xs
xsm
sm
md
lg

บพข. กองทุน ววน. หนุนเสริม TEATA อบก. รวม 32 องค์กรพันธมิตร คิคออฟเครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ให้การสนับสนุน 32 องค์กรสมาคมธุรกิจ การค้า ท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมและสื่อมวลชน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ก่อตั้ง “เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างบุคลากรภาคการท่องเที่ยว และเสนอขาย “รายการนําเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ก่อนมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Tourism) ต่อไป

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. นางสาวธนียา นัยพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบักทึกข้อตกลงความร่วมมือก่อตั้ง“เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอน สุทธิเป็นศูนย์ ณ ห้องประชุมวังเลิศ ชั้น 1 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจาก บพข. (กองทุน ววน.) และ อบก. ให้ 32 องค์กรสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมจากหลาย สถาบัน รวมทั้งสื่อมวลชนด้านการท่องเที่ยว ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาและยกระดับเครือข่ายการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในประเทศไทยในรูปแบบองค์กรจัดการจุดหมายปลายทาง” สนับสนุนทุนวิจัย โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ สร้างบุคลากรภาคการท่องเที่ยวและเสนอขายรายการ นําเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ก่อนมุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และส่งเสริมให้สร้าง “รายการนําเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ในระดับสูงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยทําให้บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสามารถเพิ่มยอดขายจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแนวใหม่ไปพร้อมกับการช่วย บรรเทาภาวะโลกรวน ทั้งสร้างความตระหนักให้แก่นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ นักศึกษาและชุมชน ให้มีส่วนร่วม ในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการท่องเที่ยว และพัฒนาศักยภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว.และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. กล่าวว่า ในบทบาทของภาครัฐโดย บพข.และ สกสว. มุ่งให้การสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทย ให้สามารถพลิกฟื้นการท่องเที่ยวไทยสู่การท่องเที่ยวคุณภาพ ด้วยงานวิจัยท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เกิดการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวมถึงส่งเสริมให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในโครงการวิจัยนี้นับเป็นโครงการที่มีกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนยกระดับการท่องเที่ยวคุณภาพของประเทศไทยให้ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ทาง บพข. สกสว. จึงเน้นให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายขยายผลให้เกิดความร่วมมือด้วย ฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ทำให้เรามีเครือข่ายทั้งสิ้นมากกว่า 60 เครือข่ายองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
 
ที่จะช่วยผนึกกำลังสร้างสรรค์การท่องเที่ยวไทยให้ไร้คาร์บอน จะเป็นองค์กรที่จะช่วยกันสร้างโมเมนตัม สร้างการขับเคลื่อนที่มีทั้งพลังและทิศทางเพื่อหนุนเสริมให้ไทยเป็นประเทศผู้นำระดับสากลในด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถเดินควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย บพข.และสกสว. ได้ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องกำหนดทิศทางการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายให้การท่องเที่ยวไทยเกิด Net Zero Emission Routes ในปี 2570 การพัฒนานี้ไม่เพียงแต่รักษาสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาตินี้เท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นและส่งมอบมรดกทางธรรมชาติที่ยั่งยืนให้กับลูกหลานในรุ่นต่อๆไป

นางสาวภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อํานวยการ สํานักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) กล่าวถึง บทบาทของ อบก. ที่ให้บริการ ดูแลและกําหนดมาตรฐานการ วัด การรายงาน และการทวนสอบ รวมทั้งให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด และการชดเชยก๊าซเรือน กระจก ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันยังถือเป็นเรื่องใหม่สําหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว อบก. จึงมุ่งเน้นให้ความร่วมมือในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างเต็มที่ และร่วม พัฒนาให้กระบวนการต่างๆให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขอเชิญชวนเข้าร่วมเป็นสมาชิก เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย | Thailand Carbon Neutral Network (TCNN) ของ อบก.
 
นางสาว วสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สอทอ.) กล่าว ว่า ภายใต้ความร่วมมือนี้มีองค์กรเครือข่ายจํานวน 32 องค์กรมีสมาชิกในองค์กรรวมกันกว่า 7,300 ราย จะมีการ สร้างพี่เลี้ยงของแต่ละองค์กรเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกของตนเองมีองค์ความรู้ “ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก” ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนา ส่งเสริมให้นํา เครื่องมือการประเมินคาร์บอนฟุตพรินท์ แนวปฏิบัติตามโครงการ LESS การชดเชยก๊าซเรือนกระจกด้วย คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) และมีการ แนะนําให้นําเครื่องมือการจัดการก๊าซเรือนกระจกอื่นๆของประเทศไทยไปใช้ประโยชน์ เพื่อผลิตรายการนําเที่ยว ที่น่าสนใจและเสมือนไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่ตลาดในประเทศและตลาดยุโรป โดยเข้าร่วมโครงการส่งเสริม การตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในลําดับต่อไป และร่วมกันจัดการให้ประเทศไทยเป็นจุดหมาย ปลายทางที่มีรายการนําเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เป็นจํานวนมาก อันจะเป็นการเพิ่มความสามารถใน การแข่งขันของภาคท่องเที่ยวไทยในระดับสากล
 
ทั้งนี้องค์กรเครือข่ายพันธมิตรจะบูรณาการร่วมกับ ภาคีคาร์บอนบาลานซ์ 8 องค์กรด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ 1.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) 2.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 3.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างย่ังยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) 4. สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) 5.สํานักคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 6.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ (บพข.) 7. หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ 8.สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) ซึ่งดําเนินการอยู่แล้วก่อนหน้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการ ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทย มุ่งสู่การท่องเที่ยวที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หรือการท่องเที่ยวแบบ คาร์บอนนิวทรัล (Carbon Neutral Tourism) ภายใต้ โครงการคาร์บอนบาลานซ์ (Carbon Balance Scheme) ที่จะสร้างรายการนําเที่ยวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป










กำลังโหลดความคิดเห็น