ผู้จัดการรายวัน - กรมส่งเสริมสหกรณ์ยกระดับนิคมสหกรณ์แม่แตงขึ้นแท่นต้นแบบศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หลักกระจายงบ 1.1 ล้านบาทให้พัฒนาตนเอง ชี้ความสำเร็จอยู่บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนุนประชาชนใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุนใช้จ่ายแถมสร้างรายได้เพิ่ม
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ หัวหน้านิคมสหกรณ์แม่แตง เผยว่า การก่อตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ปี2551) จำนวน 1,130,000 บาท ซึ่งก่อนจะมีการตั้งศูนย์ฯ ประชาชนส่วนใหญ่ในเขต อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ประสบปัญหาการประกอบอาชีพ เพราะที่ดินที่ทางการจัดสรรทำกินกว่า 12,700 ไร่ เป็นที่ราบเชิงเขา ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับปริมาณน้ำในแต่ละปีมีจำนวนจำกัด กระทบการทำเกษตร
ดังนั้น ทางนิคมฯ ได้จัดสรรที่ดินส่วนกลางประมาณ 50 ไร่ มาปรับสภาพเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับครอบครัวสมาชิกสหกรณ์เข้ามาหมุนเวียนทำการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในแปลงสาธิตอย่างเท่าเทียมกัน โดยศึกษาการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปรับเปลี่ยนทัศนคติรู้จักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องที่มาประยุกต์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
ทั้งนี้ แผนดำเนินการมี 3 รูปแบบ คือ กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว และกิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทน โดยกิจกรรมทั้งหมดมุ่งพัฒนาอาชีพเดิมและเพิ่มทางเลือกอาชีพใหม่ แต่ละกิจกรรมจะเอื้อประโยชน์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นอกจากช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาขาดทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิกแล้ว ยังเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งให้เกษตรกรในท้องที่และทั่วไปศึกษาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตัวเอง
นายอัชฌา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงถือเป็นศูนย์ตัวอย่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่มีความสมบูรณ์แบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ มีการบริหารศูนย์ในรูปแบบคณะกรรมการประกอบด้วยนายอำเภอแม่แตง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น และตัวแทนเกษตรกร
นอกจากศูนย์ฯ แห่งนี้แล้ว ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้จัดตั้งศูนย์ฯ ลักษณะนี้ อีก 8 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีแต่น้อย ได้เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การปฏิบัติจริง
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ หัวหน้านิคมสหกรณ์แม่แตง เผยว่า การก่อตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ปี2551) จำนวน 1,130,000 บาท ซึ่งก่อนจะมีการตั้งศูนย์ฯ ประชาชนส่วนใหญ่ในเขต อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ประสบปัญหาการประกอบอาชีพ เพราะที่ดินที่ทางการจัดสรรทำกินกว่า 12,700 ไร่ เป็นที่ราบเชิงเขา ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับปริมาณน้ำในแต่ละปีมีจำนวนจำกัด กระทบการทำเกษตร
ดังนั้น ทางนิคมฯ ได้จัดสรรที่ดินส่วนกลางประมาณ 50 ไร่ มาปรับสภาพเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับครอบครัวสมาชิกสหกรณ์เข้ามาหมุนเวียนทำการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในแปลงสาธิตอย่างเท่าเทียมกัน โดยศึกษาการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และปรับเปลี่ยนทัศนคติรู้จักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัตถุดิบที่หาได้ในท้องที่มาประยุกต์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้
ทั้งนี้ แผนดำเนินการมี 3 รูปแบบ คือ กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะสั้น กิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนระยะยาว และกิจกรรมที่ไม่หวังผลตอบแทน โดยกิจกรรมทั้งหมดมุ่งพัฒนาอาชีพเดิมและเพิ่มทางเลือกอาชีพใหม่ แต่ละกิจกรรมจะเอื้อประโยชน์เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน นอกจากช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาขาดทุนในการประกอบอาชีพของสมาชิกแล้ว ยังเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดแห่งหนึ่งให้เกษตรกรในท้องที่และทั่วไปศึกษาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตัวเอง
นายอัชฌา กล่าวต่อว่า ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงแม่แตงถือเป็นศูนย์ตัวอย่างของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่มีความสมบูรณ์แบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมีการวางแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงการได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ มีการบริหารศูนย์ในรูปแบบคณะกรรมการประกอบด้วยนายอำเภอแม่แตง หัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ องค์กรปกครองท้องถิ่น และตัวแทนเกษตรกร
นอกจากศูนย์ฯ แห่งนี้แล้ว ทางกรมส่งเสริมสหกรณ์ยังได้จัดตั้งศูนย์ฯ ลักษณะนี้ อีก 8 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีแต่น้อย ได้เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่การปฏิบัติจริง