xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ เผยผลศึกษา “ดินด้านไกลของดวงจันทร์” จากยานฉางเอ๋อ 6 พบมีสีอ่อน รูพรุนมากกกว่า ความหนาแน่นน้อยกว่าด้านใกล้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลังจากความสำเร็จของ องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติของจีน (CNSA) ที่ได้ส่ง “ยานฉางเอ๋อ 6” ลงจอดยังบริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ พร้อมกับสามารถนำตัวย่างดินในบริเวณด้านไกลกลับมาสู่โลกได้สำเร็จ ซึ่งทำให้จีนได้กลายเป็นชาติแรกของโลกที่นำยานลงจอด และนำตัวอย่างดินบริเวณด้านไกลกลับมายังโลก

ล่าสุด องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติของจีนได้มีการเผยผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินด้านไกลที่เก็บกลับมายังโลก ในภารกิจฉางเอ๋อ 6 ผลการวิเคราะห์พบว่าดินบริเวณนี้มีความแตกต่างจากดินด้านใกล้ของดวงจันทร์ ข้อมูลได้ถูกตีพิมพ์ใน National Science Review เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่สนใจได้รับทราบข้อมูลผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้


หลี่ ชุนไหล (Li Chunlai) หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมศึกษาดินด้านไกลของดวงจันทร์ ได้เผยข้อมูลการศึกษาว่า ดินมีความหนาแน่นต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างจากดินด้านใกล้ของดวงจันทร์ที่ยานฉางเอ๋อ 5 เก็บกลับมาก่อนหน้านี้ ข้อมูลวิเคราะห์บ่งชี้ว่ามีโครงสร้างที่หลวมและมีรูพรุนมากกว่า และดินมีอนุภาคสีอ่อน เช่น เฟลด์สปาร์และแก้วมากกว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างดินด้านใกล้

ความแตกต่างที่เห็นด้านชัดระหว่างดินด้านใกล้และด้านไกลของดวงจันทร์ คือ ความเข้มข้นของ KREEP ที่ต่ำมาก ซึ่งธาตุ KREEP มักพับในบริเวณด้านใกล้ของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นลักษณะของดินที่มีส่วนประกอบโพแทสเซียม (K) ธาตุหายาก (REE) และฟอสฟอรัส (P) ซึ่งพบมากในดินด้านใกล้ของดวงจันทร์ ความแตกต่างในจุดนี้อาจช่วยอธิบายการกำเนิดดวงจันทร์ได้ และยังช่วยให้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวบริวารเพียงหนึ่งเดียวของโลกได้มากยิ่งขึ้น


สำหรับ ดินดวงจันทร์ที่ยานฉางเอ๋อ 6 ได้นำกลับมายังโลกนั้น เป็นตัวอย่างดินบริเวณแอ่งขั้วใต้ดวงจันทร์ พื้นที่ที่ยังไม่เคยถูกสำรวจ ซึ่งบริเวณนี้เป็นหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ ความกว้างประมาณ 2,500 กม. และลึก 8.2 ที่เกิดจากการพุ่งชนขนาดใหญ่นานกว่า 4 พันล้านปี ซึ่งเป็นบริเวณที่ยานลงจอด




ข้อมูล / รูปอ้างอิง

- www.stsbeijing.org
- www.planetary.org
- www.space.com (What the 1st analysis of China's Chang'e 6 lunar far side samples revealed)





กำลังโหลดความคิดเห็น