“แอนตาร์กติกา” ทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลก พื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ทำให้เป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุด แต่ในปัจจุบันรายงานการวิจัยได้เผยว่า ทวีปน้ำแข็งแห่งนี้กำลังถูกคุกคามด้วยพืชที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการละลายของน้ำแข็งที่กำลังละลายอย่างรวดเร็วจากสภาวะโลกร้อน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่า “เป็นสัญญาณเตือนหายนะครั้งใหญ่ของโลก”
แม้ว่าภาพดอกไม้สีสันสดใสที่ผลิบานในทวีปแอนตาร์กติกา ที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ จนทำให้หลายคนที่เห็นแลปกใจและชื่นชมถึงความสวยงาม ที่ได้เห็นดอกไม้ผลิบานบนทวีปที่หนาวเย็นที่สุดในโลกแต่นักวิทยาศาสตร์ ได้เผยข้อมูลใน วารสาร Current Biology ที่ตีพิมพ์ผลการวิจัยที่ดำเนินการโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Insubria และ Torino ในอิตาลี โดยร่วมมือกับ British Antarctic Survey การศึกษานี้บันทึกการเร่งความเร็วของการเกิดขึ้นและการออกดอกของหญ้าขนแอนตาร์กติก (Deschampsia Antarctica) และ เพิร์ลเวิร์ตแอนตาร์กติก (Antarctic Pearlwort) ซึ่งเป็น 2 สายพันธุ์พืชพื้นเมืองของแอนตาร์กติกา พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับช่วง 50 ปีก่อนหน้านี้
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า พื้นทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้นเป็นเพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น จนทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ฤดูร้อนปี 2012 ด้วยการระลายของน้ำแข็งทำให้ “แมวน้ำขน” (Fur Seals) มีจำนวนลดลง ซึ่งแมวน้ำชนิดนี้ เป็นสัตว์ที่เคลื่นที่ผ่านพืชสองชนิดนี้ ทำให้จำกัดการเจริญเติบโตของพืชได้ แต่ในปัจจุบันนี้ นกแพนกวิ้น แมวน้ำชนิดต่างๆ ต่างลดจำนวนลง ทำให้ต้นไม้เติบโตในพื้นที่โล่ง ที่น้ำแข็งละลายหายไป
ดอกไม้ที่ผลิบาน อาจจะสวยงามแปลกตา แต่การที่มีต้นไม้ออกดอกที่นี่ไม่ใช่เรื่องนี่น่ายินดี นักวิทยาศาสตร์เผยว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล แสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็ว ปีเตอร์ คอนเวย์ จากสำนักสำรวจแอนตาร์กติกแห่งอังกฤษ ระบุว่า การเติบโตของพืชในแอนตาร์กติกาทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือจุดเปลี่ยนของโลกใบนี้
นอกจากนี้ อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นยังอาจทำให้สายพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามารุกรานและแย่งพื้นที่เติบโตของพืชพื้นเมือง อาจทำให้ระบบนิเวศในท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพของทวีปตแอนตาร์กติกหายไป
“ถ้าหากพืชสามารถเติบโตได้ดีบนเกาะซิกนีย์ แสดงว่าพื้นที่อื่นๆ ในทวีปแอนตาร์กติกาก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน หมายความว่าภูมิทัศน์และความหลากหลายทางชีวภาพของแอนตาร์กติกาจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว หลังจากการละลายของน้ำแข็ง” … นิโคเล็ตตา แคนนอน หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ทำการวิจัยดังกล่าวเปิดเผย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : yourweather.co.uk , bangkokbiznews.com