บอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์เล็งจัดทัพผู้บริหารของธนาคารใหม่หลังพบมีระดับผู้บริหารมากเกินความจำเป็นเล็งทำโครงการเออร์รี่รีไทร์ พร้อม อ้อนคลังขอเพิ่มทุนอีก 3,000 ล้านบาท สนองนโยบายประชานิยมรัฐบาลปัจจุบัน
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.หรือเอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่าขณะนี้บอร์ดอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในส่วนของฝ่ายบริหารเนื่องจากพบว่าฝ่ายบริหารมีเกินความจำเป็น โดยเฉพาะตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ (ผอ.) จนถึงรองกรรมการผู้จัดการ มีมากถึง 50-60 คน แบ่งเป็นระดับผอ.กว่า 30 ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ 9 ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 10 ตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 5 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ผู้บริหารในแต่ละตำแหน่งของเอสเอ็มอีแบงก์มีระดับเงินเดือนที่สูงมาก สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ทำให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวเมื่อเทียบกับการดำเนินงานของบริษัทอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นจึงอาจต้องรีดไขมันที่เกินออกไป โดยอาจจะเพิ่มงานให้ หรือจัดทำโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (เออรี่รีไทร์) สำหรับผู้บริหารสูงของเอสเอ็มอีแบงก์ในเร็วๆ นี้ หลังจากช่วง 1 ปีที่ผ่านมาปรับโครงสร้างระดับพนักงานปฏิบัติการมาแล้ว
“สมัยนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ เป็นกรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งผู้บริหารตั้งแต่ระดับ 10-12 ขึ้นมาจำนวนมาก ส่วนคนเก่าที่เคยอยู่ก่อนนายโชติศักดิ์ก็ยังอยู่ต่อ ไม่มีการปรับโครงสร้างจึงทำให้มีผู้บริการทั้งเก่าและใหม่เยอะมาก จึงต้องปรับโครงสร้างกันใหม่ ” แหล่งข่าวกล่าว
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเข้ามารับหน้าที่ 1 ปีได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรไปแล้วระดับหนึ่งจากที่ผ่านมาปัญหาค่อนข้างมากทั้งหนี้เสีย โครงสร้างองค์ ซึ่งเดิมหนี้เสียที่เคยอยู่สูงถึง 50% เหลือ 40%
สำหรับแผนการดำเนินงานเดือนมี.ค.เตรียมที่จะเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อขอเพิ่มทุนธนาคารอีก 3,000 ล้านบาท เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการตามนโยบายของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมที่จะให้เข้าไปร่วมปล่อยกู้ให้ต่อยอดธุรกิจให้กับโครงการกองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(โอท็อป) ซึ่งคาดว่าการเพิ่มทุนดังกล่าวจะช่วยขยายฐานสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีเป้าหมาปล่อยสินเชื่อกว่า 20,000 ล้านบาท รวมแล้วการปล่อยกู้ธนาคารปีนี้อยู่ระดับ 30,000-40,000 ล้านบาท
สำหรับการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวคณะกรรมการธนาคารมอบหมายให้ผู้บริหารธนาคารไปจัดทำรายละเอียดของสินเชื่อ พร้อมแนวทางการให้ดอกเบี้ยในอัตราพิเศษว่าจะใช้แนวทางใด อาทิ จะขอสนับสนุนจากภาครัฐในลักษณะของเงินให้เปล่า หรือจะเป็นการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระดับ 10,000 ล้านบาท จากเงินกองทุนต่างๆ ของรัฐบาล โดยเรื่องนี้คงต้องขอหารือกันอีกครั้งหลังจากผู้บริการของธนาคารเสนอรายละเอียดของแผนดังกล่าวกลับมายังคณะกรรมการธนาคารในช่วงปลายเดือนก.พ.นี้
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า การปล่อยกู้ให้ต่อยอดธุรกิจให้กับโอท็อป นั้นธนาคารสามารถดำเนินการได้ทันที เพราะขณะนี้ธพว.โครงการปล่อยสินเชื่อในลักษณะนี้อยู่แล้ว เตรียมวงเงินปล่อยกู้ไว้ประมาณ 30,000-40,000 หมื่นล้านบาทในปีนี้ โดยขณะนี้ดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ทั่วไปอยู่ในระดับปีละ 7-8% ซึ่งกำลังจัดทำแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริการ เพื่อเสนอต่อไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ลดดอกเบี้ยลงอีก 2-3% เพื่อให้ดอกเบี้ยเหลือเพียง 4-5% เพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการโอท็อป ซึ่งรัฐสามารถที่จะจัดสรรงบประมาณมาช่วยลดดอกเบี้ยใช้เงินประมาณ 900-1,000 ล้านบาท/ปี
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.หรือเอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่าขณะนี้บอร์ดอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในส่วนของฝ่ายบริหารเนื่องจากพบว่าฝ่ายบริหารมีเกินความจำเป็น โดยเฉพาะตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการ (ผอ.) จนถึงรองกรรมการผู้จัดการ มีมากถึง 50-60 คน แบ่งเป็นระดับผอ.กว่า 30 ตำแหน่ง ผู้ชำนาญการ 9 ตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ 10 ตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 5 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ผู้บริหารในแต่ละตำแหน่งของเอสเอ็มอีแบงก์มีระดับเงินเดือนที่สูงมาก สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ทำให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวเมื่อเทียบกับการดำเนินงานของบริษัทอยู่ในระดับที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นจึงอาจต้องรีดไขมันที่เกินออกไป โดยอาจจะเพิ่มงานให้ หรือจัดทำโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (เออรี่รีไทร์) สำหรับผู้บริหารสูงของเอสเอ็มอีแบงก์ในเร็วๆ นี้ หลังจากช่วง 1 ปีที่ผ่านมาปรับโครงสร้างระดับพนักงานปฏิบัติการมาแล้ว
“สมัยนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ เป็นกรรมการผู้จัดการ ได้แต่งตั้งผู้บริหารตั้งแต่ระดับ 10-12 ขึ้นมาจำนวนมาก ส่วนคนเก่าที่เคยอยู่ก่อนนายโชติศักดิ์ก็ยังอยู่ต่อ ไม่มีการปรับโครงสร้างจึงทำให้มีผู้บริการทั้งเก่าและใหม่เยอะมาก จึงต้องปรับโครงสร้างกันใหม่ ” แหล่งข่าวกล่าว
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเข้ามารับหน้าที่ 1 ปีได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรไปแล้วระดับหนึ่งจากที่ผ่านมาปัญหาค่อนข้างมากทั้งหนี้เสีย โครงสร้างองค์ ซึ่งเดิมหนี้เสียที่เคยอยู่สูงถึง 50% เหลือ 40%
สำหรับแผนการดำเนินงานเดือนมี.ค.เตรียมที่จะเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อขอเพิ่มทุนธนาคารอีก 3,000 ล้านบาท เพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินการตามนโยบายของนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรมที่จะให้เข้าไปร่วมปล่อยกู้ให้ต่อยอดธุรกิจให้กับโครงการกองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(โอท็อป) ซึ่งคาดว่าการเพิ่มทุนดังกล่าวจะช่วยขยายฐานสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีเป้าหมาปล่อยสินเชื่อกว่า 20,000 ล้านบาท รวมแล้วการปล่อยกู้ธนาคารปีนี้อยู่ระดับ 30,000-40,000 ล้านบาท
สำหรับการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวคณะกรรมการธนาคารมอบหมายให้ผู้บริหารธนาคารไปจัดทำรายละเอียดของสินเชื่อ พร้อมแนวทางการให้ดอกเบี้ยในอัตราพิเศษว่าจะใช้แนวทางใด อาทิ จะขอสนับสนุนจากภาครัฐในลักษณะของเงินให้เปล่า หรือจะเป็นการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระดับ 10,000 ล้านบาท จากเงินกองทุนต่างๆ ของรัฐบาล โดยเรื่องนี้คงต้องขอหารือกันอีกครั้งหลังจากผู้บริการของธนาคารเสนอรายละเอียดของแผนดังกล่าวกลับมายังคณะกรรมการธนาคารในช่วงปลายเดือนก.พ.นี้
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการเอสเอ็มอีแบงก์ กล่าวว่า การปล่อยกู้ให้ต่อยอดธุรกิจให้กับโอท็อป นั้นธนาคารสามารถดำเนินการได้ทันที เพราะขณะนี้ธพว.โครงการปล่อยสินเชื่อในลักษณะนี้อยู่แล้ว เตรียมวงเงินปล่อยกู้ไว้ประมาณ 30,000-40,000 หมื่นล้านบาทในปีนี้ โดยขณะนี้ดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ทั่วไปอยู่ในระดับปีละ 7-8% ซึ่งกำลังจัดทำแผนเสนอต่อคณะกรรมการบริการ เพื่อเสนอต่อไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อขอให้ลดดอกเบี้ยลงอีก 2-3% เพื่อให้ดอกเบี้ยเหลือเพียง 4-5% เพื่อช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการโอท็อป ซึ่งรัฐสามารถที่จะจัดสรรงบประมาณมาช่วยลดดอกเบี้ยใช้เงินประมาณ 900-1,000 ล้านบาท/ปี