xs
xsm
sm
md
lg

“ซีแลนเดีย” ทวีปที่รอการยอมรับ 93% จมอยู่ใต้น้ำ เล็กที่สุด บางที่สุด อายุน้อยที่สุดของโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในช่วงนี้หลายๆ คนได้รู้กันว่า มีการค้นพบทวีปใหม่ ในชื่อ “ซีแลนเดีย” โดยเป็นทวีปที่มีการพูดถึงและค้นหากันมาตั้งแต่อดีต คำบอกใบ้แรกที่พูดถึงทวีปแห่งใหม่นี้มาจาก เซอร์ เจมส์ เฮคเตอร์ นักธรรมชาติวิทยา ชาวสกอตแลนด์ เขาเข้าร่วมการเดินเรือสำรวจเกาะต่างๆ ที่อยู่ห่างไปจากชายฝั่งทางใต้ของเกาะนิวซีแลนด์ ในปี 1985

หลังจากศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาของเกาะต่างๆ เหล่านี้แล้ว เขาได้สรุปว่า พื้นที่บริเวณนิวซีแลนด์เป็นสิ่งที่หลงเหลือของเทือกเขาที่ก่อตัวเป็นยอดของบริเวณทวีปขนาดใหญ่ที่เหยียดยาวจากทิศใต้ไปจนถึงทิศตะวันออกซึ่งปัจจุบันจมน้ำอยู่


ต่อมาใน ปี ค.ศ. 1995 บรูซ ลูเยนดิค นักธรณีฟิสิกส์จาก University of California นับเป็นบุคคลแรกที่เรียกชื่อทวีปใหม่นี้ว่า “ซีแลนเดีย” จากนั้นเป็นต้นมาก็มีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายรุ่นนำข้อมูลของทวีปใหม่ของเขาไปต่อยอด และจากวันนั้นถึงวันนี้รวมเวลากว่า 20 ปี แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์การศึกษาชั้นหินทางธรณีวิทยา และพบว่าซีแลนเดียก็ตรงตามเงื่อนไขสำคัญ และเห็นตรงกันว่าซีแลนเดียควรได้รับการพิจารณาให้เป็นทวีปใหม่ของโลก


ข้อมูลของทวีปซีแลนเดีย ได้แยกตัวออกมาจากมหาทวีปกอนด์วานา เมื่อราว 80 ล้านปีก่อน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,920,000 ตารางกิโลเมตร มวลของแผ่นดินส่วนใหญ่ประมาณ 93% จมอยู่ใต้น้ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ ลึกประมาณ 2 กิโลเมตร โดยแผ่นดินที่โผล่พ้นน้ำมีไม่กี่แห่งเท่านั้น ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ เกาะนิวแคลิโดเนีย ลอร์ด ฮาว ไอส์แลนด์ และเกาะบอลส์พีระมิด ของประเทศออสเตรเลีย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,920,000 ตารางกิโลเมตร ด้วยข้อมูลเหล่านี้ จึงทำให้ ว่าที่ทวีปที่ 8 ของโลก ถือว่าเป็น "ทวีปที่เล็กที่สุด บางที่สุด มีอายุน้อยที่สุดของโลก”


ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จากหลายหน่วยงานที่ทำการสำรวจเก็บข้อมูลทวีปนี้ กล่าวว่า พื้นที่แห่งนี้มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นทวีป และมีความพยายามผลักดันให้เกิดการยอมรับในฐานะอีกทวีปหนึ่งของโลก และเป็นทวีปที่ 8 ของโลก

โดยปกติหลายคนอาจคิดว่าผืนแผ่นดินที่อยู่เหนือน้ำเท่านั้นที่จะสามารถนับได้ว่าเป็นทวีป แต่นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม จำแนกคุณสมบัติของทวีปแตกต่างออกไป และระบุว่าซีแลนเดียมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นทวีป ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. ความสูงสัมพัทธ์ของแผ่นดินที่โผล่พ้นจากมหาสมุทร
2. ความหลากหลายของชั้นหิน 3 ประเภทคือ หินอัคนี หินแปร และหินตะกอน
3. ความหนาของชั้นหินและแผ่นเปลือกโลก เทียบกับพื้นมหาสมุทรโดยรอบ
4. ขนาดของพื้นที่ซึ่งใหญ่เกินกว่าจะเป็นอนุทวีป และชิ้นส่วนของทวีปโบราณ


นิค มอร์ติแมร์ นักธรณีวิทยา ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของบทความดังกล่าว เปิดเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิจัยค้นคว้าข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าซีแลนเดียเหมาะสมจะเป็นอีกหนึ่งทวีปของโลก ตามคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เป็นเพียงอีกชื่อหนึ่งที่จะมาห้อยท้ายเป็นทวีปที่ 8 เท่านั้น


และเหล่านักวิทยาศาสตร์ยังได้ยืนยันว่าดินแดนแห่งนี้เป็นทวีป แม้จะจมน้ำแต่ผืนดินก็ไม่แตกแยกออกจากกัน และควรค่าแก่การนำมาศึกษาเรื่องการเชื่อมต่อและการแยกออกจากกันของเปลือกโลก และคุณลักษณะทางวิทยาศาสตร์ในการบัญญัติทวีปไม่ได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัว แต่ความเปลี่ยนแปลงก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การยอมจะทำให้การเรียนการสอนในอนาคตได้รู้ว่า โลกของเรานั้นมี 8 ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป แอฟริกา แอนตาร์กติกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย และ “ซีแลนเดีย”


กำลังโหลดความคิดเห็น