครงการฯ จำนวน 31 กิจการ ผลสามารถสร้างมูลค่าจากการเพิ่มอัตราการผลิตกว่า 270 ล้านบาท
นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักในการกำกับดูแล และผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้มีการพัฒนาอย่างสมดุลและต่อเนื่อง มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตแบบองค์รวม โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงจากการเมือง เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนวัตถุดิบผันผวน วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีความสมดุลและยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) พร้อมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีการใช้ฐานความรู้และความสามารถในเชิงทักษะ (Knowledge-Skill Based) อันจะเป็นรากฐานการเติบโตของประเทศอย่างแข็งแกร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
ด้านนายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดให้มีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มผลิตภาพอย่างมีนวัตกรรม (Entrepreneurs Development for Innovative Productivity Programme : EDIPP) ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานโครงการฯ เป็นความร่วมมือของ 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) ภาคธุรกิจ (ผู้ประกอบการ) และสถาบันการศึกษา ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเน้นการสร้างนวัตกรรมและการจัดการ เทคโนโลยีในการผลิต ให้เกิดผลลัพธ์ในด้านการเพิ่มอัตราการผลิต การลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผ่านขบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ตั้งแต่ผลักดันและเพิ่มแรงจูงใจด้านทัศนคติให้ผู้ประกอบการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ โดยการเรียนรู้ให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์กลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ ปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเชิงนวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีการผลิต เน้นนวัตกรรมในการผลิตที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อเป็นการนำร่องและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการและทีมงานจนเกิดทักษะแก้ไขปัญหา โดยใช้รูปแบบ Problem-Base, Project-Baseหลังจากจบโครงการพบว่า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจการ และสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในหลายด้าน เช่น มูลค่าที่ได้รับจากการเพิ่มอัตราการผลิต 269.40 ล้านบาท มูลค่าที่ได้จากการลดต้นทุนการผลิต (แรงงาน, พลังงาน, วัตถุดิบ, ของเสีย และอื่นๆ) 110.57 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่และอื่นๆ 117.01 ล้านบาท นายปราโมทย์ กล่าว
จากโครงการEDIPP รุ่นที่ 1 มีผู้ประกอบการสมัครเข้าโครงการฯ เป็นจำนวนมาก และกิจการที่มีความพร้อมได้รับการคัดเลือก จำนวน 124 คน หรือ 31 กิจการ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการเป็นเวลา 10 เดือน ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ความร่วมมือ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน ได้รับการฝึกอบรม และคำปรึกษาแนะนำอย่างเข้มข้นจากที่ปรึกษาภายใต้กรอบแผนงาน 1 หรือแผนงานที่ 2 รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานเอกชนร่วมเป็นวิทยากรและที่ปรึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นายไพโรจน์ สัญญะเดชากุล รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักในการกำกับดูแล และผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้มีการพัฒนาอย่างสมดุลและต่อเนื่อง มุ่งเน้นการพัฒนาภาคการผลิตแบบองค์รวม โดยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงจากการเมือง เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อ ต้นทุนวัตถุดิบผันผวน วิกฤตทางการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตให้มีความสมดุลและยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) พร้อมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีการใช้ฐานความรู้และความสามารถในเชิงทักษะ (Knowledge-Skill Based) อันจะเป็นรากฐานการเติบโตของประเทศอย่างแข็งแกร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
ด้านนายปราโมทย์ วิทยาสุข อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดให้มีโครงการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มผลิตภาพอย่างมีนวัตกรรม (Entrepreneurs Development for Innovative Productivity Programme : EDIPP) ขึ้น เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานโครงการฯ เป็นความร่วมมือของ 3 ฝ่าย คือ ภาครัฐ (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) ภาคธุรกิจ (ผู้ประกอบการ) และสถาบันการศึกษา ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเน้นการสร้างนวัตกรรมและการจัดการ เทคโนโลยีในการผลิต ให้เกิดผลลัพธ์ในด้านการเพิ่มอัตราการผลิต การลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยผ่านขบวนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ตั้งแต่ผลักดันและเพิ่มแรงจูงใจด้านทัศนคติให้ผู้ประกอบการมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ โดยการเรียนรู้ให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์กลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจ ปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเชิงนวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีการผลิต เน้นนวัตกรรมในการผลิตที่เหมาะสมกับองค์กร เพื่อเป็นการนำร่องและสร้างการเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการและทีมงานจนเกิดทักษะแก้ไขปัญหา โดยใช้รูปแบบ Problem-Base, Project-Baseหลังจากจบโครงการพบว่า ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกิจการ และสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในหลายด้าน เช่น มูลค่าที่ได้รับจากการเพิ่มอัตราการผลิต 269.40 ล้านบาท มูลค่าที่ได้จากการลดต้นทุนการผลิต (แรงงาน, พลังงาน, วัตถุดิบ, ของเสีย และอื่นๆ) 110.57 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่และอื่นๆ 117.01 ล้านบาท นายปราโมทย์ กล่าว
จากโครงการEDIPP รุ่นที่ 1 มีผู้ประกอบการสมัครเข้าโครงการฯ เป็นจำนวนมาก และกิจการที่มีความพร้อมได้รับการคัดเลือก จำนวน 124 คน หรือ 31 กิจการ โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการเป็นเวลา 10 เดือน ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ความร่วมมือ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน ได้รับการฝึกอบรม และคำปรึกษาแนะนำอย่างเข้มข้นจากที่ปรึกษาภายใต้กรอบแผนงาน 1 หรือแผนงานที่ 2 รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา และหน่วยงานเอกชนร่วมเป็นวิทยากรและที่ปรึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี