สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) ร่วมฉลองวันงานแสดงสินค้าโลก 2023 โดย UFI และ องค์กรต่างๆ ทั่วโลก ร่วมประชาสัมพันธ์ชูความสำคัญบทบาทงานแสดงสินค้า พลังแห่งการได้พบกัน Face-to-face กระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วโลก พร้อมเปิดตัวแม่ทัพใหม่ ปนิษฐา บุรี นายกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เผยกลยุทธ์ “Regenerative Exhibitions” งานแสดงสินค้าฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นสัมพันธภาพของธุรกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
วันงานแสดงสินค้าโลก 2023 หรือ Global Exhibitions Day (GED) 2023 ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ และ กลุ่มสมาชิกของสมาพันธ์การแสดงสินค้าโลก หรือ UFI จำนวนกว่า 87 ชาติ ร่วมแสดงพลังของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้าทั่วโลก ผ่านธีมของงาน “We run the meeting places and marketplaces for everyone” มุ่งผลักดันงานแสดงสินค้า เวทีแห่งการพบปะ เจรจาธุรกิจ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปด้วยกัน
พร้อมกันนี้ สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เปิดตัวแม่ทัพใหม่ คุณปนิษฐา บุรี นายกสมาคมฯ เผยว่า ในวันนี้งานแสดงสินค้าเป็นเครื่องมือทางการตลาดสำคัญที่ผู้ประกอบการในธุรกิจต่างๆสามารถใช้เชื่อมต่อกับลูกค้าเพื่อฟื้นฟูและสร้างแบรนด์ในตลาดได้อย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการที่ดี ในการบริหารจัดการเรื่อง COVID-19 ระหว่างปี 2020-2021 ทำให้มีงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่จากต่างประเทศ ย้ายมาใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ในการจัดงาน เช่น Asia Fruit Logistica 2022 และ Jewelry & Gem ASEAN 2023 เป็นต้น ตอกย้ำถึงศักยภาพของการเจรจาธุรกิจแบบ Face to Face โดยเทคโนโลยีออนไลน์ ที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพียงตัวเสริมเพิ่มการต่อยอดทางธุรกิจ
จากตัวเลขของสำนักงานส่งเสริมการประชุมและนิทรรศการ(สสปน.) ในปี 2019 ตลาดอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้ามีทั้งสิ้น 534 งาน (งานแสดงสินค้าภายในประเทศ 407 งาน และงานนานาชาติ 127 งาน) ผู้ร่วมงานต่างชาติ 264,005 ราย สามารถสร้างรายได้เม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ มูลค่ากว่า 20,292 ล้านบาท // อัตราการฟื้นตัวของงานแสดงสินค้าของไทย ณ ปัจจุบันแล้วทั้งสิ้น 75 % สร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศ กว่า 2,300 ล้านบาท ด้วยจำนวนผู้ร่วมงานต่างชาติ กว่า 50,235 ราย (ตัวเลขระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2023) // คาดจำนวนงานที่จะจัดขึ้นในปี 2023 ทั้งสิ้น 145 งาน
เทรนด์การออกงานของผู้แสดงสินค้า (Exhibitors) มีรูปแบบที่เปลี่ยนไป มีการเลือกออกเฉพาะงานที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ซื้อ (Buyers) ที่ใช่และชัดเจน ในขณะที่ใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการออกแบบ การใช้วัสดุที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม (Sustainability Exhibitions) ตอบรับแนวคิด สหประชาชาติ UN SDG การพัฒนาที่ยั่งยืน อันประกอบไปด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจ ครอบคลุมทางสังคม และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม อาทิ การลดขยะและการสูญเสียการ Recycle และ Innovation ต่างๆ นับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวและทำตามไปกับระเบียบโลก และ ศึกษา ทำความเข้าใจ เพื่อสามารถไปถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งผู้จัดงานต่างก็นำความต้องการนี้เป็นโจทย์ในการพัฒนางานที่มีอยู่
พร้อมกันนี้ คุณปนิษฐา บุรี นายกสมาคมฯ เผยวิสัยทัศน์ พร้อมผลักดันประเทศไทย สู่ Regenerative Exhibitions ปักธง! งานแสดงสินค้าฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ภายในปี 2030 ด้วยแนวคิด มุ่งเน้นสัมพันธภาพของธุรกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การบูรณาการความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยพร้อมเป็นตัวแทนภาคเอกชนผลักดัน แก้ไข pain point หรือกฎระเบียบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดงาน ต่อยอดภาพลักษณ์ สร้างการรับรู้ประเทศไทย Destination of MICE Industry อย่างยั่งยืน อันประกอบด้วย
การส่งเสริมพัฒนามาตรฐานการจัดงานแสดงสินค้าไทย สู่ Regenerative Exhibitions พร้อมรับโอกาสจากนานาชาติ ผลักดัน 2 เรื่องหลัก คือ Sustainability ทางธุรกิจ อาทิ การผลักดันงานนานาชาติ ย้ายมาจัดที่ไทยอย่างต่อเนื่องระยะยาว ด้วยการแสดงสินค้า นวัตกรรม และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการตลาด สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าและเสน่ห์ของประเทศไทย // Sustainability ทางทรัพยากร เช่น การลดการใช้ (consumption) การใช้ทรัพยากรทดแทนในการก่อสร้าง การลดปริมาณขยะหลังการจัดงาน (choices) และการสื่อสารเพื่อให้มีความเข้าใจ (communications) ทั้งหมดนี้ ต้องเป็นความร่วมมือกันทั้งระบบที่เกี่ยวข้อง (supply chain)
การเสริมสร้างพันธมิตรและทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรและสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) และสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน เป็นต้น ผลักดันการแก้ไข pain point และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์การดึงงานมาจัดยังประเทศไทย รวมถึงผลักดันการจัดงานสู่ภูมิภาคต่างๆ ในประเทศไทย
การสนับสนุนเสริมสร้างขีดความสามารถพัฒนาคนรุ่นใหม่ มาตรฐานการจัดงานที่พร้อมทำงานได้จริง ในทุกภาคส่วน ทั้งผู้จัดงานแสดงสินค้า (Organizers) สถานที่จัดงาน (Venues) ผู้ประกอบการสินค้าและบริการงานแสดงสินค้า (Services Providers) และ ผู้รับจัดการขนส่งสินค้า (Freight Forwarders) โดยสมาคมฯ มุ่งผลักดันแนวคิดให้ทั้ง 4 กลุ่มสมาชิก ดำเนินธุรกิจภายใต้ Regenerative Exhibitions เพื่อเป็น Branding ให้กับประเทศไทย ในอุตสาหกรรมการจัดงานแสดงสินค้า