xs
xsm
sm
md
lg

ไทยแถลงในการประชุมเวทีสหประชาชาติ พร้อมร่วมมือพัฒนาและใช้ประโยชน์จากอวกาศในทางสันติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในการประชุมคณะกรรมการแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยการใช้อวกาศในทางสันติ (United Nations Committee on Peaceful Uses of Outer Space – UNCOPOUS) ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ในฐานะที่เป็นหน่วยงานผู้แทนหลักในด้านอวกาศของประเทศในเวทีสหประชาชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำถึงความพร้อมในการร่วมมือกับนานาชาติเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากอวกาศในทางสันติอย่างเต็มที่

ดร.ปกรณ์ฯ ได้เน้นย้ำว่าประเทศไทยมีเป้าหมายหลัก คือ 

1. เพื่อยกระดับให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง: ประเทศไทยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีอวกาศมาเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีต่างๆเพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนและยกระดับเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีดิจิตอล และและให้สารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน(near real-time information) 

2. เพื่อรองรับและบริหารจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ: ประเทศไทยใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยธรรมชาติ ทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 

3. เพื่อร่วมมือกับนานาชาติพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ: ประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับนานาชาติ โดยเฉพาะกับสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค


ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ผู้อำนวยการ GISTDA ยังได้ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยงานอวกาศของประเทศอื่นๆ อาทิ Philippines Space Agency ( #PhilSA), Office for Space Technology and Industry, Singapore (#OSTIn), Indian Space Research Organization (#ISRO) และ United Nations Office for Outer Space Affairs (#UNOOSA) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการ GISTDA ซึ่งในอีกฐานะคือ ประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (Committee on Earth Observation Satellites – CEOS) ยังได้เน้นย้ำในถ้อยแถลงของ CEOS ในการให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดทำบัญชีการกักเก็บปริมาณคาร์บอน (Carbon stocktaking and accounting) และการให้ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการสร้างโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม(the engagement opportunities in commercial sector) รวมถึงการขยายโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลจากการสำรวจโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียมยิ่งขึ้น


การประชุม UNCOPOUS นี้ เป็นการจัดประชุมที่เกิดขึ้นทุกปีเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มาแลกเปลี่ยนและหารือเกี่ยวกับเรื่องของอวกาศเพื่อให้การพัฒนาและการใช้ประโยชน์อย่างสันติที่เหมาะสม โดยการประชุมในปีนี้ มีขึันในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม - 9 มิถุนายน 2566




กำลังโหลดความคิดเห็น