“เดือนเมษายน” ได้เยือนบ้านเมืองเราอีกครั้งแล้ว โดยเฉพาะ “อุณหภูมิ” ที่ร้อนทุกปีด้านอากาศ แต่ในขณะเดียวกัน “อุณหภูมิการเมือง” ของเดือนเมษายน บ้านเมืองเรา “ร้อนระอุ” ไม่แพ้กันเลยระหว่าง “อากาศ-การเมือง”
เท่าที่จำความได้ “เดือนเมษายน” ของทุกปี อุณหภูมิด้านอากาศส่วนใหญ่จะร้อนจัด แต่ “การเมือง” เกิดบ้างไม่เกิดบ้าง ว่าไปแล้ว “อุณหภูมิการเมือง” ไม่น่าจะร้อนระอุมากมายเลย เนื่องด้วย เดือนเมษายนเป็นช่วงปิดเทอมของทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา และเป็นเดือนที่มีวันหยุดเยอะมาก อย่างน้อยก็เกือบ 10 วัน แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากฉวยโอกาส “ลาพักร้อน-ลาหยุด” คาบเกี่ยวกันทีเป็นสัปดาห์ ดังนั้น การทำงานของผู้คนธรรมดาทั่วไป ก็จะมีสูงสุดก็ไม่เกิน 15 วัน พูดง่ายๆ คือ เดือนเมษายนจะเป็นเดือนแห่ง “การไร้ผลงาน” เกือบทั้งเดือนทีเดียว ที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “ไม่มี Productivity!”
แต่เดือนเมษายนนี้ ต้องขอฟันธงเลยว่า ทั้ง “อากาศร้อน” และที่สำคัญ “การเมืองร้อน” เช่นเดียวกัน และจะมี “การทำงาน- Productivity ทางการเมือง” เร่งโหมกันทำงาน ดีไม่ดี 24 ชั่วโมงเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะบรรดา “กลุ่มนักการเมือง” จาก “ค่ายพลังประชาชน”
ว่าไปแล้ว การเคลื่อนไหวของบรรดานักการเมือง และ/หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กอปรกับ “สมาชิกวุฒิสภา” บางส่วน และแน่นอนที่สุด “กลุ่มแกนนำ” ของพรรคการเมืองสำคัญที่เป็นทั้งรัฐมนตรี และถูกจำกัดอยู่บ้านเลขที่ 111 ที่ดำเนินการระดมพล โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ” และเป้าหลักคือ “มาตรา 237”
มาตรา 237 ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18/2550 กำหนดไว้ชัดเจน ที่ขออธิบายพอสังเขปว่า “ถ้ากรรมการบริหารพรรคคนใดไปกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งทั้งส.ส.และส.ว. เมื่อโดนวินิจฉัยตัดสินใจ กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ถูกตัดสิทธิด้วยใบแดง จะมีโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี พร้อมพ้นจากตำแหน่งส.ส. ตลอดจนคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องมีส่วนรู้เห็น ถือว่าต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย และจะถูกตัดสิทธิและเว้นวรรคทางการเมืองทั้งหมด” จนเลยเถิดไปถึง “การยุบพรรค” ด้วยเช่นเดียวกัน
ในกรณี มาตรา 237 นี้ จึงเป็นที่มาของ “การดิ้นรนสุดชีวิต” โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน ที่จะต้องรีบเร่งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อไล่ตามให้ทันการดำเนินการพิจารณาคดีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.จากจังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันได้แสดง “สปิริตยุติบทบาท” ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องด้วย “ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง” ได้ประทับฟ้องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว
นอกเหนือจากนั้น ยังมีคดีพรรคพลังประชาชน “นอมินี” พรรคไทยรักไทย อีกที่อยู่ในคิวของ “การพิจารณา-ถูกเชือด” เช่นเดียวกัน จึงทำให้บรรดาแกนนำของพรรคพลังประชาชน “ดิ้นพล่าน” ที่ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี “เอกภาพ” ของหมู่มวลสมาชิกพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะ ส.ส.บางกลุ่ม ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการพิจารณาคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่แล้วเสร็จ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ให้คุณทักษิณ ได้พิสูจน์ตนเอง เพราะฉะนั้น “เอกภาพ” ของพรรคพลังประชาชนที่ต่างตระหนักดีว่า “แตกเป็นก๊ก!” อยู่ขณะนี้
บรรดาแกนนำของพรรคพลังประชาชนจึงเริ่มเดินเครื่อง “แก้ขวย!” ว่า ถ้าจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วก็น่าจะมีการแก้ไขหลายๆ มาตราไปพร้อมกัน จนล่าสุด มีการ “ตั้งธง-ตั้งเป้า” ว่า น่าจะแก้ไขทีเดียว 18 มาตราด้วย อาทิ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระบบการแบ่งจำนวนส.ส.กับเขตเลือกตั้ง เป็นต้น
แต่ “ธง-เป้า” ที่แท้จริงแล้ว น่าจะไปอยู่ที่ 2 มาตราหลักๆ เท่านั้น คือ “มาตรา 237 – มาตรา 309” ที่จะเป็นประเด็นร้อนสุดๆ สำหรับ “การต่อต้าน” จนนำพาไปสู่ “การเผชิญหน้า” ทั้งจากกลุ่ม “ผู้คัดค้าน-ผู้เห็นด้วย” ในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน ที่ต่างรู้ดีว่า “เหตุผลแก้ไขรัฐธรรมนูญ” คืออะไร
มาตรา 309 เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในกรณีของ องค์กรที่เกิดขึ้นจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยเฉพาะ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) พูดง่ายๆ คือ ต้องการยุบ คตส.เพื่อจะได้ยุติกระบวนการขั้นตอนการพิจารณาคดีต่างๆ เกี่ยวกับตระกูลชินวัตร
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองมาตรา 237-309 ถ้าเริ่มล่ารายชื่อจำนวนส.ส.จากพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ที่ต้องการเพียงกึ่งหนึ่ง (316 คน) จาก ส.ส.และส.ว.ทั้งหมด 630 คน ก็สามารถเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแก้ไขได้ ภายในไม่เกิน 2 เดือน หรือจะพยายามจะแก้ไขให้จบสิ้น 3 วาระรวดนั้น ฟังดูเสมือนง่าย!
หรือแม้กระทั่ง มีการระดมรวมพลจาก “พยัคฆ์ร้าย” จากบุรีรัมย์ให้มีการล่ารายชื่อประชาชนเกิน 20,000 คน ก็สามารถเข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าประชาชนโดยทั่วไป “ตระหนักดี” ถึงเป้าหมายในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าต้องการ “หนีคดียุบพรรค” และ “ยุบ คตส.” เพื่อประโยชน์ของ “หัวหน้าพรรคตัวจริงเสียงจริง!”
ถามว่า ความพยายามในการ “เดินเครื่อง-เดินหน้า” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ “ระฆังรัว” ให้ดำเนินการแล้ว ซึ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการให้ได้ภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า ก็ขอฟันธงเลยว่า “การเมืองร้อนฉ่า!” ทันที เพราะจะมีทั้ง “ผู้ไม่สนับสนุน” และ “ผู้สนับสนุน” ต้องมาเผชิญหน้ากัน ดีไม่ดี อาจถึงขั้น “จลาจล-นองเลือด”
อีกด้านหนึ่ง ก็เร่งกระบวนการพิจารณาคดี “ยุบพรรค” ให้เร็วที่สุดในสัปดาห์นี้ ทั้งในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และในส่วนของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ในกรณีของคุณยงยุทธ ติยะไพรัช
และที่สำคัญไปมากกว่านั้น คือ การเร่งสรรหา “คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ให้จบสิ้น และแต่งตั้งโดยเร็วจนครบ 9 คน ภายในไม่น่าจะเกิน 1 เดือน เพื่อมาทำหน้าพิจารณา “คดียุบพรรค” ทั้งนี้ คณะตุลาการฯ ทั้ง 9 คน ฟันธงได้เลยว่า ไม่มีผู้ใดที่จะ “ถูกซื้อ” ได้เหมือนในอดีต และจะ “ยุติธรรม” ว่ากันตามเนื้อผ้ามากที่สุด จนทำให้บรรดากลุ่มแกนนำของพลังประชาชน “หนาว!” ในเดือนร้อนเมษายนไปตามๆ กัน
“ตุลาการภิวัฒน์” เท่านั้นที่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดกับ “การพัฒนาการเมืองไทย” ที่จะทำให้ทุกฝ่าย “ร้อนระอุ” กันทั่วหล้า ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ “การเมือง” ที่น่าเชื่อว่าภายใน 2 ถึง 3 เดือนเป็นอย่างสูง “การเมืองเปลี่ยนแปลงแน่นอน!” ส่วนจะไปในทิศทางใดนั้น ขอบอกว่า “ขึ้นอยู่กับประชาชนเท่านั้น!” ที่ต้องการให้ชาติบ้านเมืองเข้ารูปเข้ารอยเสียที
สองกระบวนการ “คู่ขนาน” ระหว่าง ส.ส.ในสภาผู้แทนฯ จะระดมเสียงให้ได้ 316 เสียง เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาจต้องพึ่ง ส.ว.อย่างน้อยถึง 40 กว่าเสียง เพื่อผ่านการแก้ไขทั้ง 3 วาระ ตลอดจนการระดมกำลังคนจากทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ โดย “ขุนพล-พยัคฆ์ร้าย” ที่ใครๆ ก็รู้ดีว่าใคร นับหมื่นคน เพื่อ “สนับสนุน” และแน่นอน “กดดัน” กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” ที่จะ “แข่งเร่ง” ดำเนินการเข้าเส้นชัยให้ได้ก่อน
ส่วนข่าวคราวที่ว่า “กองทัพปฏิวัติ-ยึดอำนาจ” นั้น ขอฟันธงเลยว่า “เป็นไปไม่ได้!” ดังที่ท่านผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้ประกาศไว้ชัดเจน หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า “กองทัพ” ฉลาดพอที่จะสามารถเข้าใจและสัมผัส “กระแสสังคม” ได้ว่า “การยึดอำนาจ” ในขณะนี้ จะ “ผิดพลาด” ที่สุด โดยให้ “กระบวนการทางการเมืองสะดุดหกล้มด้วยตนเองน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด” ซึ่งก็ขอฟันธงเลยว่า “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ “แยบยล-สลับซับซ้อน” ที่สุด
ถามว่า ถ้าพิจารณา “มุม-หลืบ” ทุกอย่างอย่างรอบคอบแล้ว มีความเป็นไปได้หรือไม่กับ “การยุบสภาฯ” แล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็ต้องตอบว่า “มีคิด!” เพียงแต่ว่า เมื่อยุบสภาแล้ว คดีความกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ยังเป็นชนักติดหลังหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “มี!” เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะหนีไปในทิศทางใด ถ้าธง “ยุบพรรค” เพราะกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจริง ก็คงหนีไม่พ้น “ยุบสภา” ก็ต้องหา “นอมินี” ใหม่หมด ตั้งพรรคการเมืองใหม่ บ้านเมืองคงสับสนวุ่นวายพิลึก และแน่นอนที่สุด ที่ทั้งสองฝ่ายต้องรีบเร่งเข้าเส้นชัยเสียก่อน
การกระทำการใดๆ ล้วนมีเหตุที่มาที่ไปทั้งสิ้น เหตุทั้งหมดเกิดจากการกระทำของบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งสิ้น ที่อ้างประชาธิปไตย แต่เงินเป็นปัจจัยทุกครั้งที่ต้องการได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์
ปล่อยให้เดือนเมษายน “ร้อนระอุ” ไปหนึ่งเดือน ประกบด้วยความโกลาหลทางการเมืองอีก 2-3 เดือน แล้วบ้านเมืองก็จะเข้าที่เข้าทางเองประมาณเดือนสิงหาคม ประเทศชาติไม่ถึงกับล่มจมสลายตายจากแน่นอน!
เท่าที่จำความได้ “เดือนเมษายน” ของทุกปี อุณหภูมิด้านอากาศส่วนใหญ่จะร้อนจัด แต่ “การเมือง” เกิดบ้างไม่เกิดบ้าง ว่าไปแล้ว “อุณหภูมิการเมือง” ไม่น่าจะร้อนระอุมากมายเลย เนื่องด้วย เดือนเมษายนเป็นช่วงปิดเทอมของทั้งนักเรียนนิสิตนักศึกษา และเป็นเดือนที่มีวันหยุดเยอะมาก อย่างน้อยก็เกือบ 10 วัน แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากฉวยโอกาส “ลาพักร้อน-ลาหยุด” คาบเกี่ยวกันทีเป็นสัปดาห์ ดังนั้น การทำงานของผู้คนธรรมดาทั่วไป ก็จะมีสูงสุดก็ไม่เกิน 15 วัน พูดง่ายๆ คือ เดือนเมษายนจะเป็นเดือนแห่ง “การไร้ผลงาน” เกือบทั้งเดือนทีเดียว ที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า “ไม่มี Productivity!”
แต่เดือนเมษายนนี้ ต้องขอฟันธงเลยว่า ทั้ง “อากาศร้อน” และที่สำคัญ “การเมืองร้อน” เช่นเดียวกัน และจะมี “การทำงาน- Productivity ทางการเมือง” เร่งโหมกันทำงาน ดีไม่ดี 24 ชั่วโมงเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะบรรดา “กลุ่มนักการเมือง” จาก “ค่ายพลังประชาชน”
ว่าไปแล้ว การเคลื่อนไหวของบรรดานักการเมือง และ/หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กอปรกับ “สมาชิกวุฒิสภา” บางส่วน และแน่นอนที่สุด “กลุ่มแกนนำ” ของพรรคการเมืองสำคัญที่เป็นทั้งรัฐมนตรี และถูกจำกัดอยู่บ้านเลขที่ 111 ที่ดำเนินการระดมพล โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ “แก้ไขรัฐธรรมนูญ” และเป้าหลักคือ “มาตรา 237”
มาตรา 237 ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18/2550 กำหนดไว้ชัดเจน ที่ขออธิบายพอสังเขปว่า “ถ้ากรรมการบริหารพรรคคนใดไปกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งทั้งส.ส.และส.ว. เมื่อโดนวินิจฉัยตัดสินใจ กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ถูกตัดสิทธิด้วยใบแดง จะมีโทษให้เว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี พร้อมพ้นจากตำแหน่งส.ส. ตลอดจนคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ต้องมีส่วนรู้เห็น ถือว่าต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย และจะถูกตัดสิทธิและเว้นวรรคทางการเมืองทั้งหมด” จนเลยเถิดไปถึง “การยุบพรรค” ด้วยเช่นเดียวกัน
ในกรณี มาตรา 237 นี้ จึงเป็นที่มาของ “การดิ้นรนสุดชีวิต” โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน ที่จะต้องรีบเร่งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อไล่ตามให้ทันการดำเนินการพิจารณาคดีของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ส.ส.จากจังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันได้แสดง “สปิริตยุติบทบาท” ในตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรไปเรียบร้อยแล้ว เนื่องด้วย “ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง” ได้ประทับฟ้องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แล้ว
นอกเหนือจากนั้น ยังมีคดีพรรคพลังประชาชน “นอมินี” พรรคไทยรักไทย อีกที่อยู่ในคิวของ “การพิจารณา-ถูกเชือด” เช่นเดียวกัน จึงทำให้บรรดาแกนนำของพรรคพลังประชาชน “ดิ้นพล่าน” ที่ขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี “เอกภาพ” ของหมู่มวลสมาชิกพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะ ส.ส.บางกลุ่ม ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ โดยให้เหตุผลว่า กระบวนการพิจารณาคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่แล้วเสร็จ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ให้คุณทักษิณ ได้พิสูจน์ตนเอง เพราะฉะนั้น “เอกภาพ” ของพรรคพลังประชาชนที่ต่างตระหนักดีว่า “แตกเป็นก๊ก!” อยู่ขณะนี้
บรรดาแกนนำของพรรคพลังประชาชนจึงเริ่มเดินเครื่อง “แก้ขวย!” ว่า ถ้าจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วก็น่าจะมีการแก้ไขหลายๆ มาตราไปพร้อมกัน จนล่าสุด มีการ “ตั้งธง-ตั้งเป้า” ว่า น่าจะแก้ไขทีเดียว 18 มาตราด้วย อาทิ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ระบบการแบ่งจำนวนส.ส.กับเขตเลือกตั้ง เป็นต้น
แต่ “ธง-เป้า” ที่แท้จริงแล้ว น่าจะไปอยู่ที่ 2 มาตราหลักๆ เท่านั้น คือ “มาตรา 237 – มาตรา 309” ที่จะเป็นประเด็นร้อนสุดๆ สำหรับ “การต่อต้าน” จนนำพาไปสู่ “การเผชิญหน้า” ทั้งจากกลุ่ม “ผู้คัดค้าน-ผู้เห็นด้วย” ในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน ที่ต่างรู้ดีว่า “เหตุผลแก้ไขรัฐธรรมนูญ” คืออะไร
มาตรา 309 เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในกรณีของ องค์กรที่เกิดขึ้นจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยเฉพาะ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) พูดง่ายๆ คือ ต้องการยุบ คตส.เพื่อจะได้ยุติกระบวนการขั้นตอนการพิจารณาคดีต่างๆ เกี่ยวกับตระกูลชินวัตร
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองมาตรา 237-309 ถ้าเริ่มล่ารายชื่อจำนวนส.ส.จากพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาล ที่ต้องการเพียงกึ่งหนึ่ง (316 คน) จาก ส.ส.และส.ว.ทั้งหมด 630 คน ก็สามารถเสนอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแก้ไขได้ ภายในไม่เกิน 2 เดือน หรือจะพยายามจะแก้ไขให้จบสิ้น 3 วาระรวดนั้น ฟังดูเสมือนง่าย!
หรือแม้กระทั่ง มีการระดมรวมพลจาก “พยัคฆ์ร้าย” จากบุรีรัมย์ให้มีการล่ารายชื่อประชาชนเกิน 20,000 คน ก็สามารถเข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าประชาชนโดยทั่วไป “ตระหนักดี” ถึงเป้าหมายในการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าต้องการ “หนีคดียุบพรรค” และ “ยุบ คตส.” เพื่อประโยชน์ของ “หัวหน้าพรรคตัวจริงเสียงจริง!”
ถามว่า ความพยายามในการ “เดินเครื่อง-เดินหน้า” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ “ระฆังรัว” ให้ดำเนินการแล้ว ซึ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการให้ได้ภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า ก็ขอฟันธงเลยว่า “การเมืองร้อนฉ่า!” ทันที เพราะจะมีทั้ง “ผู้ไม่สนับสนุน” และ “ผู้สนับสนุน” ต้องมาเผชิญหน้ากัน ดีไม่ดี อาจถึงขั้น “จลาจล-นองเลือด”
อีกด้านหนึ่ง ก็เร่งกระบวนการพิจารณาคดี “ยุบพรรค” ให้เร็วที่สุดในสัปดาห์นี้ ทั้งในส่วนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และในส่วนของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ในกรณีของคุณยงยุทธ ติยะไพรัช
และที่สำคัญไปมากกว่านั้น คือ การเร่งสรรหา “คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ให้จบสิ้น และแต่งตั้งโดยเร็วจนครบ 9 คน ภายในไม่น่าจะเกิน 1 เดือน เพื่อมาทำหน้าพิจารณา “คดียุบพรรค” ทั้งนี้ คณะตุลาการฯ ทั้ง 9 คน ฟันธงได้เลยว่า ไม่มีผู้ใดที่จะ “ถูกซื้อ” ได้เหมือนในอดีต และจะ “ยุติธรรม” ว่ากันตามเนื้อผ้ามากที่สุด จนทำให้บรรดากลุ่มแกนนำของพลังประชาชน “หนาว!” ในเดือนร้อนเมษายนไปตามๆ กัน
“ตุลาการภิวัฒน์” เท่านั้นที่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดกับ “การพัฒนาการเมืองไทย” ที่จะทำให้ทุกฝ่าย “ร้อนระอุ” กันทั่วหล้า ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะ “การเมือง” ที่น่าเชื่อว่าภายใน 2 ถึง 3 เดือนเป็นอย่างสูง “การเมืองเปลี่ยนแปลงแน่นอน!” ส่วนจะไปในทิศทางใดนั้น ขอบอกว่า “ขึ้นอยู่กับประชาชนเท่านั้น!” ที่ต้องการให้ชาติบ้านเมืองเข้ารูปเข้ารอยเสียที
สองกระบวนการ “คู่ขนาน” ระหว่าง ส.ส.ในสภาผู้แทนฯ จะระดมเสียงให้ได้ 316 เสียง เพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาจต้องพึ่ง ส.ว.อย่างน้อยถึง 40 กว่าเสียง เพื่อผ่านการแก้ไขทั้ง 3 วาระ ตลอดจนการระดมกำลังคนจากทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ โดย “ขุนพล-พยัคฆ์ร้าย” ที่ใครๆ ก็รู้ดีว่าใคร นับหมื่นคน เพื่อ “สนับสนุน” และแน่นอน “กดดัน” กระบวนการ “ตุลาการภิวัฒน์” ที่จะ “แข่งเร่ง” ดำเนินการเข้าเส้นชัยให้ได้ก่อน
ส่วนข่าวคราวที่ว่า “กองทัพปฏิวัติ-ยึดอำนาจ” นั้น ขอฟันธงเลยว่า “เป็นไปไม่ได้!” ดังที่ท่านผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้ประกาศไว้ชัดเจน หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า “กองทัพ” ฉลาดพอที่จะสามารถเข้าใจและสัมผัส “กระแสสังคม” ได้ว่า “การยึดอำนาจ” ในขณะนี้ จะ “ผิดพลาด” ที่สุด โดยให้ “กระบวนการทางการเมืองสะดุดหกล้มด้วยตนเองน่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด” ซึ่งก็ขอฟันธงเลยว่า “การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง” ซึ่งกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ “แยบยล-สลับซับซ้อน” ที่สุด
ถามว่า ถ้าพิจารณา “มุม-หลืบ” ทุกอย่างอย่างรอบคอบแล้ว มีความเป็นไปได้หรือไม่กับ “การยุบสภาฯ” แล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ ก็ต้องตอบว่า “มีคิด!” เพียงแต่ว่า เมื่อยุบสภาแล้ว คดีความกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ยังเป็นชนักติดหลังหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “มี!” เมื่อเป็นเช่นนั้น ไม่ว่าจะหนีไปในทิศทางใด ถ้าธง “ยุบพรรค” เพราะกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งจริง ก็คงหนีไม่พ้น “ยุบสภา” ก็ต้องหา “นอมินี” ใหม่หมด ตั้งพรรคการเมืองใหม่ บ้านเมืองคงสับสนวุ่นวายพิลึก และแน่นอนที่สุด ที่ทั้งสองฝ่ายต้องรีบเร่งเข้าเส้นชัยเสียก่อน
การกระทำการใดๆ ล้วนมีเหตุที่มาที่ไปทั้งสิ้น เหตุทั้งหมดเกิดจากการกระทำของบรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งสิ้น ที่อ้างประชาธิปไตย แต่เงินเป็นปัจจัยทุกครั้งที่ต้องการได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์
ปล่อยให้เดือนเมษายน “ร้อนระอุ” ไปหนึ่งเดือน ประกบด้วยความโกลาหลทางการเมืองอีก 2-3 เดือน แล้วบ้านเมืองก็จะเข้าที่เข้าทางเองประมาณเดือนสิงหาคม ประเทศชาติไม่ถึงกับล่มจมสลายตายจากแน่นอน!