กรมส่งเสริมสหกรณ์ยกระดับนิคมสหกรณ์แม่แตงสู่ต้นแบบศูนย์เรียนรู้ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง หลังกระจายงบกว่า 1.1 ล้านบาทให้พัฒนาตนเอง ชี้ความสำเร็จเกิดจากการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด สอดรับกับการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การประกอบอาชีพอย่างพออยู่พอกิน โดยอาศัยการผลิตเพื่อเกิดในครัวเรือน เหลือใช้ก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ หัวหน้านิคมสหกรณ์แม่แตง กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ราษฎร์ส่วนใหญ่ในเขตท้องที่อำเภอแม่แตงต้องประสบปัญหาการประกอบอาชีพอย่างมาก เพราะที่ดินที่ทางการจัดสรรให้ทำกันรวมกว่า 12,700 ไร่นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับปริมาณน้ำในแต่ล่ะปีมีจำนวนจำกัดทำให้ภาคการเกษตรเกิดปัญหาอย่างมาก
ดังนั้นทางนิคมฯ จึงได้ทำการจัดสรรที่ดินส่วนกลางประมาณ 50 ไร่ มาปรับสภาพให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับครอบครัวสมาชิกสหกรณ์ ได้เข้ามาหมุนเวียนทำการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในแปลงสาธิตอย่างเท่าเทียมกัน โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่ปรับเปลี่ยนทัศนคติมาเป็นเกษตรแบบปรัชญาพอเพียง ที่จะเน้นการใช้ภูมิปัญญาและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องที่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ปี2551) เพื่อก่อสร้างศูนย์ฯ จำนวน 1,130,000 บาท เพื่อทำการปรับปรุงพื้นที่ตามสัดส่วนที่ดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย ขุดลอกสระน้ำ ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมการเรียนรู้ประจำหน่วย รวม 8 รายการ เป็นต้น และได้ทำการคัดเลือกและฝึกอบรมร่วมโครงการจำนวน 30 ราย รวมเป็นเงิน 496,600 บาท โดยทางศูนย์ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานไว้ 3 รูปแบบ คือ กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว และกิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทน
อัชฌา กล่าวว่า กิจกรรมทั้งหมดจะมุ่งเน้นการพัฒนาอาชีพเดินและเพิ่มทางเลือกในอาชีพใหม่ โดยในแต่ละกิจกรรมจะมีการเอื้อประโยชน์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดนเน้นให้เห็นถึงการใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นการเลี้ยงโค แพะ มาเล็มวัชพืช และนำมูลโคที่ได้มาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพ ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักแล้วสามารถนำมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และท้ายสุดผักที่ได้และผ่านการตัดแต่งแล้วส่วนที่เหลือยังสามารถนำไปเป็นอาหารสุกร ปลา เรียกได้ว่าทุกอย่างมีการหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้การดำเนินงานของศูนย์ฯ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาขาดทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิกแล้ว ยังเป็นห้องเรียนที่ใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการศึกษาดูงานของเกษตรกรในท้องที่และเกษตรทั่วไปได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงถือเป็น ศูนย์การเรียนรู้ตัวอย่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มีความสมบูรณ์แบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด เพราะมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมกันบริหารศูนย์ในรูปแบบคณะกรรมการไม่ว่าจะเป็น นายอำเภอแม่แตง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมไปถึงตัวแทนเกษตรกร
อัชฌากล่าวว่า นอกจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงแล้ว ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งสิ้น 8 แห่งทั่วประเทศเพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีแต่น้อยและมีความสนใจได้ใช้แป็นแห่งในการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริง
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ หัวหน้านิคมสหกรณ์แม่แตง กล่าวว่า ก่อนที่จะมีการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ราษฎร์ส่วนใหญ่ในเขตท้องที่อำเภอแม่แตงต้องประสบปัญหาการประกอบอาชีพอย่างมาก เพราะที่ดินที่ทางการจัดสรรให้ทำกันรวมกว่า 12,700 ไร่นั้น ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับปริมาณน้ำในแต่ล่ะปีมีจำนวนจำกัดทำให้ภาคการเกษตรเกิดปัญหาอย่างมาก
ดังนั้นทางนิคมฯ จึงได้ทำการจัดสรรที่ดินส่วนกลางประมาณ 50 ไร่ มาปรับสภาพให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับครอบครัวสมาชิกสหกรณ์ ได้เข้ามาหมุนเวียนทำการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในแปลงสาธิตอย่างเท่าเทียมกัน โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด แต่ปรับเปลี่ยนทัศนคติมาเป็นเกษตรแบบปรัชญาพอเพียง ที่จะเน้นการใช้ภูมิปัญญาและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องที่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ปี2551) เพื่อก่อสร้างศูนย์ฯ จำนวน 1,130,000 บาท เพื่อทำการปรับปรุงพื้นที่ตามสัดส่วนที่ดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย ขุดลอกสระน้ำ ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมการเรียนรู้ประจำหน่วย รวม 8 รายการ เป็นต้น และได้ทำการคัดเลือกและฝึกอบรมร่วมโครงการจำนวน 30 ราย รวมเป็นเงิน 496,600 บาท โดยทางศูนย์ฯ ได้วางแผนการดำเนินงานไว้ 3 รูปแบบ คือ กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว และกิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทน
อัชฌา กล่าวว่า กิจกรรมทั้งหมดจะมุ่งเน้นการพัฒนาอาชีพเดินและเพิ่มทางเลือกในอาชีพใหม่ โดยในแต่ละกิจกรรมจะมีการเอื้อประโยชน์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดนเน้นให้เห็นถึงการใช้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างเช่นการเลี้ยงโค แพะ มาเล็มวัชพืช และนำมูลโคที่ได้มาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพ ซึ่งหลังจากกระบวนการหมักแล้วสามารถนำมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และท้ายสุดผักที่ได้และผ่านการตัดแต่งแล้วส่วนที่เหลือยังสามารถนำไปเป็นอาหารสุกร ปลา เรียกได้ว่าทุกอย่างมีการหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งนี้การดำเนินงานของศูนย์ฯ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาขาดทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิกแล้ว ยังเป็นห้องเรียนที่ใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการศึกษาดูงานของเกษตรกรในท้องที่และเกษตรทั่วไปได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงถือเป็น ศูนย์การเรียนรู้ตัวอย่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มีความสมบูรณ์แบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด เพราะมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมกันบริหารศูนย์ในรูปแบบคณะกรรมการไม่ว่าจะเป็น นายอำเภอแม่แตง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมไปถึงตัวแทนเกษตรกร
อัชฌากล่าวว่า นอกจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงแล้ว ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งสิ้น 8 แห่งทั่วประเทศเพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีแต่น้อยและมีความสนใจได้ใช้แป็นแห่งในการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริง