IFCเผยผลสำรวจประเทศที่ทำธุรกิจง่ายที่สุดในโลก ไทยขยับเลื่อนขึ้นอยู่อันดับที่ 13 ของโลกและที่ 4 ในเอเชีย เผยปัจจัยมีการปรับลดเงื่อนไขและกฎระเบียบต่างๆ เอื้อต่อการทำธุรกิจ ระบุผลดังกล่าวไม่รวมปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งนักลงทุนต้องประเมินด้วยตัวเอง
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ( International Finance Corp) หรือไอเอฟซี (IFC) ได้แถลงผ่านระบบเทเลคอนเฟอร์เรน จากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐฯ มายังประเทศไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ถึงการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ ประจำปี 2552 (Doing Business 2009) โดยระบุว่า จากข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2550 – มิถุนายน 2551 ธนาคารโลกและไอเอฟซี จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย
ทั้งนี้ อันดับดังกล่าว ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งที่แล้วที่อยู่อันดับ 19 ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ครองตำแหน่งประเทศที่ง่ายที่สุดต่อการทำธุรกิจ 3 ปีซ้อน อันดับ 2 นิวซีแลนด์ อันดับ 3 สหรัฐฯ อันดับ 4 ฮ่องกง กับจีน และอันดับ 5 เดนมาร์ก
นางสาวกิริฎา เผยว่า เหตุผลที่ประเทศไทยได้เลื่อนอันดับมา 6 ลำดับ เนื่องจากมีการยกระดับการให้บริการ ลดค่าธรรมเนียม และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการยื่นเอกสารชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีรายได้ 1.2 ล้านบาท หรือน้อยกว่า 1.2 ล้านบาท แก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อป้องกันสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์และลดภาษีธุรกิจบางประเภท จากร้อยละ 6.3 เหลือร้อยละ 1.1 การใช้ระบบอีคาสตอมมาใช้กับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้มีความรวดเร็วในระบบศุลกากรมากขึ้น
สำหรับการจัดอันดับดังกล่าว จัดขึ้นประจำทุกปี โดยมีดัชนีชี้วัด 10 ด้าน คือ การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจ้างงานและเลิกจ้าง การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการปิดกิจการ
อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับดังกล่าว ไม่ได้รวมผลกระทบจากปัญหาการเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะมีผลต่อการลงทุนอย่างไร
นางสาวกิริฎา เผยด้วยว่า สำหรับประเทศจีนได้ปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐมากมาย โดยเฉพาะการลดขั้นตอนการกู้เงินเพื่อทำธุรกิจ การชำระภาษี ขณะที่ประเทศไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการลดขั้นตอนทางธุรกิจ ทั้งการจดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ตามหลังประเทศจีนมาติด ๆ สำหรับประเทศที่เป็นผู้นำของโลกในเรื่องการลดขั้นตอนทางราชการปีนี้ คือ อาร์เซอร์ไบจัน ปฏิรูปกฎระเบียบถึง 7 หมวด จากทั้งหมด 10 หมวด
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ( International Finance Corp) หรือไอเอฟซี (IFC) ได้แถลงผ่านระบบเทเลคอนเฟอร์เรน จากกรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐฯ มายังประเทศไทย จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ถึงการจัดอันดับความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจ ประจำปี 2552 (Doing Business 2009) โดยระบุว่า จากข้อมูลเดือนกรกฎาคม 2550 – มิถุนายน 2551 ธนาคารโลกและไอเอฟซี จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจอันดับที่ 13 จาก 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นลำดับที่ 4 ในเอเชีย
ทั้งนี้ อันดับดังกล่าว ดีขึ้นจากการสำรวจครั้งที่แล้วที่อยู่อันดับ 19 ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ครองตำแหน่งประเทศที่ง่ายที่สุดต่อการทำธุรกิจ 3 ปีซ้อน อันดับ 2 นิวซีแลนด์ อันดับ 3 สหรัฐฯ อันดับ 4 ฮ่องกง กับจีน และอันดับ 5 เดนมาร์ก
นางสาวกิริฎา เผยว่า เหตุผลที่ประเทศไทยได้เลื่อนอันดับมา 6 ลำดับ เนื่องจากมีการยกระดับการให้บริการ ลดค่าธรรมเนียม และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการยื่นเอกสารชำระภาษีทางอินเทอร์เน็ต ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีรายได้ 1.2 ล้านบาท หรือน้อยกว่า 1.2 ล้านบาท แก้ไข พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อป้องกันสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์และลดภาษีธุรกิจบางประเภท จากร้อยละ 6.3 เหลือร้อยละ 1.1 การใช้ระบบอีคาสตอมมาใช้กับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้มีความรวดเร็วในระบบศุลกากรมากขึ้น
สำหรับการจัดอันดับดังกล่าว จัดขึ้นประจำทุกปี โดยมีดัชนีชี้วัด 10 ด้าน คือ การเริ่มต้นธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การจ้างงานและเลิกจ้าง การจดทะเบียนทรัพย์สิน การได้รับสินเชื่อ การคุ้มครองผู้ลงทุน การชำระภาษี การค้าระหว่างประเทศ การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และการปิดกิจการ
อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับดังกล่าว ไม่ได้รวมผลกระทบจากปัญหาการเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนจะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะมีผลต่อการลงทุนอย่างไร
นางสาวกิริฎา เผยด้วยว่า สำหรับประเทศจีนได้ปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐมากมาย โดยเฉพาะการลดขั้นตอนการกู้เงินเพื่อทำธุรกิจ การชำระภาษี ขณะที่ประเทศไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการลดขั้นตอนทางธุรกิจ ทั้งการจดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ตามหลังประเทศจีนมาติด ๆ สำหรับประเทศที่เป็นผู้นำของโลกในเรื่องการลดขั้นตอนทางราชการปีนี้ คือ อาร์เซอร์ไบจัน ปฏิรูปกฎระเบียบถึง 7 หมวด จากทั้งหมด 10 หมวด