กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ผ่านร้อน ผ่านหนาว มาแล้วกว่า 87 ปี มีการปรับปรุงงานให้บริการเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการปรับรูปแบบการให้บริการงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าครั้งใหญ่ โดยนำแนวคิดบริการสร้างสรรค์ (Creative Services) ภายใต้คำขวัญ “ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ” มาใช้ โดยสามารถติดตามได้ในสัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้
เป้าหมายในการปรับโฉมการทำงานในครั้งนี้คืออะไร
ได้มอบนโยบายในการปรับปรุงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ง่ายต่อการทำธุรกิจ (Easy Doing Business) เป็นอันดับ 9 ของโลก จากเดิมอันดับที่ 12 และเพื่อผลักดันให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็น e-Business Department แบบเต็มตัว
มีแผนการดำเนินการอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ได้ขอให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รับไปดำเนินการ ก็คือ การปรับบริการและภาพลักษณ์ศูนย์บริการธุรกิจ (Business Clinic) ที่จะต้องยึดสโลแกน “ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ” มาใช้ โดยจะดำเนินการปรับศูนย์บริการกลาง ที่สนามบินน้ำ ให้ทันสมัย บริการทันใจ ประทับใจประชาชน โดยได้เปิดดำเนินการไปแล้วเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และจะพัฒนาศูนย์บริการในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ศูนย์ ภายใน 4 เดือน ศูนย์บริการส่วนภูมิภาค 30 จังหวัด ภายใน 10 เดือน
นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์สมานฉันท์ธุรกิจ เพื่อไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้านการจดทะเบียนธุรกิจ ตั้งอยู่ที่ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนม.ค. เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือข้อโต้แย้งระหว่างผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยจะให้บริการสำหรับคู่กรณีที่สมัครใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
“ศูนย์จะเปิดให้บริการกรณีที่มีปัญหาด้านข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างกันได้ นอกจากจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องดำเนินคดีกันแล้ว ยังช่วยลดภาระของศาลอีกทางหนึ่งด้วย โดยในปี 2552 ที่ผ่านมา มีจำนวนคำขอจดทะเบียนที่มีข้อโต้แย้งรวม 183 ราย”
อะไรคือบริการส่งด่วนรูปแบบใหม่
เป็นการขยายหน่วยบริการสู่ธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการส่งหนังสือรับรองในรูปแบบ DBD Express Service ภายใต้สโลแกน “รวดเร็ว ทันใจ ไปได้ทุกที่” จากเดิมพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี เพิ่มพื้นที่บริการที่ปทุมธานี และสมุทรปราการ เปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนม.ค. และจะเพิ่มช่องทางให้บริการหนังสือรับรองไปยังอำเภอและเทศบาลภายใน 6 เดือน
“ได้เพิ่มบริการสำหรับผู้ที่ต้องการขอหนังสือรับรอง หรือเอกสารทางทะเบียน โดยจะมีบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน ซึ่งสามารถเลือกรับได้ 2 ทาง คือ การส่งทาง EMS จะได้รับในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้าเลือกใช้วิธีเดลิเวอรี่ที่เปิดบริการในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จะส่งถึงมือได้ภายใน 3 ชั่วโมง”
บริการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจะปรับปรุงยังไง
ได้เปิดให้มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทข้ามเขตจังหวัด โดยมีเป้าหมาย 10 จังหวัดสำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก เชียงราย อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และระยอง โดยในปี 2552 มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัททั่วประเทศรวม 194,655 ราย รวมทั้งจะมีการถ่ายโอนอำนาจด้านทะเบียนพาณิชย์ให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล โดยมีเป้าหมายสร้างความพร้อมโดยฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้อบต. และเทศบาล สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้
การประสานงานจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นมีเป้าหมายและแผนการดำเนินการอย่างไร
เป็นการมุ่งสู่ e-Department โดยนำเทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ตมาให้บริการ ซึ่งได้ตั้งเป้าที่จะเปิดให้บริการใหม่ๆ อีกหลายรูปแบบในปีนี้ เช่น การขอหนังสือรับรองผ่านทางธนาคาร การรับจดทะเบียนข้ามเขตจังหวัดได้ การสร้างพันธมิตรให้บริการระหว่างกรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยห้างหุ้นส่วนบริษัทจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในทันทีที่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมความพร้อมทั้งในด้านเทคนิคและข้อกฎหมาย โดยมีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้
จากนั้น จะสร้างระบบ One Start One Stop Service (OSOS) โดยใช้หมายเลขทะเบียนเดียวใน 3 หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ เลขทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (กรมสรรพากร) เลขทะเบียนนายจ้าง (สำนักงานประกันสังคม) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและออกเลขทะเบียนธุรกิจเดียวกันทั้งระบบ
นอกจากนี้ จะเพิ่มช่องทางให้บริการหนังสือรับรองผ่านธนาคารพาณิชย์ (e-Certificate) พื้นที่กรุงเทพฯ โดยปัจจุบันมีสาขาของธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ ไทยพาณิชย์ 1,013 สาขา กสิกรไทย 845 สาขา กรุงไทย 890 สาขา กรุงเทพ 934 สาขา ทหารไทย 511 สาขา ออมสิน 366 สาขา รวมเป็น 4,559 สาขา และในปี 2552 มีการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสาร รวม 1,791,341 ราย แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 1,215,098 ราย และภูมิภาค 576,243 ราย
รวมทั้งจะสร้างระบบบริการรับรองงบการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) โดยปัจจุบันมีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศ รวม 531,440 ราย ในปี 2551 มีจำนวนนิติบุคคลส่งงบการเงิน รวม 348,411 ราย
เป้าหมายในการปรับโฉมการทำงานในครั้งนี้คืออะไร
ได้มอบนโยบายในการปรับปรุงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ง่ายต่อการทำธุรกิจ (Easy Doing Business) เป็นอันดับ 9 ของโลก จากเดิมอันดับที่ 12 และเพื่อผลักดันให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็น e-Business Department แบบเต็มตัว
มีแผนการดำเนินการอะไรบ้าง
สิ่งแรกที่ได้ขอให้นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า รับไปดำเนินการ ก็คือ การปรับบริการและภาพลักษณ์ศูนย์บริการธุรกิจ (Business Clinic) ที่จะต้องยึดสโลแกน “ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ” มาใช้ โดยจะดำเนินการปรับศูนย์บริการกลาง ที่สนามบินน้ำ ให้ทันสมัย บริการทันใจ ประทับใจประชาชน โดยได้เปิดดำเนินการไปแล้วเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา และจะพัฒนาศูนย์บริการในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ศูนย์ ภายใน 4 เดือน ศูนย์บริการส่วนภูมิภาค 30 จังหวัด ภายใน 10 เดือน
นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์สมานฉันท์ธุรกิจ เพื่อไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้านการจดทะเบียนธุรกิจ ตั้งอยู่ที่ชั้น 10 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนม.ค. เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือข้อโต้แย้งระหว่างผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยจะให้บริการสำหรับคู่กรณีที่สมัครใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
“ศูนย์จะเปิดให้บริการกรณีที่มีปัญหาด้านข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งจะช่วยคลี่คลายปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างกันได้ นอกจากจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องดำเนินคดีกันแล้ว ยังช่วยลดภาระของศาลอีกทางหนึ่งด้วย โดยในปี 2552 ที่ผ่านมา มีจำนวนคำขอจดทะเบียนที่มีข้อโต้แย้งรวม 183 ราย”
อะไรคือบริการส่งด่วนรูปแบบใหม่
เป็นการขยายหน่วยบริการสู่ธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะขยายพื้นที่ให้บริการส่งหนังสือรับรองในรูปแบบ DBD Express Service ภายใต้สโลแกน “รวดเร็ว ทันใจ ไปได้ทุกที่” จากเดิมพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี เพิ่มพื้นที่บริการที่ปทุมธานี และสมุทรปราการ เปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนม.ค. และจะเพิ่มช่องทางให้บริการหนังสือรับรองไปยังอำเภอและเทศบาลภายใน 6 เดือน
“ได้เพิ่มบริการสำหรับผู้ที่ต้องการขอหนังสือรับรอง หรือเอกสารทางทะเบียน โดยจะมีบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน ซึ่งสามารถเลือกรับได้ 2 ทาง คือ การส่งทาง EMS จะได้รับในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้าเลือกใช้วิธีเดลิเวอรี่ที่เปิดบริการในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จะส่งถึงมือได้ภายใน 3 ชั่วโมง”
บริการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจะปรับปรุงยังไง
ได้เปิดให้มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทข้ามเขตจังหวัด โดยมีเป้าหมาย 10 จังหวัดสำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก เชียงราย อุบลราชธานี อุดรธานี นครราชสีมา สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และระยอง โดยในปี 2552 มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัททั่วประเทศรวม 194,655 ราย รวมทั้งจะมีการถ่ายโอนอำนาจด้านทะเบียนพาณิชย์ให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล โดยมีเป้าหมายสร้างความพร้อมโดยฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้อบต. และเทศบาล สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้
การประสานงานจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นมีเป้าหมายและแผนการดำเนินการอย่างไร
เป็นการมุ่งสู่ e-Department โดยนำเทคโนโลยีและระบบอินเทอร์เน็ตมาให้บริการ ซึ่งได้ตั้งเป้าที่จะเปิดให้บริการใหม่ๆ อีกหลายรูปแบบในปีนี้ เช่น การขอหนังสือรับรองผ่านทางธนาคาร การรับจดทะเบียนข้ามเขตจังหวัดได้ การสร้างพันธมิตรให้บริการระหว่างกรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยห้างหุ้นส่วนบริษัทจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีในทันทีที่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมความพร้อมทั้งในด้านเทคนิคและข้อกฎหมาย โดยมีความคืบหน้าไปมาก คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปีนี้
จากนั้น จะสร้างระบบ One Start One Stop Service (OSOS) โดยใช้หมายเลขทะเบียนเดียวใน 3 หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ เลขทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (กรมสรรพากร) เลขทะเบียนนายจ้าง (สำนักงานประกันสังคม) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและออกเลขทะเบียนธุรกิจเดียวกันทั้งระบบ
นอกจากนี้ จะเพิ่มช่องทางให้บริการหนังสือรับรองผ่านธนาคารพาณิชย์ (e-Certificate) พื้นที่กรุงเทพฯ โดยปัจจุบันมีสาขาของธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ ไทยพาณิชย์ 1,013 สาขา กสิกรไทย 845 สาขา กรุงไทย 890 สาขา กรุงเทพ 934 สาขา ทหารไทย 511 สาขา ออมสิน 366 สาขา รวมเป็น 4,559 สาขา และในปี 2552 มีการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสาร รวม 1,791,341 ราย แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 1,215,098 ราย และภูมิภาค 576,243 ราย
รวมทั้งจะสร้างระบบบริการรับรองงบการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) โดยปัจจุบันมีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ทั่วประเทศ รวม 531,440 ราย ในปี 2551 มีจำนวนนิติบุคคลส่งงบการเงิน รวม 348,411 ราย