สสว.ร่วมกับจังหวัดสตูล ช่วยผู้ประกอบการท้องถิ่นบนเกาะหลีเป๊ะ จัดทำโครงการเกาะหลีเป๊ะโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน แข่งขันกับผู้ประกอบการด้านที่พักอาศัยรายใหญ่บนเกาะ เชื่อหลังพัฒนาโครงการส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้อย่างน้อย 1,000บาทต่อคนต่อวัน
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากที่ผ่านมา เกาะหลีเป๊ะถือเป็นเกาะที่สร้างรายได้มากที่สุดในบรรดาเกาะทั้งหลายของจังหวัดสตูล และสามารถสร้างรายได้มากกว่าการท่องเที่ยวบนฝั่ง ทำให้ปัจจุบันเกาะหลีเป๊ะมีนักลงทุนทั้งในท้องถิ่นและต่างถิ่น เข้ามาลงทุนดำเนินกิจการรีสอร์ทขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งนั่นอาจทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงรายได้ตรงจุดนี้ได้
ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงได้ร่วมกับ จังหวัดสตูล และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล (สทก.) จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดสตูล ขึ้นมา โดยมีกิจกรรมในโครงการคือ “เกาะหลีเป๊ะโฮมสเตย์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิต การค้า และการบริการ ให้มีคุณภาพทัดเทียมระดับประเทศ ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าที่ท้องถิ่นผลิตได้ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน
“สสว. คาดว่า ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ จะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 1,000 บาทต่อคนต่อวัน โดยแยกเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่านำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมหมู่เกาะต่างๆ นั่นเท่ากับว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยว ชาวบ้านจะมีรายได้ครอบครัวละประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน โดยปัจจุบันมีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 15 ครอบครัว โดยแต่ละครอบครัวได้มีการปรับปรุงที่พักอาศัยเพื่อให้พร้อมบริการนักท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว” นายภักดิ์ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ สสว. ได้ร่วมประชุมกับจังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาและกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน และร่วมกับ สทก. ในการทำความเข้าใจและคัดเลือกชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ พร้อมทำการอบรมให้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับงานด้านบริการ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหารจัดการ การจัดเตรียมที่พัก การทำอาหาร การทำความสะอาด ฯลฯ รวมถึงการนำชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการไปศึกษาดูงานด้านโฮมสเตย์
“เป้าหมายที่วางไว้คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือรายได้หลักที่ไม่ใช่มาจากค่าที่พักเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดเรื่องรายได้ที่มาจากของที่ระลึกต่างๆ รวมถึงการทำให้เกิดเครือข่ายโฮมสเตย์กับโฮมสเตย์อื่นๆ ที่อยู่บนฝั่ง เพื่อช่วยกันโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อแลกเปลี่ยนหรือส่งต่อนักท่องเที่ยวให้กันและกัน” นายภักดิ์ กล่าว
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า เนื่องจากที่ผ่านมา เกาะหลีเป๊ะถือเป็นเกาะที่สร้างรายได้มากที่สุดในบรรดาเกาะทั้งหลายของจังหวัดสตูล และสามารถสร้างรายได้มากกว่าการท่องเที่ยวบนฝั่ง ทำให้ปัจจุบันเกาะหลีเป๊ะมีนักลงทุนทั้งในท้องถิ่นและต่างถิ่น เข้ามาลงทุนดำเนินกิจการรีสอร์ทขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งนั่นอาจทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงรายได้ตรงจุดนี้ได้
ด้วยเหตุนี้ สสว. จึงได้ร่วมกับ จังหวัดสตูล และสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล (สทก.) จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดสตูล ขึ้นมา โดยมีกิจกรรมในโครงการคือ “เกาะหลีเป๊ะโฮมสเตย์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิต การค้า และการบริการ ให้มีคุณภาพทัดเทียมระดับประเทศ ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้าที่ท้องถิ่นผลิตได้ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน
“สสว. คาดว่า ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ จะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 1,000 บาทต่อคนต่อวัน โดยแยกเป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่านำนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมหมู่เกาะต่างๆ นั่นเท่ากับว่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูการท่องเที่ยว ชาวบ้านจะมีรายได้ครอบครัวละประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน โดยปัจจุบันมีชาวบ้านเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 15 ครอบครัว โดยแต่ละครอบครัวได้มีการปรับปรุงที่พักอาศัยเพื่อให้พร้อมบริการนักท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว” นายภักดิ์ กล่าว
สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการ สสว. ได้ร่วมประชุมกับจังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาและกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน และร่วมกับ สทก. ในการทำความเข้าใจและคัดเลือกชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ พร้อมทำการอบรมให้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับงานด้านบริการ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหารจัดการ การจัดเตรียมที่พัก การทำอาหาร การทำความสะอาด ฯลฯ รวมถึงการนำชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการไปศึกษาดูงานด้านโฮมสเตย์
“เป้าหมายที่วางไว้คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือรายได้หลักที่ไม่ใช่มาจากค่าที่พักเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดเรื่องรายได้ที่มาจากของที่ระลึกต่างๆ รวมถึงการทำให้เกิดเครือข่ายโฮมสเตย์กับโฮมสเตย์อื่นๆ ที่อยู่บนฝั่ง เพื่อช่วยกันโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อแลกเปลี่ยนหรือส่งต่อนักท่องเที่ยวให้กันและกัน” นายภักดิ์ กล่าว