xs
xsm
sm
md
lg

2024 ปีแห่งการสำรวจ “ดวงจันทร์” ดาวบริวารหนึ่งเดียวของโลก (ชมคลิป : ดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อเอ่ยถึงการศึกษาด้านอวกาศของปี 2024 หนึ่งในภารกิจที่สำคัญและถูกติดตามเป็นอันดับต้นๆ คือ ภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์บริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลก จากความสำเร็จในภารกิจต่างๆ และข้อมูลการค้นพบ ไม่ว่าจะเป็น ภารกิจของยานฉางเอ๋อ 6 ที่ได้ลงจอดบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์และยังนำตัวย่างกลับมาสู่โลกได้เป็นชาติแรกของโลก  , การเผยแพร่แผนที่ดวงจันทร์เต็มดวงความละเอียดสูงฉบับแรกของโลก , การค้นพบวิธีสกัดน้ำจากดินดวงจันทร์ และ การศึกษาข้อมูลดินด้านไกลจากดวงจันทร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้รู้ข้อมูลใหม่ๆ ในปี 2024 นี้ จึงถือได้ว่าเป็นปีแห่ง “ดวงจันทร์” เลยก็ว่าได้




“ดวงจันทร์”เป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก และเป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร มีขนาดประมาณ 1 ใน 4 ของโลก

การที่เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดจึงทำให้ดวงจันทร์เป็นเป้าหมายในภารกิจการศึกษาต่างๆ ด้านการอยู่อาศัยนอกโลก โดยในปี 2024 นี้ องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติของจีน (CNSA) ได้มีการส่ง “ยานฉางเอ๋อ 6” ลงจอดยังแอ่งแอตเคนขั้วใต้ดวงจันทร์ (South Pole-Aitken basin) บริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2024 ที่ผ่านมา


ภารกิจยานฉางเอ๋อ 6 ถือได้ว่าเป็นภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ที่พิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เนื่องจาก เป็นครั้งแรกที่มีการส่งยานสำรวจลงจอดพร้อมกับเก็บดินบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์กลับมาศึกษายังโลก ภารกิจนี้จึงทำให้ประเทศจีนกลายเป็นชาติแรกของโลกที่ส่งยานสำรวจลงจอดและเก็บตัวอย่างดินบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์กลับมายังโลกสำเร็จ

สำหรับบริเวณ "ด้านไกล" หรือ "ด้านมืด" ของดวงจันทร์นั้น คือผลจากการที่ดวงจันทร์บริวารของโลกหนึ่งเดียวของโลกใช้เวลาหมุนรอบตัวเองนานเท่ากับการโคจรรอบโลก หรือเกิดการ ‘Tidal Locking’ ทำให้หันเพียงด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา แม้จะมีการส่ายของดวงจันทร์ ทำให้อาจเห็นพื้นที่ด้านไกลบางส่วนได้ในบางช่วงเวลา แต่ยังมีถึง 41% ของพื้นผิวดวงจันทร์ที่ไม่เคยปรากฏให้มนุษย์บนโลกได้เห็น ด้านดังกล่าวจังเรียกว่า ด้านไกลของดวงจันทร์ ไม่ใช่ “ด้านมืด” อย่างที่อาจหลายคนเข้าใจ และยังมีช่วงกลางวัน - กลางคืนเช่นเดียวกับด้านที่หันเข้าหาโลก และเป็นสถานที่ที่ยังไม่เคยมีชาติใดส่งยานอวกาศมาสำรวจ


และจากการศึกษาตัวย่างดิน ขององค์การบริหารอวกาศแห่งชาติของจีนได้มีการเผยผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินด้านไกลที่ ผลการวิเคราะห์พบว่าดินบริเวณนี้มีความแตกต่างจากดินด้านใกล้ของดวงจันทร์ คือ มีสีอ่อน รูพรุนมากกกว่า ความหนาแน่นน้อยกว่าด้านใกล้

อ่าน : นักวิทย์ฯ เผยผลศึกษา “ดินด้านไกลของดวงจันทร์” จากยานฉางเอ๋อ 6 พบมีสีอ่อน รูพรุนมากกกว่า ความหนาแน่นน้อยกว่าด้านใกล้ 


และ ในภารกิจยานฉางเอ๋อ 5 ของจีน ที่ได้มีการเก็บดินจากดวงจันทร์กลับมาศึกษายังโลกในรอบ 44 ปี ทางทีมนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (Chinese Academy of Sciences: CAS) ได้ค้นพบว่าดินบนดวงจันทร์มีส่วนประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนจำนวนมาก ซึ่งสามารถที่จะทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆ และเมื่อสัมผัสความร้อนที่อุณหภูมิสูงมากจะผลิตไอน้ำออกมา จึงถือเป็นการค้นพบวิธีการใช้ดินบนดวงจันทร์เพื่อผลิตน้ำสำหรับไว้ใช้ในการตั้งอาณานิคมบนดวงจันทร์ในอนาคตได้

อ่าน : นักวิทย์ฯ พบวิธีสกัดน้ำจากดินดวงจันทร์ อีกหนึ่งความสำเร็จในแผนการตั้งอาณานิคมบนดาวบริวารของโลก


นอกจากข้อมูลใหม่ๆ ของดวงจันทร์แล้ว ทาง สถาบันธรณีเคมี สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ยังได้มีการเผยแพร่ “ชุดแผนที่ทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์เต็มดวง” มาตราส่วน 1:2,500,000 ซึ่งเป็น แผนที่ธรณีวิทยาดวงจันทร์ที่มีความละเอียดสูงสุดฉบับแรกในโลก

แผนที่ดวงจันทร์ฉบับใหม่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยและการสำรวจพื้นผิวดาวบริวารของโลกในอนาคต เนื่องจากแผนที่ทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์ไม่ได้ถูกปรับปรุงมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่ยุคโครงการอพอลโล (Apollo) และยังคงถูกนำมาใช้เพื่อการวิจัยทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์อยู่ แผนที่เก่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคตได้อีกต่อไป เนื่องจากการศึกษาธรณีวิทยาของดวงจันทร์มีความก้าวหน้าขึ้น

อ่าน : ฉบับแรกของโลก! แผนที่ดวงจันทร์เต็มดวงความละเอียดสูง รวมข้อมูลสำหรับการวิจัยและการสำรวจดาวบริวารของโลกในอนาคต



ข้อมูลใหม่ๆ ของดวงจันทร์ จากภารกิจและการศึกษาต่างๆ ทำให้ในปี 2024 นี้ เราได้รู้จักดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลกได้มากยิ่งขึ้น และยังเป็นข้อมูลสำคัญในการต่อยอดการสำรวจและศึกษาดวงจันทร์ ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะในอนาคตอีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น