สสว.เล็งขยายขอบเขตการอุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้เอสเอ็มอี 2-3% ด้านทีดีอาร์ไอ ชี้ เอสเอ็มอีไทยมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน เหตุมีความเสี่ยงสูง ขาดความเชี่ยวชาญใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตสินค้า แนะรัฐฯ หาแหล่งเงินทุนที่ไม่ใช่ธนาคาร หวังสร้างโอกาสการส่งเสริมการลงทุนเพิ่ม
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำหนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า เตรียมเสนอคณะกรรมการ สสว. และเสนอต่อนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้พิจารณาขยายขอบเขตการอุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้เอสเอ็มอีเป็นกรณีพิเศษ เพราะเห็นว่าเอสเอ็มอีมีปัญหาการขอสินเชื่อ ซึ่งการอุดหนุนดอกเบี้ยจะครอบคลุมสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ในสัดส่วน 2-3% ของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย โดยใช้หลักการเดียวกับโครงการกองทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนาผลการศึกษาโครงการศึกษาวิจัยกฎหมายและแนวนโยบายภาครัฐฯ ทางกฎหมายที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอี ว่า จากการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีผลกระทบของกฎหมายและระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถเอสเอ็มอี พบว่า การเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นั้น ธพว.มีต้นทุนการเงินสูงกว่าธนาคารทั่วไป เพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูง สำหรับ บสย.มีปัญหาลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ ทำให้โครงการค้ำประกันมีไม่มาก
“รัฐฯ ควรส่งเสริมแหล่งทุนอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัทแฟคเตอริ่ง และอาจพิจารณแนวทางส่งเสริมแหล่งทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ เพราะเป็นมืออาชีพ มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก รวมถึงใกล้ชิดกับผู้ประกอบการมากกว่า โดยรัฐฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้” ดร.เดือนเด่นกล่าว
ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีพบว่าปี 2549 มีเอสเอ็มอี 1,129 ราย คิดเป็น 0.32% ของเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอาจเกิดจากเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจ 7 หมวด ที่บีโอไอกำหนด ยกเว้นธุรกิจเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตร ที่เอสเอ็มอีสามารถทำได้ นอกจากนี้เอสเอ็มอีส่วนมากยังขาดแหล่งทุนและความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตสินค้าและสร้างนวัตกรรม ทำให้ไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่จะได้รับการส่งเสริม แต่ถ้าพิจารณาการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน พบว่าไม่มีปัญหาอุปสรรคและได้รับอนุมัติถึง 90% ของเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริม
“มาตรการส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีถือว่าไม่มีประสิทธิผล เมื่อพิจารณาจากเอสเอ็มอีที่ขอส่งเสริม โดยเห็นว่าบีโอไอควรขยายประเภทกิจการที่ใช้เงินลงทุนน้อย เช่น เซรามิค เครื่องปั้นดินเผา เบญจรงค์ ดอกไม้ประดิษฐ์ แชมพู เครื่องสำอาง น้ำหอม กระดาษ เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิส่งเสริมได้มากขึ้น” ผอ.ทีดีอาร์ไอ กล่าว
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำหนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า เตรียมเสนอคณะกรรมการ สสว. และเสนอต่อนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้พิจารณาขยายขอบเขตการอุดหนุนดอกเบี้ยเงินกู้เอสเอ็มอีเป็นกรณีพิเศษ เพราะเห็นว่าเอสเอ็มอีมีปัญหาการขอสินเชื่อ ซึ่งการอุดหนุนดอกเบี้ยจะครอบคลุมสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) ในสัดส่วน 2-3% ของดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย โดยใช้หลักการเดียวกับโครงการกองทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร
ด้าน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนาผลการศึกษาโครงการศึกษาวิจัยกฎหมายและแนวนโยบายภาครัฐฯ ทางกฎหมายที่มีผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอี ว่า จากการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีผลกระทบของกฎหมายและระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถเอสเอ็มอี พบว่า การเข้าถึงแหล่งทุนจากสถาบันการเงินรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นั้น ธพว.มีต้นทุนการเงินสูงกว่าธนาคารทั่วไป เพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูง สำหรับ บสย.มีปัญหาลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ ทำให้โครงการค้ำประกันมีไม่มาก
“รัฐฯ ควรส่งเสริมแหล่งทุนอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัทแฟคเตอริ่ง และอาจพิจารณแนวทางส่งเสริมแหล่งทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ เพราะเป็นมืออาชีพ มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก รวมถึงใกล้ชิดกับผู้ประกอบการมากกว่า โดยรัฐฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนให้” ดร.เดือนเด่นกล่าว
ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีพบว่าปี 2549 มีเอสเอ็มอี 1,129 ราย คิดเป็น 0.32% ของเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอาจเกิดจากเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจ 7 หมวด ที่บีโอไอกำหนด ยกเว้นธุรกิจเกษตรกรรมและผลผลิตทางการเกษตร ที่เอสเอ็มอีสามารถทำได้ นอกจากนี้เอสเอ็มอีส่วนมากยังขาดแหล่งทุนและความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตสินค้าและสร้างนวัตกรรม ทำให้ไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่จะได้รับการส่งเสริม แต่ถ้าพิจารณาการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน พบว่าไม่มีปัญหาอุปสรรคและได้รับอนุมัติถึง 90% ของเอสเอ็มอีที่ได้รับการส่งเสริม
“มาตรการส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีถือว่าไม่มีประสิทธิผล เมื่อพิจารณาจากเอสเอ็มอีที่ขอส่งเสริม โดยเห็นว่าบีโอไอควรขยายประเภทกิจการที่ใช้เงินลงทุนน้อย เช่น เซรามิค เครื่องปั้นดินเผา เบญจรงค์ ดอกไม้ประดิษฐ์ แชมพู เครื่องสำอาง น้ำหอม กระดาษ เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิส่งเสริมได้มากขึ้น” ผอ.ทีดีอาร์ไอ กล่าว