xs
xsm
sm
md
lg

(ชมคลิป) NIA บทบาทใหม่ เร่งปั้นไทยสู่ชาตินวัตกรรม ด้วย 7 กลยุทธ์ กำหนดทิศทางนวัตกรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์






“นวัตกรรม” แนวคิดใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ต่อยอดและใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยยิ่งขึ้น นวัตกรรมนั้นอาศัยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก และหากนวัตกรรมประสบความสำเร็จ ก็จะสามารถช่วยสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน

ด้วยความสำคัญของนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมาชน) หรือ NIA จึงได้เดินหน้าขับเคลื่อนดัชนีนวัตกรรมประเทศไทยสู่อันดับที่ 30 ในปี พ.ศ.2573 ภายใต้บทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal Conductor)” ที่เชื่อมการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในทุกมิติ


ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  NIA เผยว่า ในปี 2566 นโยบายการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้ถูกพูดถึงและกำหนดบทบาทอย่างชัดเจน เพื่อนำประเทศไปสู่การแข่งขันระดับมหภาคได้อีกครั้ง โดยการขับเคลื่อนดังกล่าว NIA เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาททั้งในเชิงผู้กำหนดนโยบาย การอำนวยความสะดวกให้ระบบนิเวศนวัตกรรมเอื้อต่อศักยภาพการทำงาน การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ รวมทั้งการรังสรรค์นวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ และภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายสำคัญที่จะเร่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ 1 ใน 30 ของประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมโลกภายในปี 2573

เพื่อยกระดับทิศทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศไทยให้สอดรับกับบริบทโลก NIA จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด Create the Dot - Connect the Dot - Value Creation ผ่านกลไก Groom Grant Growth และแนวทาง “2 ลด 3 เพิ่ม” ได้แก่ ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการมุ่งเน้นนวัตกรรมแบบเปิดผ่านการเปิดรับแนวคิดใหม่จากสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี เพื่อเติมเต็มจุดอ่อนหรือปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจให้มากขึ้น ลดอุปสรรคการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วน และแก้ไขกฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโต เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพิ่มจำนวนนวัตกรและผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการจ้างงาน การเพิ่มขึ้นของ GDP และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ “ชาตินวัตกรรม” รวมถึงเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ให้มีโอกาสขยายตลาด และสร้างแบรนด์นวัตกรรมสัญชาติไทยที่พร้อมแข่งขันกับนวัตกรรมจากต่างประเทศ


ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรมนั้น NIA ได้มีการวาง 7 กลยุทธ์หลัก ได้แก่

1. สร้างและยกระดับความสามารถผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมกับเครือข่าย ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

2. ส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิดและทำให้ระบบนวัตกรรมไทยเปิดกว้าง

3. ส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์

4.เป็นศูนย์กลางการสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม

5. ส่งเสริมตลาดนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. สร้างความตระหนักและการรับรู้ความสำคัญของนวัตกรรมในทุกภาคส่วน

7. พัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น