กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือเอกชน ดันร่างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติ หวังดันแฟรนไชส์ไทยโกอินเตอร์ คาดตัวร่างจะแล้วเสร็จภายปลายเดือนเมษายน นำร่อง 50 กิจการ ก่อนปรับแก้ ประกาศใช้จริงภายในเดือนกรกฎาคมนี้
นายสมชาติ สร้อยทอง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสร้างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากลว่า” ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยมีทางสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย และบริษัทอินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบการร่างกฎเกณฑ์แฟรนไชส์ โดยเชื่อว่าหากการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสำเร็จ ก็จะทำให้ทางภาครัฐฯ ทราบถึงจุดบกพร่อง และคุณภาพการบริหารจัดการที่ยังขาดอยู่ ซึ่งทางกรมฯ จะสามารถเสริมความรู้ได้ตรงจุด
“เป็นที่ทราบกันว่า ถ้าในประเทศไทยยังๆ ไม่มีมาตรฐานแฟรนไชส์ที่ชัดเจน ก็จะเติบโตในตลาดต่างประเทศได้ยาก ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นครั้งแรกของไทย ที่ผลักดันให้แฟรนไชส์ไทยมีมาตรฐานที่ชัดเจน ซึ่งหน้าที่ของกรมฯ หลังจากได้รับร่างเกณฑ์มาตรฐานมาแล้ว จะต้องนำมาตรวจสอบ โดยเบื้องต้นทางภาครัฐฯ จะดูแลผู้ประกอบการก่อน และเมื่อทุกอย่างลงตัวก็จะส่งต่อให้เป็นหน้าที่ของภาคเอกชนดูแลต่อไป” ผอ.สมชาติ กล่าว
ด้านนายณรัตน์ไชย หลีระพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์นับเป็นหมวดธุรกิจการค้าที่เริ่มมีบทบาทโดดเด่นในแวดวงเศรษฐกิจซึ่งได้รับความสนใจและการยอมรับจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการที่เติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ยังขาดกฏเกณฑ์และกฏหมายเข้ามาจัดระเบียบสังคม ดังนั้นการเร่งพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดให้อุตสาหกรรมการค้าต่างๆของประเทศไทย ให้มีความพร้อมในการแข่งขันในระบบการค้าเสรีตลอดจนการสร้างมาตรฐานการจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ให้เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานระดับสากลจึงเป็นภาระกิจที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นายพิทักษ์ สุภนันทการ กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาโครงการ “จัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากลโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากล อยู่ในกระบวนการดำเนินงานที่มีความคืบหน้าไปมาก โดยเริ่มจากขั้นตอนสำคัญ คือ 1. ระดมความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อสรุปข้อดีและข้อเสียของ มาตรฐานแฟรนไชส์ในต่างประเทศ 2.สำรวจผู้ประกอบการโดยทำแบบสอบถามเพื่อประเมินตนเองของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ทั้งอุปสรรคและสิ่งที่ต้องการ อาทิ การฝึกอบรม ด้านการจัดการ กระบวนการผลิต เพื่อหามาตรฐานของแฟรนไชส์ว่าอยู่ในสถานะใด 3.ระดมความคิดเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอีกครั้งเพื่อให้เกิดการยอมรับ 4.ทดลองนำร่างดังกล่าวไปตรวจประเมินจริงก่อนที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานที่ใช้ตรวจสอบจริงได้ต่อไป โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่ผ่านการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานในเฟสแรกนี้ประมาณ 50 ราย หลังจากร่างเกณฑ์แฟรนไชส์เสร็จประมาณปลายเดือนเมษายน ก่อนประกาศใช้จริงภายในเดือนกรกฎาคมนี้
อย่างไรก็ตามเกณฑ์แฟรนไชส์ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะรับพิจารณา คือ 1.โครงสร้างองค์กร 2.การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการบริการลูกค้า 3.มีองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ 5.การพัฒนาบุคลลากร 6.หลักธรรมาภิบาล และ 7.จริยธรรมการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง เป็นต้น
นายสมชาติ สร้อยทอง ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสร้างเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากลว่า” ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว โดยมีทางสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย และบริษัทอินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบการร่างกฎเกณฑ์แฟรนไชส์ โดยเชื่อว่าหากการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสำเร็จ ก็จะทำให้ทางภาครัฐฯ ทราบถึงจุดบกพร่อง และคุณภาพการบริหารจัดการที่ยังขาดอยู่ ซึ่งทางกรมฯ จะสามารถเสริมความรู้ได้ตรงจุด
“เป็นที่ทราบกันว่า ถ้าในประเทศไทยยังๆ ไม่มีมาตรฐานแฟรนไชส์ที่ชัดเจน ก็จะเติบโตในตลาดต่างประเทศได้ยาก ดังนั้นโครงการนี้จึงเป็นครั้งแรกของไทย ที่ผลักดันให้แฟรนไชส์ไทยมีมาตรฐานที่ชัดเจน ซึ่งหน้าที่ของกรมฯ หลังจากได้รับร่างเกณฑ์มาตรฐานมาแล้ว จะต้องนำมาตรวจสอบ โดยเบื้องต้นทางภาครัฐฯ จะดูแลผู้ประกอบการก่อน และเมื่อทุกอย่างลงตัวก็จะส่งต่อให้เป็นหน้าที่ของภาคเอกชนดูแลต่อไป” ผอ.สมชาติ กล่าว
ด้านนายณรัตน์ไชย หลีระพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์นับเป็นหมวดธุรกิจการค้าที่เริ่มมีบทบาทโดดเด่นในแวดวงเศรษฐกิจซึ่งได้รับความสนใจและการยอมรับจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีวิวัฒนาการที่เติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ยังขาดกฏเกณฑ์และกฏหมายเข้ามาจัดระเบียบสังคม ดังนั้นการเร่งพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดให้อุตสาหกรรมการค้าต่างๆของประเทศไทย ให้มีความพร้อมในการแข่งขันในระบบการค้าเสรีตลอดจนการสร้างมาตรฐานการจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ให้เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐานระดับสากลจึงเป็นภาระกิจที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นายพิทักษ์ สุภนันทการ กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาโครงการ “จัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากลโครงการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติระดับสากล อยู่ในกระบวนการดำเนินงานที่มีความคืบหน้าไปมาก โดยเริ่มจากขั้นตอนสำคัญ คือ 1. ระดมความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อสรุปข้อดีและข้อเสียของ มาตรฐานแฟรนไชส์ในต่างประเทศ 2.สำรวจผู้ประกอบการโดยทำแบบสอบถามเพื่อประเมินตนเองของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ทั้งอุปสรรคและสิ่งที่ต้องการ อาทิ การฝึกอบรม ด้านการจัดการ กระบวนการผลิต เพื่อหามาตรฐานของแฟรนไชส์ว่าอยู่ในสถานะใด 3.ระดมความคิดเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอีกครั้งเพื่อให้เกิดการยอมรับ 4.ทดลองนำร่างดังกล่าวไปตรวจประเมินจริงก่อนที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้เป็นมาตรฐานที่ใช้ตรวจสอบจริงได้ต่อไป โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่ผ่านการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานในเฟสแรกนี้ประมาณ 50 ราย หลังจากร่างเกณฑ์แฟรนไชส์เสร็จประมาณปลายเดือนเมษายน ก่อนประกาศใช้จริงภายในเดือนกรกฎาคมนี้
อย่างไรก็ตามเกณฑ์แฟรนไชส์ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะรับพิจารณา คือ 1.โครงสร้างองค์กร 2.การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการบริการลูกค้า 3.มีองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจ 5.การพัฒนาบุคลลากร 6.หลักธรรมาภิบาล และ 7.จริยธรรมการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง เป็นต้น