สสว.เดินหน้าสานต่อแผนส่งเสริมเศรษฐกิจ 6 จังหวัดภาคใต้ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล และกระบี่ วาดฝันแผนปี 2551 เตรียม 10 โครงการ กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย พร้อมผลักดันผู้ประกอบการเดิมออกสู่ต่างประเทศ
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยหลังพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเพื่อการพัฒนาพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล และกระบี่ โดยมุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ การพัฒนาผู้ประกอบการเดิม และการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ตลาดต่างประเทศ
โดยจะดำเนินการทั้งสิ้น 10 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการปฏิบัติการส่งเสริม 2.โครงการขยายต้นแบบพัฒนาระบบ Logistic กลุ่มผู้ประกอบการเลี้ยงแพะทั้งวงจร 3.โครงการพัฒนาทักษะและเชื่อมโยงการตลาดของเครือข่ายผู้ประกอบการ 4.โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจแพะครบวงจร 5.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหอยเป๋าฮื้อ 6.โครงการมหกรรมสร้างผู้ประกอบการเศรษฐกิจพอเพียง 7.โครงการสร้างผู้ประกอบการเยาวชน
และ 8.โครงการจัดตั้งเครือข่ายการผลิตหัตถอุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอ 9.โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดกระบี่ และ 10.โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดสงขลาและสตูล คาดว่าจะมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นอีกกว่า 3,000 ราย และสามารถสร้างงานเพิ่มกว่า 12,000 คน คิดเป็นรายได้จากแรงงานกว่า 60 ล้านบาท และสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและให้บริการ ไม่น้อยกว่า 75 ล้านบาท
ที่ผ่านมา สสว.ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคได้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อให้ความช่วยเหลือ ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติงานตามภารกิจของ สสว. ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
โดยได้ดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. การสร้างต้นแบบเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกแปลี่ยนประสบการณ์ในการประกอบการ โดยพัฒนาทักษะการจัดการจากต้นแบบธุรกิจจริง 2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างองค์กรเครือข่ายผู้ประกอบการ เชื่อมโยงการพัฒนาการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาทักษะการจัดการธุรกิจร่วมกัน และ 3. การส่งเสริมด้านตลาดเพื่อสร้างทักษะการจำหน่าย การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกัน
สำหรับการสร้างต้นแบบเชิงพาณิชย์ฯ ได้แก่ ฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์ จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส และฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทย จังหวัดปัตตานี ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแพะครบวงจร จังหวัดยะลา โดยความร่วมมือของ สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี สหกรณ์ผู้เลี้ยงแพะนราธิวาส และมูลนิธิสุขแก้ว แก้วแดง
การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการฯ ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการเลี้ยงแพะ จำนวน 33 อำเภอ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ประกอบการตัดเย็บเครื่องแต่งกายมุสลิม ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมถึง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคใต้ OTOP ซึ่งปัจจุบันได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคใต้ มีสมาชิกประมาณ 2,000 ราย ครอบคลุม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา พัทลุง ตรัง และสตูล
การส่งเสริมด้านตลาดฯ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยการเชื่อมโยงตลาดระหว่างภูมิภาค การจับคู่ทางธุรกิจ แลกเปลี่ยนสินค้า โดยปี 2550 ที่ผ่านมา สามารถจับคู่ธุรกิจได้ 36 คู่ค้า มียอดบันทึกข้อตกลงซื้อขายกว่า 65 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจัดให้มีการแสดงและจำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า และงานเทศกาลต่าง ๆ อีก 4 ครั้ง รวมยอดขายกว่า 10 ล้านบาท
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยหลังพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเพื่อการพัฒนาพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล และกระบี่ โดยมุ่งเน้นการสร้างผู้ประกอบการใหม่ การพัฒนาผู้ประกอบการเดิม และการขยายช่องทางการตลาดไปสู่ตลาดต่างประเทศ
โดยจะดำเนินการทั้งสิ้น 10 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการปฏิบัติการส่งเสริม 2.โครงการขยายต้นแบบพัฒนาระบบ Logistic กลุ่มผู้ประกอบการเลี้ยงแพะทั้งวงจร 3.โครงการพัฒนาทักษะและเชื่อมโยงการตลาดของเครือข่ายผู้ประกอบการ 4.โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจแพะครบวงจร 5.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหอยเป๋าฮื้อ 6.โครงการมหกรรมสร้างผู้ประกอบการเศรษฐกิจพอเพียง 7.โครงการสร้างผู้ประกอบการเยาวชน
และ 8.โครงการจัดตั้งเครือข่ายการผลิตหัตถอุตสาหกรรมผ้าและสิ่งทอ 9.โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดกระบี่ และ 10.โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดสงขลาและสตูล คาดว่าจะมีผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นอีกกว่า 3,000 ราย และสามารถสร้างงานเพิ่มกว่า 12,000 คน คิดเป็นรายได้จากแรงงานกว่า 60 ล้านบาท และสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและให้บริการ ไม่น้อยกว่า 75 ล้านบาท
ที่ผ่านมา สสว.ได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคได้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อให้ความช่วยเหลือ ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติงานตามภารกิจของ สสว. ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
โดยได้ดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. การสร้างต้นแบบเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และแลกแปลี่ยนประสบการณ์ในการประกอบการ โดยพัฒนาทักษะการจัดการจากต้นแบบธุรกิจจริง 2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างองค์กรเครือข่ายผู้ประกอบการ เชื่อมโยงการพัฒนาการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาทักษะการจัดการธุรกิจร่วมกัน และ 3. การส่งเสริมด้านตลาดเพื่อสร้างทักษะการจำหน่าย การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกัน
สำหรับการสร้างต้นแบบเชิงพาณิชย์ฯ ได้แก่ ฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์ จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส และฟาร์มต้นแบบการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อพันธุ์ไทย จังหวัดปัตตานี ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงแพะครบวงจร จังหวัดยะลา โดยความร่วมมือของ สหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี สหกรณ์ผู้เลี้ยงแพะนราธิวาส และมูลนิธิสุขแก้ว แก้วแดง
การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการฯ ได้แก่ การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการเลี้ยงแพะ จำนวน 33 อำเภอ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ประกอบการตัดเย็บเครื่องแต่งกายมุสลิม ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมถึง 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคใต้ OTOP ซึ่งปัจจุบันได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นสมาคมผลิตภัณฑ์ชุมชนภาคใต้ มีสมาชิกประมาณ 2,000 ราย ครอบคลุม 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา พัทลุง ตรัง และสตูล
การส่งเสริมด้านตลาดฯ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยการเชื่อมโยงตลาดระหว่างภูมิภาค การจับคู่ทางธุรกิจ แลกเปลี่ยนสินค้า โดยปี 2550 ที่ผ่านมา สามารถจับคู่ธุรกิจได้ 36 คู่ค้า มียอดบันทึกข้อตกลงซื้อขายกว่า 65 ล้านบาท นอกจากนี้ยังจัดให้มีการแสดงและจำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า และงานเทศกาลต่าง ๆ อีก 4 ครั้ง รวมยอดขายกว่า 10 ล้านบาท