จากการเก็บข้อมูลโดยโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา (SAW) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยธุรกิจ SMEs สาขาที่มีแนวโน้มขยายตัว กับสาขาที่ต้องพึงระวังเป็นพิเศษประจำปี 2551
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/550000016686501.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/550000016686502.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/550000016686503.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/550000016686504.JPEG)
![ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ SAW](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/550000016686505.JPEG)
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ SAW อธิบายเสริมว่า ข้อสังเกตปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของภาคธุรกิจ SMEs ในปีหน้า (2551) กลุ่มที่มีการส่งออกโดดเด่น และมีผลตอบแทนจากการทำงานสูง จะเป็นสาขาที่มีเทคโนโลยี มีนวัตกรรม หรือภูมิปัญญาช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือเฉพาะด้าน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยาสมุนไพรไทย ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดจนมีกระบวนบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ตัวอย่างเช่น กลุ่มสิ่งพิมพ์ที่คาดว่าส่งออกจะโตถึง 40% เพราะผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ มีการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ที่ชัดเจน สามารถลดต้นทุนการผลิต และเสริมความเข้มแข็งในหมู่สมาชิกได้ดีอย่างยิ่ง อีกทั้ง เครื่องจักรและระบบการพิมพ์ของผู้ประกอบการไทยได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ ทำให้มีศักยภาพแข่งขันในตลาดสากลได้
ขณะที่จากข้อมูลข้างต้นทั้งด้านอัตราขยายตัวการส่งออก และผลตอบแทนจากการดำเนินงาน พบว่า SMEs สาขาที่ควรระวังเป็นพิเศษในปี 2551 เช่น เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม หนังและผลิตภัณฑ์หนัง แก้ว และเซรามิก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ล้วนเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากราคาค่าน้ำมันแพง ทำให้แม้ยอดขาย หรือยอดสั่งผลิตจะโตขึ้นก็ตาม แต่กำไรที่ได้กลับลดลง อีกทั้ง ยังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง และมีคู่แข่งขันอย่างจีน และเวียดนามเข้ามาแย่งตลาดอีกด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการปรับตัว ต้องพยายามรวมกลุ่มคลัสเตอร์ให้ชัดเจน เพื่อลดค่าใช้จ่ายการผลิต และพยายามลดความสูญเสียจากขั้นตอนการผลิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งยอมรับว่าทางปฏิบัติจริงทำได้ค่อนข้างยาก แต่ก็จำเป็นต้องพยายามกันต่อไป ส่วนการพัฒนาดีไซน์ หรือใส่นวัตกรรมเพิ่มค่าให้ผลิตภัณฑ์นั้น จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป ซึ่งปัจจุบันด้านนี้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวได้ดีขึ้นมากแล้ว
ในส่วนภาคบริการที่มีผลตอบแทนจากการทำงานโดดเด่นนั้น ดร.ณัฐพล ระบุว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับบริการ หรือที่ปรึกษาด้านลดต้นทุนพลังงาน หรือเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจหรือองค์กร ส่วนกลุ่มควรระวังนั้น มาจากปัจจัยขาดความสามารถในการแข่งขันกับรายใหญ่ เช่น บริการร้านสปาเล็กๆ เปิดตามห้องแถวต่างๆ ซึ่งระยะ 2-3 ปีหลังที่ผ่านมา เกิดขึ้นจำนวนมาก จนปัจจุบันเกินความต้องการของตลาด และเมื่อผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการจริงๆ จะตัดสินใจใช้บริการของรายใหญ่ เพราะมั่นใจในคุณภาพมากกว่า เช่นเดียวกับสาขาโรงแรม ภัตตาคาร หรือบริการท่องเที่ยว ผู้บริโภคมักจะเลือกใช้บริการของรายใหญ่ ส่วนธุรกิจจากผู้ประกอบการรายเล็กๆ อย่าง SMEs จะมีรายได้เข้ามาก็เฉพาะช่วงหน้าท่องเที่ยวเท่านั้น
ขณะที่บริการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ประสบปัญหาอำนาจในการต่อรองต่ำ จนไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ ส่วนภาคบริการรับเหมาก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ งานจะน้อยลง เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมเก็บออมมากขึ้น การจะก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์จะทำเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ส่วนการก่อสร้างเพื่อหวังขายเก็งกำไรจะลดลง
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ SAW อธิบายเสริมว่า ข้อสังเกตปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของภาคธุรกิจ SMEs ในปีหน้า (2551) กลุ่มที่มีการส่งออกโดดเด่น และมีผลตอบแทนจากการทำงานสูง จะเป็นสาขาที่มีเทคโนโลยี มีนวัตกรรม หรือภูมิปัญญาช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือเฉพาะด้าน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยาสมุนไพรไทย ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ เป็นต้น ตลอดจนมีกระบวนบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ตัวอย่างเช่น กลุ่มสิ่งพิมพ์ที่คาดว่าส่งออกจะโตถึง 40% เพราะผู้ประกอบการในธุรกิจนี้ มีการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ที่ชัดเจน สามารถลดต้นทุนการผลิต และเสริมความเข้มแข็งในหมู่สมาชิกได้ดีอย่างยิ่ง อีกทั้ง เครื่องจักรและระบบการพิมพ์ของผู้ประกอบการไทยได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ ทำให้มีศักยภาพแข่งขันในตลาดสากลได้
ขณะที่จากข้อมูลข้างต้นทั้งด้านอัตราขยายตัวการส่งออก และผลตอบแทนจากการดำเนินงาน พบว่า SMEs สาขาที่ควรระวังเป็นพิเศษในปี 2551 เช่น เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม หนังและผลิตภัณฑ์หนัง แก้ว และเซรามิก และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า ล้วนเป็นสาขาที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากราคาค่าน้ำมันแพง ทำให้แม้ยอดขาย หรือยอดสั่งผลิตจะโตขึ้นก็ตาม แต่กำไรที่ได้กลับลดลง อีกทั้ง ยังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง และมีคู่แข่งขันอย่างจีน และเวียดนามเข้ามาแย่งตลาดอีกด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการปรับตัว ต้องพยายามรวมกลุ่มคลัสเตอร์ให้ชัดเจน เพื่อลดค่าใช้จ่ายการผลิต และพยายามลดความสูญเสียจากขั้นตอนการผลิตให้ได้มากที่สุด ซึ่งยอมรับว่าทางปฏิบัติจริงทำได้ค่อนข้างยาก แต่ก็จำเป็นต้องพยายามกันต่อไป ส่วนการพัฒนาดีไซน์ หรือใส่นวัตกรรมเพิ่มค่าให้ผลิตภัณฑ์นั้น จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป ซึ่งปัจจุบันด้านนี้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวได้ดีขึ้นมากแล้ว
ในส่วนภาคบริการที่มีผลตอบแทนจากการทำงานโดดเด่นนั้น ดร.ณัฐพล ระบุว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับบริการ หรือที่ปรึกษาด้านลดต้นทุนพลังงาน หรือเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจหรือองค์กร ส่วนกลุ่มควรระวังนั้น มาจากปัจจัยขาดความสามารถในการแข่งขันกับรายใหญ่ เช่น บริการร้านสปาเล็กๆ เปิดตามห้องแถวต่างๆ ซึ่งระยะ 2-3 ปีหลังที่ผ่านมา เกิดขึ้นจำนวนมาก จนปัจจุบันเกินความต้องการของตลาด และเมื่อผู้บริโภคจะเลือกใช้บริการจริงๆ จะตัดสินใจใช้บริการของรายใหญ่ เพราะมั่นใจในคุณภาพมากกว่า เช่นเดียวกับสาขาโรงแรม ภัตตาคาร หรือบริการท่องเที่ยว ผู้บริโภคมักจะเลือกใช้บริการของรายใหญ่ ส่วนธุรกิจจากผู้ประกอบการรายเล็กๆ อย่าง SMEs จะมีรายได้เข้ามาก็เฉพาะช่วงหน้าท่องเที่ยวเท่านั้น
ขณะที่บริการคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ ประสบปัญหาอำนาจในการต่อรองต่ำ จนไม่สามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้ ส่วนภาคบริการรับเหมาก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ งานจะน้อยลง เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมเก็บออมมากขึ้น การจะก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์จะทำเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ ส่วนการก่อสร้างเพื่อหวังขายเก็งกำไรจะลดลง